โรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก (tennis elbow)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก (tennis elbow)

โรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอกนั้นเป็นภาวะที่มีการอักเสบของเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เหยียดของแขนส่วนล่างกับปุ่มกระดูกที่ด้านนอกของข้อศอกที่เรียกว่า lateral epicondyle ภาวะนี้จะทำให้เกิดอาการเจ็บที่ตำแหน่งที่เส้นเอ็นนั้นยึดกับกระดูก และอาจจะร้าวไปตามแขนและข้อมือได้ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้สามารถกำมือได้ลดลง และอาจจะทำให้การทำกิจกรรมง่ายๆ เช่นการยกแก้ว หมุนกุญแจ หรือจับมือนั้นทำได้ยากขึ้น

ส่วนมากผู้ที่เป็นโรคนี้นั้นเกิดจากการทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่ต้องมีการหมุนหรือกำมือซึ่งทำให้กล้ามเนื้อที่แขนส่วนล่างนั้นต้องหดตัวต้านกับแรงซ้ำๆ เช่นการพรานดิน ถอินวัชพืช การใช้สกรู เล่นไวโอลิน หรือตีเทนนิส โรคนี้เป็นโรคที่ส่งผลต่อการทำงานของนักจัดสวนมืออาชีพ ทันตแพทย์และช่างไม้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคนี้สามารถรักษาได้หลายวิธีแต่ไม่มีหลักฐานที่มากนักเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการรักษา

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในโรคนี้

ความเครียดที่เกิดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เหยียดซ้ำๆ เรื้อรังจะทำให้เกิดการฉีกขาดที่เส้นเอ็น และทำให้เกิดการอักเสบ และปวดขึ้น

เส้นเอ็นนั้นเกิดจากมัดคอลลาเจนหลายๆ เส้นที่เรียงตัวขนานกัน เมื่อมีความเครียดและการฉีกขาดเกิดขึ้นที่บริเวณนี้ ร่างกายก็จะตอบสนองด้วยการปล่อย fibroblast และสารอื่นๆ ที่จะทำให้เกิดแผลเป็นที่บริเวณดังกล่าว การบาดเจ็บซ้ำๆ นั้นจะทำให้ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างเหมาะสม ทำให้บริเวณนั้นยังคงอ่อนแรงและมีอาการเจ็บ 

กายวิภาคของโรคนี้

โรคนี้เกิดจากการที่มีความเครียดกระทำซ้ำๆ ทำให้เกิดรอยฉีกขาดเล็กๆ ภายในเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เหยียดกับ lateral epicondyle

การรักษาและประสิทธิภาพของการรักษา

งานวิจัยยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าควรจะมีวิธีการรักษาโรคนี้อย่างไร การรักษาส่วนใหญ่นั้นจะเน้นที่การลดอาการปวด แต่มักจะสามารถทำได้เพียงชั่วคราว วิธีที่อาจจะดีที่สุดก็คือการพักการใช้งานข้อศอก

งานวิจัยหนึ่งได้ทำการสุ่มผู้ที่เป็นโรคนี้ให้ได้รับการทำกายภาพบำบัด การฉีดสเตียรอยด์และการแค่เฝ้าติดตามอาการ ร่วมกับการให้คำแนะนำเรื่องการปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่ทำ การประคบร้อนและเย็น การใช้ยาลดอาการปวดและใส่ที่ประคองแขนมากจำเป็น เมื่อสิ้นสุดเวลา 1 ปีพบว่าอาการปวดในกลุ่มที่ทำกายภาพบำบัดและกลุ่มที่เฝ้าติดตามอาการนั้นใกล้เคียงกัน ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาฉีดสเตียรอยด์นั้นมีอาการแย่ที่สุด เชื่อว่าอาจเกิดจากการลดอาการปวดในระยะแรกอย่างรวดเร็วที่ทำให้มีการเพิ่มการใช้งาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่างานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการรักษาส่วนใหญ่นั้นใช้เวลาในการศึกษาสั้นเกินไปหรือมีการออกแบบงานวิจัยที่ไม่ดีพอที่จะสามารถศึกษาเกี่ยวกับผลการรักษาในระยะยาวได้หรือแม้กระทั่งสนับสนุนการรักษาในระยะสั้นก็ตาม

สิ่งที่ควรทำ

ต่อไปนี้เป็นแนวทางที่อาจจะช่วยคุณป้องกันการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นดังกล่าว ลดอาการปวดและการอักเสบและคงความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อ

ในระยะแรก ในลดการเคลื่อนไหวและการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดที่ข้อศอก แขน และข้อมือข้างที่มีอาการ ในการบรรเทาอาการปวดนั้นสามารถทำได้โดยการประคบเย็นที่ตำแหน่งดังกล่าวเป็นเวลา 15-20 นาทีทุกๆ 4-6 ชั่วโมงในช่วงวันแรก การใช้ยาแก้ปวดเช่น ibuprofen, naproxen, aspirin และพาราเซตามอลนั้นก็อาจจะช่วยได้เช่นกันแต่ก็ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกินกว่า 4 สัปดาห์เนื่องจากผลข้างเคียงของยา บางคนอาจจะมีการใส่อุปกรณ์ช่วยประคองรอบๆ แขน

ขั้นต่อมา หากยังคงมีอาการอยู่ แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดสเตียรอยด์ ซึ่งมักจะทำให้อาการดีขึ้นชั่วคราว แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณสามารถกลับไปทำกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการได้อีกครั้ง หลังจากฉีดยา คุณยังคงต้องพักการใช้งาน ประคบเย็น และทานยาแก้ปวดอยู่ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด การฉีดยาซ้ำนั้นอาจจะทำให้เนื้อเยื่อฝ่อได้ ดังนั้นแพทย์จะแนะนำให้ฉีดไม่เกิน 2-4 ครั้งแม้แต่ในกรณีที่มีอาการปวดเรื้อรัง วิธีอื่นๆ การผ่าตัดนั้นอาจจะเป็นทางเลือกในการรักษาในบางกรณีที่มีอาการเรื้อรังนานกว่า 1 ปีแม้ว่าจะใช้วิธีอื่นๆ ในการรักษาแล้วก็ตาม


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป