กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ยาเสพติด ทำลายสมอง ก่อให้เกิดอาการทางจิตได้อย่างไร?

การเสพยา หรือสารเสพติดจะเข้าไปทำลายสมองส่วนความคิด ทำให้เกิดการอยากยา กลาย หรือสมองติดยา จนนำไปสู่อาการทางจิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 14 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาเสพติด ทำลายสมอง ก่อให้เกิดอาการทางจิตได้อย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เมื่อเสพยาจะกระตุ้นให้สมองหลั่งโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความสุขมากขึ้นกว่าปกติอย่างรวดเร็ว เกิดความพึงพอใจมากกว่าปกติ และเมื่อยาหมดฤทธิ์ก็จะรู้สึกหงุดหงิด ซึมเศร้า ทำให้ต้องการเสพยาซ้ำไปเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ จนเกิดเป็นภาวะสมองติดยา
  • ผู้เสพยาจะทำอะไรตามใจตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล จึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หรือขาดความยับยั้งชั่งใจ ในบางรายยังอาจเกิดอาการทางจิต เช่น มีหูแว่ว หรือเห็นภาพหลอนด้วย
  • ผู้ที่หยุดยาเสพติดตั้งแต่เริ่มเสพไม่นาน และเข้ารับการบำบัดอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสที่สมองจะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติมากขึ้นได้
  • ผู้ที่เสพยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกว่า 5-10 ปี แม้ว่าจะเข้ารับการบำบัด หรือเลิกยาเสพติดได้แล้วก็อาจจะช้าเกินไป เพราะสมองถูกสารเสพติดทำลายจนกลายเป็นโรคสมองพิการถาวร
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

ผู้ที่เสพยา หรือสารเสพติดหลายคน มักเข้ากระบวนการเลิกยาและสารเสพติดอย่างจริงจังช้าเกินไป เพราะคิดว่า การเสพเพียงครั้งคราวไม่ใช่การติดยาและไม่น่าจะเป็นอันตราย ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด

เนื่องจากความจริงนั้นการเสพยาเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้สมองติดยาได้แล้ว นอกจากนี้การเสพยายังทำลายเซลล์สมอง ทำให้เกิดอาการทางจิตได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สมองติดยา เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เมื่อเสพยาเข้าไปในร่างกาย จะมีผลต่อสมอง 2 ส่วน คือ

  • สมองส่วนความคิด (Cerebral Cortex) ทำหน้าที่ จดจำ คิด จินตนาการ และตัดสินใจ
  • สมองส่วนอยาก (Limbic System) เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึก

โดยการกระตุ้นให้สมองหลั่งโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความสุขมากขึ้นกว่าปกติอย่างรวดเร็ว เกิดความพึงพอใจมากกว่าปกติ 

เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็จะรู้สึกหงุดหงิด ซึมเศร้า ทำให้ต้องการเสพยาซ้ำไปเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ จนเกิดเป็นภาวะสมองติดยานั่นเอง

ยาเสพติด ทำลายเซลล์สมอง ทำให้เกิดอาการทางจิตอย่างไร?

ปกติแล้ว จะเห็นผลชัดเจนหลังจากเสพยา 1 เดือน โดยสารเสพติดจะเข้าไปทำลายเซลล์สมองส่วนคิด ทำให้การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลเสียไปจนทำให้สมองส่วนอยากมีอิทธิพลเหนือสมองส่วนคิด โดยเฉพาะช่วงอาการอยากสารเสพติด

ผู้เสพยาจะทำอะไรตามใจตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล จึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หรือขาดความยับยั้งชั่งใจ

พฤติกรรมเหล่านี้เองที่มักนำไปสู่ความรุนแรงในสังคมที่พบเห็นได้บ่อยๆ ทั้งการปล้นจี้ ลักขโมย ทำร้ายคนใกล้ชิด ก่อเรื่องที่ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ฯลฯ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ในบางรายยังอาจเกิดอาการทางจิต มีหูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวง เพ้อคลั่ง อาละวาด จนกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวชได้ เพราะสมองส่วนคิดที่ถูกทำลายไปแล้วจะไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม

จุดจบของผู้ป่วยสารเสพติดส่วนใหญ่จึงมักเป็นผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ซึ่งไม่สามารถบำบัดและรักษาให้กลับมาเป็นคนเดิมได้นั่นเอง

สามารถบำบัดรักษาให้สมองฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้ไหม?

เป็นเรื่องยากที่จะยืนยันว่า สามารถบำบัดรักษาให้สมองฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้ที่หยุดยาเสพติดตั้งแต่เริ่มเสพไม่นานและเข้ารับการบำบัดอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีโอกาสที่สมองจะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติมากขึ้นได้

แต่ในกลุ่มที่เสพยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกว่า 5-10 ปี แม้ว่าจะเข้ารับการบำบัด หรือเลิกยาเสพติดได้แล้วก็อาจจะช้าเกินไป เพราะสมองถูกสารเสพติดทำลายจนกลายเป็นโรคสมองพิการถาวรไปแล้ว

แม้ว่าโอกาสที่สมองกลับมาเป็นปกติเป็นเรื่องยาก และทำให้ไม่สามารถใช้สมองเพื่อเรียน หรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นคนทั่วไป แต่การเลิกยาเสพติดก็ยังเป็นสิ่งที่ควรทำอยู่ดี

ตัวอย่างสารเสพติด

1. ยาบ้า หรือเมทแอมเฟตมีน (Methamphetamine) หรือแอมเฟตมีน (Amphetamine)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีส้ม แดง น้ำตาล เขียว มีตัวอักษร WY, Y หรือ R
  • ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เสพแล้วไม่ง่วง ตื่นตัว มีกำลังวังชา
  • หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือเสพมากเกินขนาด จะทำให้ประสาทหลอน วิตกกังวล หวาดระแวง เพ้อคลั่ง ก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง และคนรอบข้าง

2. ยาอี หรือยาเลิฟ หรือโซแลม

  • ลักษณะเป็นเม็ดกลม มีรูปภาพการ์ตูน ดอกไม้ ผีเสื้อ หัวใจ หรือตัวอักษร
  • เสพแล้วรู้สึกอารมณ์ดี เป็นกันเอง ไม่ถือตัว สนุกสนานกับเสียงเพลง นิยมใช้ในงานปาร์ตี้ สังสรรค์ หรือการเที่ยวกลางคืน
  • หากเสพเกินขนาดจะเกิดประสาทหลอน สับสน กระสับกระส่าย ระบบประสาท และสมองถูกทำลาย ควบคุมตัวเองไม่ได้

3. ยาเค หรือเคตามีน (Ketamine)

  • ลักษณะเป็นผงสีขาว
  • มีฤทธิ์หลอนประสาท เมื่อเสพแล้วจะรู้สึกอยู่ในภวังค์ หลุดโลกคล้ายการถอดจิตออกจากร่าง

4. แอลเอสดี (LSD)

  • สารสกัดจากเชื้อรา มีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษขนาดเล็กฉาบด้วยแอลเอสดี มีลวดลายรูปภาพคล้ายแสตมป์
  • หากเสพปริมาณน้อยจะออกฤทธิ์คล้ายยาบ้า
  • หากเสพปริมาณมากจะมีฤทธิ์หลอนประสาท เห็นแสงสว่างเจิดจ้า เป็นประกาย หน้าบิดเบี้ยว
  • หากเสพเป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดโรคจิตอย่างถาวร

5. ยาลดความอ้วน

  • ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ลดอาการอยากอาหาร
  • มักมาในรูปแบบของยาชุดเพื่อช่วยลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เช่น ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยาระบาย ฯลฯ ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต

6. สารระเหย

  • จำพวกทินเนอร์ แลกเกอร์ กาวยาง น้ำยาทาเล็บ หรือสีสเปรย์
  • สูดดมแล้วทำให้รู้สึกเป็นสุขร่าเริง ตื่นเต้น คล้ายอาการเมาแอลกอฮอล์
  • หากเสพติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้สมองพิการ ทำลาย ตับ ไต หัวใจ ปอด

7. กระท่อม หรือเรียกว่า "4X100"

  • เสพโดยการนำใบมาเคี้ยว หรือปิ้งจนเกรียม แล้วผสมในอาหาร
  • ทำให้ร่าเริง มีเรี่ยวแรง ทนแดด แต่กลัวฝน
  • เมื่อเสพจนติดจะทำให้ผิวหนังดำเกรียม ซูบผอม นอนไม่หลับ ปวดกล้ามเนื้อ และกระดูก

8. กัญชา

  • เป็นพืชล้มลุก นิยมนำใบและช่อดอกตัวเมียที่อบแห้งมาสูบ หรือรับประทาน
  • ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในช่วงแรก ทำให้ร่าเริง หัวเราะง่าย ตามด้วยอาการเมา ง่วงนอน ซึม ประสาทหลอน และหวาดระแวง

9. ฝิ่น

  • นำยางแห้งที่กรีดได้จากผลฝิ่นดิบมาเสพด้วยการสูบ หรือรับประทาน
  • ทำให้อารมณ์ดี จิตใจเลื่อนลอย เชื่องช้า ง่วงซึม
  • หากเสพเป็นเวลานานจะซูบผอม อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ความจำเสื่อม

10. เฮโรอีน

  • มีลักษณะเป็นผงสีขาว
  • ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม เซื่องซึม มึนงง ง่วงเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
  • หากไม่ได้เสพจะเกิดอาการลงแดง ทุรนทุราย และหากเสพในปริมาณมากจะทำให้เสียชีวิตจากการหยุดหายใจได้

ยาเสพติดเป็นภัยร้ายสำหรับทุกคน ดังนั้นครอบครัวควรใส่ใจดูแลด้วยความเข้าใจ ให้ความรัก ความอบอุ่น เพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้คิดริลองยาดีกว่าปล่อยให้เกิดการเสพจนสูญเสียความเป็นคน ควบคู่ไปกับการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากยาเสพติด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Substance-related and addictive disorders, In: Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders DSM-5. 5th ed. Arlington, Va.: American Psychiatric Association; 2013.
NHS, Drugs and the brain (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/drugs-and-the-brain/), 8 August 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เลิกยาเสพติดให้สำเร็จ ต้องทำอย่างไร?
เลิกยาเสพติดให้สำเร็จ ต้องทำอย่างไร?

อะไรทำให้เกิดพฤติกรรมติดยาเสพติด ตรวจหาสารเจอได้อย่างไร จะเลิกต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนการบำบัดยาเสพติดอะไรบ้าง

อ่านเพิ่ม
ชุดตรวจหาสารเสพติด มีกี่แบบ และต่างกันอย่างไร?
ชุดตรวจหาสารเสพติด มีกี่แบบ และต่างกันอย่างไร?

การอ่านค่าชุดตรวจสารเสพติด ตรวจวัดระดับสารอะไรได้บ้าง มีชุดตรวจกี่ประเภท หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม