กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 3

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 3

เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 3 ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 2.5 - 3 นิ้ว น้ำหนักราวๆ 14-15 กรัม ในเดือนนี้ทารกในครรภ์เริ่มมีพัฒนาการของอวัยวะต่างๆ เช่น ระบบไหลเวียนเลือด ระบบขับถ่ายปัสสาวะเริ่มทำงาน เริ่มมีกระบวนการกลืนน้ำคร่ำของทารก ตับเริ่มสร้างน้ำดี อวัยวะสืบพันธุ์เริ่มเป็นรูปร่างแต่ยังไม่สามารถเห็นได้ชัดว่าเป็นเพศใด เริ่มเห็นนิ้วมือและนิ้วเท้าชัดเจนขึ้น

ในเดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่สามารถรู้สึกได้ดังนี้

  • อ่อนเพลียง่าย และรู้สึกง่วงนอนบ่อยกว่าปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือยังมีอาการแพ้
  • ท้องผูก
  • ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ปวดแสบบริเวณใต้ลิ้นปี่
  • เบื่อและอยากอาหารบางประเภท
  • เต้านมตึงคัด เต้านมขยายใหญ่ขึ้น สีผิวบริเวณหัวนมเข้มขึ้น
  • ปวดศีรษะเป็นครั้งคราว
  • เป็นลมบ่อย เวียนศีรษะ ตาพร่า ต้องระมัดระวังให้มากขึ้น
  • อึดอัดบริเวณเอว
  • หิวบ่อยและกินจุมากกว่าเดิม
  • อารมณ์แปรปรวน อ่อนไหวง่าย ร้องไห้ง่าย เป็นต้น

สิ่งที่แพทย์จะให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทำในเดือนนี้ได้แก่

  1. การชั่งน้ำหนัก และวัดความดันเลือด
  2. ตรวจสอบน้ำตาลและสารไข่ขาวในปัสสาวะ
  3. ฟังเสียงเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์
  4. ตรวจสอบขนาดมดลูกว่าขนาดปกติดีหรือไม่
  5. ตรวจสอบระดับของมดลูกโดยการคลำจากหน้าท้อง
  6. ตรวจสอบอาการบวมและเส้นเลือดขอดบริเวณขาและเท้า
  7. ตรวจสอบอาการผิดปกติอื่นๆ (ถ้ามี)

สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษในเดือนนี้คืออาการท้องผูก คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรทานอาหารที่มีกากใยอาหารให้มากขึ้น ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น และควรออกกำลังกายในแบบที่เหมาะสมวันละครึ่งชั่วโมง นอกจากอาการท้องผูกแล้ว บางคนมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ซึ่งก็มักจะเป็นผลมาจากอาการท้องผูก เนื่องจากอาการท้องผูกเป็นสาเหตุให้เกิดก๊าซในทางเดินอาหาร จึงต้องรักษาอาการท้องผูกให้หาย ไม่ควรกินอาหารอิ่มเกินไปในแต่ละมื้อ และไม่ควรรีบกิน ควรจะเคี้ยวอาหารช้าๆ และลดหรืองดอาหารที่อาจจะทำให้เกิดก๊าซในการย่อย เช่น กะหล่ำทุกชนิด หัวหอม และถั่วทุกชนิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ควรแบ่งการรับประทานอาหารออกเป็นมื้อย่อยๆ แทนที่จะรับประทานแบบ 3 มื้อต่อวัน อาจจะแบ่งเป็น 6-7 มื้อต่อวัน แต่แบ่งเป็นอาหารประจำมื้อ (3 มื้อหลัก) ส่วนช่วงสาย (ระหว่างมื้อเช้าและเที่ยง) อาจจะทานผลไม้ที่ให้กากใยมาก หรือสลัดผักใบเขียว พอช่วงบ่าย (ระหว่างมือเที่ยงและเย็น) อาจจะหาผลไม้ หรืออาหารว่างที่มีแร่ธาตุแคลเซียมมากๆ เข้าช่วย ส่วนช่วงหัวค่ำ (หลังมือเย็นและก่อนนอน) หากรู้สึกหิวอาจหาน้ำผลไม้คั้นสดๆ, ผลไม้บางชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า หรือดื่มนมอุ่นๆ สักแก้วก็ได้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Your pregnancy: 12 weeks (https://www.babycenter.com/12-...) , February 2019
What happens in the third month of pregnancy? (https://www.plannedparenthood....)
Pregnancy week by week (https://www.mayoclinic.org/hea...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม