วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

โรคระบบทางเดินอาหารคืออะไร ร้ายแรงขนาดไหน

รวมโรคระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อย เกิดได้อย่างไร มีวิธีรักษาอะไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ก.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 24 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
โรคระบบทางเดินอาหารคืออะไร ร้ายแรงขนาดไหน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติบางอย่างของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจมีสาเหตุจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การรักษาสุขอนามัยที่ไม่ดีพอ หรือความผิดปกติที่เกิดจากอวัยวะภายในเอง
  • โรคระบบทางเดินอาหารที่มักพบได้คือ อาการท้องผูก โรคกรดไหลย้อน โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งลำไส้ โรคลำไส้แปรปรวน โรคมะเร็งตับ โรคลำไส้อักเสบ
  • อาการส่วนมากของโรคในระบบทางเดินอาหารจะใกล้เคียงกัน เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง การอุจจาระมีปัญหา มีเลือดออกที่ทวารหนัก หรือปนในอุจจาระ น้ำหนักตัวลดลง
  • นอกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้ว ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็มีส่วนทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

ระบบทางเดินอาหาร เป็นอีกระบบสำคัญของร่างกายทำหน้าที่ย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน หรือสารอาหารที่มีประโยชน์

อวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ถุงน้ำดี และท่อน้ำดี อวัยวะเหล่านี้สามารถเกิดความผิดปกติได้จากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลไม่ดีพอ และการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เมื่อระบบทางเดินอาหารเกิดความผิดปกติ จึงก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ซึ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบนี้จะเรียกว่า “โรคระบบทางเดินอาหาร”

โรคระบบทางเดินอาหารมีหลายชนิด หลายประเภท ตั้งแต่โรคที่สามารถรักษาให้หายได้ง่ายไปจนถึงโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็ง หรือเนื้องอกซึ่งยากจะรักษาให้หายเป็นปกติได้

โรคระบบทางเดินอาหาร

ตัวอย่างโรคระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้

1. อาการท้องผูก

อาการท้องผูก (Constipation) เป็นอาการที่ทุกคนน่าจะเคยเผชิญกันมาบ้างแล้ว อาการท้องผูก อุจจาระแข็งมากกว่าปกติ จึงขับถ่ายได้ยากลำบาก หรือต้องเบ่งมากกว่าปกติ รวมถึงมีอาการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ โดยเฉลี่ยน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการท้องผูกจะรู้สึกเหมือนเบ่งอุจจาระไม่สุด จำเป็นต้องสวนทวารเพื่อให้อุจจาระออกได้ หรือรู้สึกเจ็บทวารขณะขับถ่ายด้วย

อาการท้องผูกส่วนมากมักเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม เช่น ดื่มน้ำน้อย รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
  • มีพฤติกรรมชอบอั้นอุจจาระ
  • โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
  • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางประเภท เช่น ยาลดความดันโลหิต ยารักษาอาการซึมเศร้า ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กผสมอยู่ ยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ความผิดปกติของลำไส้ เช่น ลำไส้อุดตัน ลำไส้ตีบตัน ลำไส้บีบพันกัน มีก้อนมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก กล้ามเนื้อหูรูดของทวารหนักทำงานไม่ประสานกันกับการเบ่งอุจจาระ

วิธีรักษาอาการท้องผูกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การรับประทานยาระบายตามแพทย์สั่ง ดื่มน้ำให้มากขึ้น ปรับเปลี่ยนเมนูอาหาร โดยให้รับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีกากใยมากๆ ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายมากขึ้น และไม่อั้นอุจจาระ

2. โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) คือ โรคระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากน้ำย่อย หรือกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารส่วนบน

โรคกรดไหลย้อนสามารถเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น

  • กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน หรือส่วนล่างคลายตัวผิดปกติ
  • ความเครียด จนทำให้กรดในกระเพาะอาหารหลั่งออกมามากกว่าปกติ
  • การรับประทานอาหารแล้วเข้านอนทันทีโดยไม่รอให้อาหารย่อย ทำให้ช่องท้องเกิดความดัน และทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมา
  • การรับประทานอาหารย่อยยาก เช่น อาหารทอด อาหารมัน อาหารฟาสต์ฟู้ด
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดระหว่างกระเพาะอาหาร และหลอดอาหารส่วนปลายหย่อน
  • ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายมากพอ ทำให้กระเพาะอาหาร และลำไส้ไม่ได้เคลื่อนตัวจนกรด และน้ำย่อยไม่ไหลไปอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม และไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารแทน

อาการของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนส่วนมาก ได้แก่

  • รู้สึกแสบร้อน จุกแน่นหน้าอก และลิ้นปี่
  • เรอบ่อย คลื่นไส้
  • กลืนน้ำลายลำบาก
  • แสบลิ้น
  • ระคายเคือง หรือเจ็บแสบในลำคอ
  • รู้สึกเหมือนมีก้อนอยู่ในลำคอ หรือมีน้ำรสขม รสเปรี้ยวอยู่ในลำคอตลอดเวลา
  • ไอเรื้อรัง
  • มีน้ำลายมากผิดปกติ
  • หูอื้อเป็นระยะๆ

วิธีรักษาโรคกรดไหลย้อนสามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น

  • รับประทานยาลดกรด
  • หากรับประทานอาหารก่อนนอน ให้เว้ยระยะเวลาให้อาหารย่อยก่อนประมาณ 3 ชั่วโมง
  • ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  • หมั่นออกกำลังกาย
  • ไม่สวมเสื้อผ้า หรือกางเกงที่รัดแน่นบริเวณรอบเอว เพื่อลดความดันในช่องท้อง
  • รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ ควรรับประทานผัก ผลไม้เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. โรคแผลในกระเพาะอาหาร

โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer Disease: PUD) เป็นโรคระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากกรด หรือน้ำย่อยกัดเยื่อบุกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ส่วนต้นจนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารบางรายอาจมีอาการเพียงแค่ท้องอืด ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แต่บางรายก็อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ หรือถ่ายเป็นเลือด

สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหารเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่สร้างความระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารอย่างชา กาแฟ น้ำอัดลม การสูบบุหรี่ การรับประทานยาแก้ปวดมากเกินไป ความเครียด

ผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารควรรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน เพราะหากอาการของโรคนี้รุนแรงถึงขั้นกระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยอาจมีการปวดท้องอย่างรุนแรง ช็อค และเสียชีวิตได้ ซึ่งวิธีนี้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

นอกจากนี้วิธีรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารอื่นๆ ได้แก่

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาภาวะจิตใจอย่าให้ตนเองเกิดความเครียด วิตกกังวล
  • รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด การดื่มสุรา ชา กาแฟ ซึ่งสร้างความระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ง่าย
  • งดการรับประทานยาที่สร้างความระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารไปจนกว่าแพทย์จะอนุญาต

4. โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer) คือ โรคมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดการแบ่งตัวผิดปกติจนเกิดเป็นก้อนมะเร็งส่วนเกินในกระเพาะอาหาร

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารจะเริ่มต้นจากมีเลือดออกในทางเดินอาหาร เกิดภาวะโลหิตจาง คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกอิ่มเร็วกว่าปกติ น้ำหนักลดลงผิดปกติ 

ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจยังไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งจนกว่าจะมีการตรวจพบก้อนมะเร็งผ่านการส่องกล้องเท่านั้น

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารจะแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1: ก้อนมะเร็งยังอยู่ที่เยื่อบุในกระเพาะอาหาร และยังไม่ลุกลามไปที่อวัยวะส่วนอื่น

ระยะที่ 2: ก้อนมะเร็งเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และเริ่มกระจายตัวไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง 

ระยะที่ 3: ก้อนมะเร็งเริ่มลุกลามไปสู่อวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น ปอด ช่องท้อง ตับ

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารจัดเป็นโรคระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อย เพราะมีปัจจัยทำให้เกิดได้ทั้งพันธุกรรม เชื้อชาติซึ่งพบว่า คนเอเชียมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ได้มากกว่า รวมทั้งอายุที่มากขึ้น 

พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารหมักดอง อาหารตากเค็ม อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

วิธีรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมักรักษาผ่านการผ่าตัด การฉายรังสีบำบัด การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับให้ยาฉีดเข้าหลอดเลือด รวมถึงในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 

งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา รวมถึงอาหารอื่นๆ ที่สร้างความระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารด้วย

5. โรคมะเร็งลำไส้

โรคมะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer) เป็นโรคมะเร็งอันดับต้นๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยมีปัจจัยทำให้เกิดได้หลายอย่าง เช่น

  • อายุที่มากขึ้น
  • พันธุกรรม โดยผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งลำไส้มีโอกาสจะเกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนปกติทั่วไป
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง
  • พฤติกรรมการสูบบุหรี่ 
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์บ่อยๆ

