กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีการตรวจอย่างไร รักษาอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2022 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไวรัสตับอักเสบบี อาจแสดงอาการได้ช้า หรือสังเกตอาการได้ยาก ทำให้หลายคนรักษาไม่ทันหรือปล่อยปะละเลย ไวรัสตับอักเสบบีเฉียบพลันส่วนมากหายได้ภายใน 6 เดือน แต่แบบเรื้อรังจะเป็นไปตลอดชีวิต
  • อาการที่สามารถสังเกตได้คือ ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดช่องท้อง 
  • หากมีอาการดังกล่าว ควรตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยแพทย์จะซักประวัติร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อหาแอนติเจน (Antigen) ซึ่งเป็นโปรตีนของไวรัส และ แอนติบอดี (Antibody) 
  • สำหรับการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน สามารถตรวจหา อิมมิวโนโกลบูลินแอนติบอดี (IgG antibody) ต่อแอนติเจนของแกนไวรัส
  • ดูแพ็กเกจตรวจตับได้ที่นี่

คนจำนวนมากติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่ไม่มีอาการ ทั้งนี้ผลกระทบข้างเคียงอาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้เพราะโรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบภายในตับ และสามารถเกิดภาวะของโรคได้ทั้งแบบแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โรคไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลันส่วนมากหายได้ภายในไม่กี่สัปดาห์จนถึง 6 เดือน ในขณะที่แบบเรื้อรังจะเป็นไปตลอดชีวิต

ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลกชี้ให้เห็นว่า 90% ของทารกที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในขวบปีแรก โรคจะดำเนินไปสู่การติดเชื้อเรื้อรัง แต่หากติดเชื้อเมื่อเด็กอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 6 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังประมาณ 30 - 50% ส่วนผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีโอกาสเกิดการติดเชื้อเรื้อรังเพียงประมาณ 5%

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการ

จากข้อมูลของกรมป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) ผู้ติดเชื้อบางรายอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ 70% ของผู้ใหญ่และเด็กอายุเกินกว่า 5 ปีที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน มักแสดงอาการดังนี้ประมาณ 1 - 3 เดือนหลังจากการสัมผัสเชื้อ ได้แก่

ส่วนผู้ป่วยโรคตับอักเสบบีแบบเรื้อรังอาจมีอาการคล้ายกับผู้ติดเชื้อเฉียบพลัน แต่ส่วนมากมักไม่มีอาการใด ๆ มากกว่า 20 ปี

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบีอาจนำไปสู่ภาวะตับวายจนถึงแก่ชีวิตได้ แต่พบได้น้อยมาก ข้อมูลจากกรมควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่าแม้ว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังอาจไม่มีอาการ แต่ 15 - 25% ของผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น โรคตับเเข็ง (พังผืดในตับ) และโรคมะเร็งตับ เป็นต้น ซึ่งจากข้อมูลขององค์กรอนามัยโลกมีผู้ป่วยมากกว่า 780,000 คนต่อปีเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้

การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบี

แพทย์จะทำการซักประวัติ สอบถามอาการ และตรวจร่างกายเพื่อนำมาสู่การวินิจฉัยโรค หากแพทย์สงสัยจะส่งตรวจเลือดเพิ่มเติมเพื่อช่วยการวินิจฉัย โดยหากไม่ได้ตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการจะไม่สามารถแยกโรคนี้ออกจากโรคตับอักเสบอื่นๆ ได้ ทั้งนี้การตรวจดังกล่าวจะมีชุดการตรวจหา แอนติเจน (Antigen) และ แอนติบอดี (Antibody) ต่อไวรัสตับบี

แอนติเจน คือ ส่วนประกอบโปรตีนบนผิวของไวรัสตับบี และร่างกายเราจะสร้างโปรตีนตอบสนองกับเชื้อ นั่นคือ แอนติบอดี ซึ่งจะช่วยในการทำลายเชื้อไวรัส

การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ถ้าผลเลือดต่อ แอนติเจน โปรตีนที่ผิวไวรัสตับบี เป็น บวก แสดงว่ามี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย โดยถ้าหากมีผลบวกมากกว่า 6 เดือนจะสามารถวินิจฉัยเป็นภาวะตับอักเสบบีแบบเรื้อรังได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถ้าหากผลตรวจ แอนติเจน ได้ผลเป็น ลบ แต่ว่าตรวจพบแอนติบอดี  (โปรตีนที่ร่างกายสร้างมาต่อสู้กับแอนติเจน) ต่อโปรตีนบนผิวของไวรัสตับบี แปลว่าเคยได้รับวัคซีน หรือ มีการติดเชื้อ แต่ร่างกายสามารถจำกัดเชื้อนั้นได้หมดแล้ว

สำหรับการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน สามารถตรวจหา อิมมิวโนโกลบูลินแอนติบอดี (IgG antibody) ต่อแอนติเจนของแกนไวรัส

ถ้าตรวจพบแอนติบอดีต่อแกนกลางไวรัส (Anti HBc) แปลว่ากำลังมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย หรือ เคยมีในอดีต โดยขึ้นกับผลแอนติเจนและแอนติบอดีต่อผิวไวรัส (ต้องใช้แปลผลคู่กัน กล่าวคือถ้ามีเชื้อเข้ามาในร่างกายครั้งหนึ่งแล้วร่างกายจะสร้างแอนติบอดีต่อแกนกลาง โดยหากพบแอนติเจนต่อผิวไวรัสร่วมกันแปลว่ามีเชื้อในร่างกาย ณ ขณะนี้ แต่ถ้าไม่พบแอนติเจนร่วมกับมีแอนติบอดีต่อผิวไวรัส แปลว่าเคยมีการติดเชื้อ แต่ร่างกายกำจัดเชื้อได้แล้ว หากว่าพบแต่แอนติบอดีต่อผิวไวรัส ไม่พบแอนติบอดีต่อแกนกลาง แปลว่าได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้ว)

แอนติเจนต่อโปรตีนที่ไวรัสสร้าง หรือ  HBe แอนติเจน (HBe Ag) สามารถพบได้ในขณะมีเชื้อจากการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน โดยสัมพันธ์กับปริมาณไวรัสที่มาก (หมายถึง มีโอกาสแพร่เชื้อต่อได้มาก) ในทางตรงข้ามแอนติบอดีต่อโปรตีนของไวรัสตับบี (anti HBe แอนติบอดี) พบต่อเมื่อมีการติดเชื้อแบบเรื้อรังและมีไวรัสในเลือดในปริมาณน้อย ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยตามไปด้วย DNA ของไวรัสตับบีสามารถตรวจหาไวรัสโดยตรงได้จากในเลือดและบอกปริมาณไวรัสได้ อย่างไรก็ดีผลตรวจทั้งหมดนี้ต้องแปลผลโดยแพทย์เท่านั้น

ดูแพ็กเกจตรวจตับ เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

บทความที่เกี่ยวข้อง
รู้จักวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจไวรัสตับอักเสบบี ตรวจยังไง เตรียมตัวอย่างไร? อ่านที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/hepatitis-b-test).
ตรวจค่าตับ alt และ ast คืออะไร? ตรวจยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/liver-function-program).
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ฉีดกี่เข็ม? ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/hbv-vaccine).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)