กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เส้นเลือดขอด (Varicose Veins)

สาเหตุและอาการของเส้นเลือดขอด พร้อมวิธีรักษาอย่างถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
เส้นเลือดขอด (Varicose Veins)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เส้นเลือดขอด คือภาวะที่หลอดเลือดดำบวมและขยายใหญ่ขึ้น ทำให้หลอดเลือดโป่งออกหรือผิดรูป ภาวะนี้เป็นภาวะทั่วไปที่เกิดกับผู้ใหญ่ประมาณ 3 ใน 10 คน และพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • ภาวะเส้นเลือดขอด ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ เช่น เท้าและข้อเท้าบวม อาการแสบร้อนหรือปวดขา และเป็นตะคริวที่ขา โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
  • ปัจจัยหลักของการเกิดเส้นเลือดขอด ได้แก่ เพศ อายุ กรรมพันธุ์ และการทำงานที่ต้องยืนนาน ๆ
  • นอกจากเส้นเลือดขอดจะพบบ่อยที่ขาแล้ว ยังสามารถพบได้อีกหลายส่วนตามร่างกาย เช่น หลอดอาหาร ช่องคลอด มดลูก และเชิงกรานได้อีกด้วย
  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการยืนนาน ๆ อาจช่วยป้องกันเส้นเลือดขอดได้บ้าง หากต้องการคำแนะนำเพื่อปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ที่นี่

ภาวะเส้นเลือดขอดเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร ถ้าเป็นแล้วต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาหรือไม่?

ภาวะเส้นเลือดขอด (Varicose Veins) คือภาวะที่หลอดเลือดดำ (Veins) บวมและขยายใหญ่ขึ้นทำให้หลอดเลือดโป่งออกหรือผิดรูป ภาวะนี้เป็นภาวะทั่วไปที่เกิดกับผู้ใหญ่ประมาณ 3 ใน 10 คน และพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาเส้นเลือดขอด วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 570 บาท ลดสูงสุด 7,100 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เส้นเลือดดำทุกสายในร่างกาย สามารถเกิดภาวะนี้ได้หมด แต่ส่วนมากแล้วมักจะเกิดขึ้นกับหลอดเลือดดำที่ขาและเท้า โดยเฉพาะบริเวณน่อง เนื่องจากเป็นส่วนของขาที่รองรับน้ำหนักขณะยืนและนั่งมากที่สุด

อาการของภาวะเส้นเลือดขอด

ภาวะเส้นเลือดขอด ทำให้เส้นเลือดของตำแหน่งผิวหนังที่ได้รับผลกระทบมีสีดำม่วงหรือเขียวโป่งเด่นขึ้นมาบนผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้

  • คัน, ไม่สบายขา และขาหน่วง
  • เท้าและข้อเท้าบวม
  • อาการแสบร้อนหรือปวดตุบในขา
  • เป็นตะคริวที่ขา โดยเฉพาะในตอนกลางคืน

แม้ภาวะเส้นเลือดขอดมักจะเกิดกับขาบนหลังน่อง หรือขาด้านใน แต่ก็สามารถพบได้ที่ส่วนอื่นของร่างกาย เช่น

  • ในหลอดอาหาร
  • ในช่องคลอด
  • ในมดลูก
  • ทวารหนัก
  • เชิงกราน

ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะเส้นเลือดขอด

ภาวะเส้นเลือดขอด สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ จากการขวางกระบวนการไหลเวียนโลหิต โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบ มีดังต่อไปนี้