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ ได้แก่

  • คลื่นไส้อาเจียน
  • อ่อนเพลียอย่างหนัก
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • รู้สึกจุกเสียดในท้อง มีลมในท้องมาก
  • ท้องผูก ท้องเสีย
  • ทวารหนักมีเลือดออกแม้ไม่ได้อุจจาระ
  • อุจจาระมีเลือดปน หรืออุจจาระมีสีคล้ำเข้มซึ่งเป็นผลมาจากเลือดปนในอุจจาระ
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ

ระยะของโรคมะเร็งลำไส้แบ่งออกได้ 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1: ก้อนมะเร็งเริ่มเจริญเติบโตอยู่ในเยื่อบุของผนังลำไส้ และทวารหนัก

ระยะที่ 2: ก้อนมะเร็งเริ่มลุกลามไปที่ชั้นกล้ามเนื้อของผนังลำไส้ และเริ่มลุกลามไปที่เนื้อเยื่อ บริเวณใกล้เคียง

ระยะที่ 3: ก้อนมะเร็งลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง แต่ยังไม่ลุกลามไปที่อวัยวะอื่น

ระยะที่ 4: ก้อนมะเร็งลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง และอวัยวะใกล้เคียง เช่น ตับ ปอด กระดูก รวมถึงเข้าไปในกระแสเลือด 

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้สามารถรักษาได้ผ่านการผ่าตัดเพื่อนำก้อนมะเร็งออก การให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งอาจให้ก่อน หรือหลังการผ่าตัด การฉายแสงเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง

หลังกำจัดก้อนมะเร็งออกจากร่างกายแล้ว รวมถึงเข้ารับการรักษาครบทุกกระบวนการ แพทย์จะนัดผู้ป่วยเข้ามาตรวจร่างกายเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีเชื้อมะเร็งหลงเหลืออยู่ หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้นหรือไม่

วิธีป้องกันการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร

นอกจากโรคระบบทางเดินอาหารทั้ง 5 โรคที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีโรค และความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคตับแข็ง ภาวะลำไส้แปรปรวน ซึ่งทุกโรคล้วนส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติ และเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้

เพื่อลดความเสี่ยงเกิดโรคระบบอาหาร การมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพ และรู้จักรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคระบบทางเดินอาหารได้ เช่น

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช อาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด ถูกสุขลักษณะ
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอทุกวัน
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • งดรับประทานอาหารหมักดอง อาหารรสจัด รวมถึงอาหารปิ้งย่าง
  • งดสูบบุหรี่
  • ขับถ่ายเป็นเวลา ไม่กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระเด็ดขาด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • อย่าปล่อยให้จิตใจเกิดภาวะเครียด หากมีภาวะเครียดมากๆ อาจไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไข
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • สอบถามแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารก่อนการรับประทานยาทุกชนิด
  • หมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจวินิจฉัย
  • หากมีข้อบ่งชี้สุขภาพ เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง อาจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง หรือตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง 

โรคระบบทางเดินอาหารไม่ได้เป็นเพียงโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลให้คุณต้องสูญเสียอวัยวะในระบบทางเดินอาหารไปเท่านั้น แต่ยังเป็นโรคที่สร้างความรำคาญทำให้ยากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย 

ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน

การมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม ดื่มน้ำสะอาด พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงความเครียด 

การดูแลระบบย่อยอาหาร รวมถึงดูแลระบบขับถ่ายให้ทำงานมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ลดโอกาสเป็นโรคระบบทางเดินอาหารได้

นอกจากนี้พฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดียังจะช่วยให้คุณรับประทานอาหารทุกมื้อได้อย่างเอร็ดอร่อยทุกวัน รวมถึงสบายท้อง มีกิจวัตรการขับถ่ายที่ดี และไม่มีของเสียคั่งค้างอยู่ในร่างกายด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The American Cancer Society medical and editorial content team, Colorectal Cancer Signs and Symptoms (https://www.cancer.org/cancer/colon-rectal-cancer/detection-diagnosis-staging/signs-and-symptoms.html), 30 July 2020.
สมาคมแพทย์ทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย, แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคกรดไหลย้อน (http://www.gastrothai.net/th/guideline-detail.php?content_id=31), 14 สิงหาคม 2563.
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, มะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer) (https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/colorectal), 30 กรกฎาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม