ผลการทดลอง เรื่องความสัมพันธ์ของจิตใจ กับความเจ็บป่วย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

a19.gif หลายปีมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองกับสุนัข ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าจิตใจและความเจ็บป่วยทางกายมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยพบว่าถ้าเราไม่ให้อาหารแก่สุนัข เมื่อถึงเวลาที่มันคาดว่าจะได้อาหารบ่อย ๆ ครั้งเข้า สุนัขจะมีอาการคลั่ง ตึงเครียด และเป็นแผลในกระเพาะอาหาร

a19.gif มีการทดลองที่มีชื่อเสียงอีกอันหนึ่งซึ่งทดลองในวัวโดยใช้ไฟฟ้าช็อตตัวมัน นักวิทยาศาสตร์พบว่าความกลัวต่อการถูกช๊อตทำให้วัวตึงเครียด และบั่นทอนสุขภาพของวัวยิ่งเสียกว่าถูกไฟฟ้าช็อตเสียอีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

a19.gif ถึงแม้ว่าการทดลองต่าง ๆ จะกระทำในสัตว์ ซึ่งยืนยันถึงความสำคัญอย่างใกล้ชิดของร่างกายและจิตใจ แต่เรานำผลอันนี้มาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน


ความสัมพันธ์ของอารมณ์ต่อสุขภาพร่างกาย

a4.gif อารมณ์ที่แสดงออกของเรานั้น ไม่ใช่เป็นเพียงความรู้สึกของจิตใจเท่านั้น แต่จะมีผลต่อร่างกายด้วย ความกลัวและความโกรธทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำให้ความดันสูงขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญเพื่อให้เกิดพลังงานของร่างกาย มีนักมวยระดับแชมป์เปียนคนหนึ่ง มักเกิดอาการปวดแน่นหน้าอกจนต้องตื่นขึ้นกลางดึก เนื่องจากฝันซ้ำซากถึงเรื่องถูกคู่ต่อสู้ต่อยเอา ๆ ความวิตกกังวลอันนี้ทำให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรงแม้กระทั่งเวลาที่เขานอนหลับอยู่

a4.gif มีแพทย์หลายคนเชื่อว่า โรคที่เกิดจากความวิตกกังวลมีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของบรรดาโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย ความเจ็บป่วยหรือการสูญเสียบุคคลในครอบครัว การตกงาน สิ่งเหล่านี้ทำให้คนเป็นโรคประสาทและในที่สุดจะกลายเป็นเรื่องเจ็บป่วยทางกาย

 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bell, S.L., Audrey, S., Gunnell, D. et al. The relationship between physical activity, mental wellbeing and symptoms of mental health disorder in adolescents: a cohort study. Int J Behav Nutr Phys Act 16, 138 (2019). https://doi.org/10.1186/s12966-019-0901-7. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity. (https://ijbnpa.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12966-019-0901-7)
Physical illness in patients with severe mental disorders.I. Prevalence, impact of medications and disparities in health care. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3048500/)
The relationship between mental health and health-related physical fitness of university students. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3884876/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีการจัดการกับโรควิตกกังวล
วิธีการจัดการกับโรควิตกกังวล

คุณสามารถควบคุมโรคนี้ได้หากได้รับความช่วยเหลือ

อ่านเพิ่ม
แนวทางการวินิจฉัยโรควิตกกังวลตาม DSM5
แนวทางการวินิจฉัยโรควิตกกังวลตาม DSM5

อาการของโรคนี้คืออะไรแล้วจะใช้การประเมินอย่างไร?

อ่านเพิ่ม
การใช้ Paxil สำหรับโรควิตกกังวล
การใช้ Paxil สำหรับโรควิตกกังวล

Paxil ทำงานอย่างไร ผลข้างเคียง และข้อมูลอื่นๆ

อ่านเพิ่ม