  • เลือดออก : ภาวะเส้นเลือดขอดใกล้กับผิวหนังสามารถทำให้เกิดเลือดออกได้หากมีแผลเปิดหรือเมื่อคุณเดินชนกับบางสิ่ง การเลือดออกจากภาวะนี้อาจทำให้เลือดหยุดไหลได้ยาก
  • ลิ่มเลือด : หากลิ่มเลือดก่อตัวขึ้นใกล้กับหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง อาจทำให้เกิดภาวะะลิ่มเลือดที่ขาส่วนล่าง หรือภาวะหลอดเลือดดำผิวอักเสบ (Thrombophlebitis) ได้
  • ภาวะหลอดเลือดดำผิวอักเสบ : คือการบวม (อักเสบ) ของหลอดเลือดดำที่ขา เกิดจากลิ่มเลือดก่อตัวภายในหลอดเลือดดำ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นระหว่างภาวะเส้นเลือดขอดได้
  • ภาวะหลอดเลือดดำอุดตันที่ขา (Deep Vein Thrombosis) : อาจเกิดกับผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดดำใต้ชั้นผิวหนังประมาณ 20% ภาวะสามารถสร้างความเจ็บปวดและอาการบวมที่ขา และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) เป็นต้น
  • ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง (Chronic Venous Insufficiency) : หากเลือดภายในหลอดเลือดดำไม่สามารถไหลได้อย่างที่ควรเป็น กระบวนการที่ผิวหนังแลกเปลี่ยนออกซิเจน, สารอาหาร, และของเสียด้วยเลือดจะถูกรบกวน และทำให้เกิดภาวะต่างๆ ดังนี้
    • โรคผิวหนังอักเสบจากหลอดเลือดขอด (Varicose Eczema) เป็นภาวะที่ทำให้ผิวหนังมีสีแดงและแตกสะเก็ด อาจพบตุ่มหนองด้วย
    • ภาวะผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนังเปลี่ยนแปลง (Lipodermatosclerosis) ทำให้ผิวหนังมีความแน่นและแข็งขึ้น และอาจทำให้คุณรู้สึกว่าสีที่ขาเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาลอีกด้วย
    • แผลจากหลอดเลือดดำ (Venous Ulcer) เกิดขึ้นเมื่อมีแรงดันภายในหลอดเลือดดำที่ขาส่วนล่างเพิ่มขึ้น จนทำให้ของเหลวรั่วไหลออกจากหลอดเลือดและสะสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ของเหลวทำให้ผิวหนังหนาตัวและค่อยๆ ถูกกัดกินไปจนกลายเป็นแผล (Ulcer) ขึ้นมา

สาเหตุการเกิดภาวะเส้นเลือดขอด

ภาวะเส้นเลือดขอด มักจะเกิดจากการที่ผนังและลิ้นภายในหลอดเลือดดำอ่อนแอลง หากลิ้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จะทำให้เลือดภายในรั่วไหลและไหลย้อนกลับจนเข้าไปสะสมในหลอดเลือดดำ และทำให้หลอดเลือดโป่งพองออก

มีปัจจัยหลายอย่าง ที่สามารถเพิ่มโอกาสเกิดภาวะเส้นเลือดขอดได้ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เพศ : ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดภาวะเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย มีงานวิจัยกล่าวว่า เป็นเพราะฮอร์โมนหญิงจะคลายผนังของหลอดเลือดดำและทำให้ลิ้นมีโอกาสรั่วไหลมากขึ้น
  • พันธุกรรม : ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเส้นเลือดขอดจะเพิ่มขึ้น หากสมาชิกในครอบครัวมีภาวะนี้
  • อายุ : เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดดำจะเริ่มสูญเสียความยืดหยุ่นในตัวและและทำให้ลิ้นภายในเริ่มทำงานได้น้อยลง
  • การที่มีน้ำหนักมากเกิน : เมื่อมีน้ำหนักมาก จะทำให้หลอดเลือดดำต้องแบกรับภาระมากขึ้นจากการส่งเลือดกลับไปยังหัวใจ ซึ่งส่งผลต่อแรงดันบนลิ้นของหลอดเลือดดำ
  • การประกอบอาชีพ : งานที่ต้องยืนเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเส้นเลือดขอดเนื่องจากการยืนนานๆ ทำให้เลือดไหลเวียนยากขึ้น
  • การตั้งครรภ์
  • ภาวะอื่น ๆ เช่น
    • การเกิดลิ่มเลือดที่ผ่านมา
    • การบวมหรือเนื้องอกในเชิงกราน
    • หลอดเลือดผิดปรกติ

การวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดขอด

ควรไปพบแพทย์ หากมีภาวะเส้นเลือดขอดและมีอาการต่อไปนี้

  • ภาวะเส้นเลือดขอดสร้างความเจ็บปวด หรือไม่สบายตัว
  • ผิวหนังบนเส้นเลือดดำ มีอาการปวดและระคายเคือง
  • มีอาการคันที่ขาในช่วงกลางคืน และส่งผลต่อการนอนหลับของคุณ
  • ผิวหนังบนขาเปลี่ยนสี
  • ภาวะผิวหนังที่ส่งผลกับขาของคุณ เช่น โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) ที่มาจากปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดที่ขา
  • มีแผลที่ขา (Leg Ulcer) เป็นแผลแยกที่ผิวหนัง ที่ไม่ยอมสมานตัวภายใน 2 สัปดาห์ใต้หัวเข่าลงไป

ภาวะเส้นเลือดขอดสามารถวินิจฉัยได้ จากการสังเกตรูปร่างของหลอดเลือดดำที่ปรากฏออกมา แพทย์จะทำการตรวจสอบขาของคุณในขณะที่ยืนเพื่อหาสัญญาณของการบวมขึ้นของหลอดเลือดดำ

ส่วนมากแล้ว แพทย์จะทำการทดสอบที่เรียกว่า Duplex Ultrasound Scan ที่เป็นการสแกนโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง สร้างภาพของหลอดเลือดดำที่ขาออกมา ภาพที่ได้จะแสดงการไหลเวียนของเลือด และช่วยให้แพทย์ชี้ตำแหน่งของลิ้นที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของภาวะเส้นเลือดขอดของคุณ

การรักษาภาวะเส้นเลือดขอด

ภาวะเส้นเลือดขอดส่วนมากมักไม่ส่งผลร้ายแรงใดๆ กับสุขภาพ มีเพียงปัญหาเรื่องของรูปลักษณ์ที่ปรากฏบนผิวหนังเท่านั้น ที่อาจทำให้ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดขอดเป็นกังวล

ถ้าคุณถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะเส้นเลือดขอด แพทย์จะแนะนำให้คุณดูแลตนเองที่บ้านเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ด้วยวิธีดังต่อไป

  • การใช้ถุงน่องทางการแพทย์ (Compression Stockings) เป็นถุงน่องที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับบีบรัดขาเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิต
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลี่ยงการยืนเป็นเวลานานๆ
  • ยกบริเวณที่มีอาการให้สูงขึ้นขณะพักผ่อน

หากอาการจากภาวะเส้นเลือดขอดยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้มีการรักษาเพิ่มเติมด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • การจี้ทำลายหลอดเลือดด้วยความร้อน (Endothermal Ablation) วิธีการนี้จะมีการปล่อยพลังงานต่างๆ เข้าไปผนึกหลอดเลือดดำที่มีปัญหา โดยรายละเอียดการรักษามีดังนี้
  • การจี้ทำลายด้วยคลื่นวิทยุ (Radiofrequency Ablation) เป็นการให้ความร้อนกับผนังหลอดเลือดดำด้วยคลื่นวิทยุ โดยการกรีดเปิดผิวหนังบริเวณเหนือหรือใต้หัวเข่า และสอดท่อขนาดเล็ก (Catheter) เข้าไปยังหลอดเลือดดำและสอดแท่งเข้าไปสายสวนเพื่อใช้ปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุ ความร้อนจะปล่อยไปยังหลอดเลือดดำจนกว่าผนังหลอดเลือดจะเสียหายและปิดตายลง
  • การจี้ทำลายด้วยเลเซอร์ (Endovenous laser treatment) เป็นหัตถการสอดสายสวนอีกรูปแบบหนึ่ง แต่จะมีการใช้เลเซอร์ขนาดเล็กสอดผ่านสายสวนเข้าไปแทน เลเซอร์จะปล่อยพลังงานไปสร้างความร้อนให้กับหลอดเลือดดำให้ปิดลง
  • การฉีดโฟมระคายเคืองหลอดเลือดด้วยอัลตราซาวด์ (Sclerotherapy) การรักษานี้จะทำการฉีดโฟมชนิดพิเศษเข้าไปในหลอดเลือดดำเพื่อสร้างความเสียหายให้กับหลอดเลือดดำ จนทำให้หลอดเลือดปิดตายลง การรักษาประเภทนี้จะไม่เหมาะสมกับผู้ที่เคยมีภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขามาก่อน (Deep Vein Thrombosis)
  • การผ่าตัด หากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจเสนอวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดที่เรียกว่าการผูกและการลอก (Ligation and Stripping)  โดยการมัดหลอดเลือดดำที่ขาบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเส้นเลือดขอด ก่อนลอกหลอดเลือดเหล่านั้นออก
  • Transilluminated Powered Phlebectomy วิธีนี้ แพทย์จะทำการตัดเส้นเลือดดำที่มีปัญหา แล้วนำออกผ่านทางรอยที่กรีดไว้ด้วยอุปกรณ์ดูด อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างใหม่ และยังไม่ได้รับการรับรองเรื่องประสิทธิภาพ
  • ในกรณีที่มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น อาจต้องทำการรักษาโรคแทรกซ้อนเหล่านั้นด้วย เช่น การรักาภาวะผิวหนังอักเสบจากเส้นเลือดขอด เป็นต้น

การป้องกันภาวะเส้นเลือดขอด

ยังไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันการเกิดภาวะเส้นเลือดขอดได้อย่างสมบูรณ์ แต่สามารถบรรเทาอาการจากภาวะเส้นเลือดขอดที่เป็นอยู่ได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • เลี่ยงการยืนหรือนั่งนิ่งๆ เป็นเวลานาน พยายามเคลื่อนไหวไปมาทุกๆ 30 นาที
  • ยกขาให้สูงด้วยการวางหมอนที่ขาในขณะนอนพักผ่อน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและคงระดับน้ำหนักร่างกายที่ดี

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
"Varicose Veins". National Heart, Lung, and Blood Institute (NHLBI). Retrieved 20 January 2019.
"Varicose Veins - Cardiovascular Disorders". Merck Manuals Professional Edition. Retrieved 20 January 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป