กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

หลั่งในจะท้องหรือไม่

ไม่ว่าจะเป็นการหลั่งนอก หรือหลั่งในก็ล้วนมีโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ทั้งนั้น จึงควรใช้ถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
หลั่งในจะท้องหรือไม่

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • vk0เมื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เช่น ใส่ถุงยางอนามัย หรือรับประทานยาคุม ไม่ว่าจะหลั่งข้างนอก หรือหลั่งข้างใน ล้วนมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์ทั้งนั้น และยังเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย
  • สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาปกติ การนับวันไข่ตกจะให้คำตอบชัดเจนกว่าผู้ที่ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยหากมีเพศสัมพันธ์ และหลั่งข้างใน ช่วงวันที่ 9-18 นับจากวันแรกที่ประจำเดือนมา จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูงมาก
  • สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาผิดปกติ ไม่ควรใช้วิธีนับวันไข่ตกเพราะอาจเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้
  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากคู่นอนได้ ฝ่ายชายจึงควรสวมถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ปัญหาหนึ่งของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรที่น่ากังวลใจก็คือ “การตั้งท้อง” เพราะไม่เข้าใจถึงวิธีการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง 

บางรายมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการใส่ถุงยางอนามัย หรือการรับประทานยาคุมฉุกเฉิน และมักจะมีคำถามเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าบ่อยๆ อย่างเช่น แตกใน หรือหลั่งในแล้วจะท้องไหม หรือมีเพศสัมพันธ์หลังมีประจำเดือนจะท้องหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กรณีที่ผู้หญิงมีประจำเดือนมาปกติและตรงเวลา

การมีเพศสัมพันธ์แล้วหลั่งน้ำอสุจิข้างในช่องคลอดจะท้องหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน 

แต่สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนมาปกติ ตรงต่อเวลา คำตอบจะค่อนข้างชัดเจนกว่าผู้ที่มีประจำเดือนมาไม่แน่นอน เพราะการหลั่งในย่อมหมายความว่า อสุจิได้เข้าไปในช่องคลอดของฝ่ายหญิงแล้ว จึงมีโอกาสที่ไข่และอสุจิจะผสมกันแล้วเกิดการตั้งครรภ์ได้

ตัวอย่างเช่น หากประจำเดือนมาทุกๆ 28–30 วัน ให้นับจากวันแรกที่มีประจำเดือนมาอีก 9–18 วัน ในช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังมีไข่ตก ซึ่งถ้ามีเพศสัมพันธ์แล้วหลั่งในจะมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์สูงมาก

หรือประมาณระยะปลอดภัยด้วยวิธี “หน้า 7 หลัง 7” โดยการนับ 7 วัน ก่อนวันมีประจำเดือน กับ 7 วัน หลังวันมีประจำเดือน 

ตัวอย่างเช่น ประจำเดือนมาวันที่ 10 ก็ให้นับมาข้างหน้า 7 คือวันที่ 4 – 10 นับถอยหลัง 7 คือ วันที่ 10 – 16 โดยถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงระยะวันที่ 4 – 16 ก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้น้อย

กรณีที่ผู้หญิงมีประจำเดือนมาผิดปกติและไม่แน่นอน

สำหรับกรณีนี้จะไม่มีทางทราบได้เลยว่า วันไข่ตก และช่วงระยะปลอดภัยคือวันใด ดังนั้นจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้ค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่าจะหลั่งในเพียงครั้งเดียวก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คำแนะนำสำหรับคำถาม “แตกใน หรือหลั่งในจะท้องหรือไม่”

การมีประจำเดือนตรงเวลา หรือไม่ตรงเวลาแล้วมีเพศสัมพันธ์นั้น เป็นแค่การประมาณโอกาสความเสี่ยงว่า ตั้งครรภ์ได้มากน้อยเท่านั้น โดยไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจนว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น รอบเดือนมาสั้น หรือรอบเดือนมายาว 

ถึงแม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ในวันเดียวกัน แต่โอกาสในการตั้งครรภ์ยังคงมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน

นอกจากนี้ถ้าสุขภาพของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงแข็งแรงสมบูรณ์ ก็ย่อมมีโอกาสเพิ่มการตั้งครรภ์ได้สูงกว่าผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรง ซึ่งหลังมีเพศสัมพันธ์จะต้องรอประจำเดือนที่มีลักษณะปกติมาในรอบถัดไปเสียก่อน 

หากมาไม่ปกติ มากะปริบกะปรอย หรือเลยเวลาไปมาก ก็ควรรับการตรวจตั้งครรภ์ที่ให้ผลถูกต้อง และแม่นยำ จากการตรวจปัสสาวะ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ได้

ข้อควรปฏิบัติสำหรับการมีเพศสัมพันธ์แบบปลอดภัย

การมีเพศสัมพันธ์ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น หรือกรณีที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร จะต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีดังต่อไปนี้

การใช้ถุงยางอนามัย 

เป็นวิธีที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุด เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและสามารถคุมกำเนิดได้อย่างแน่นอน อีกทั้งยังช่วยป้องกันการติดต่อหรือแพร่กระจายของโรคทางเพศสัมพันธ์ได้ เช่น โรคหนองในแท้ หนองในเทียม โรคซิฟิลิส และโรคเอดส์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ปัจจุบันห่วงอนามัยคุมกำเนิด (ไอยูดี) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก มักมีรูปตัว T และมักเคลือบด้วยทองแดงหรือฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) ซึ่งใช้โดยการใส่เข้าไปในมดลูก นับเป็นวิธีคุมกำเนิดระยะยาวที่ย้อนกลับได้แบบหนึ่ง 

อัตราการล้มเหลวของห่วงคุมกำเนิดเคลือบทองแดงอยู่ที่ประมาณ 0.8% ส่วนแบบใช้ลีโวนอร์เจสเตรลมีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 0.2% ในการใช้ปีแรก

หลักฐานชี้ว่าห่วงอนามัยปลอดภัยและมีประสิทธิภาพดีเมื่อใช้กับวัยรุ่น และคนที่ไม่เคยมีลูก ห่วงอนามัยไม่ส่งผลกระทบต่อการให้นมลูก และสามารถติดตั้งได้ทันทีหลังให้กำเนิดบุตร 

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้ทันทีหลังทำแท้ง เมื่อถอดออกภาวะเจริญพันธุ์จะกลับมาปกติทันทีแม้จะเคยใช้มาเป็นเวลานาน

แม้ห่วงอนามัยชนิดเคลือบทองแดงอาจส่งผลให้ประจำเดือนมามากและปวดประจำเดือนมากขึ้น แต่ในทางตรงข้ามห่วงอนามัยแบบฮอร์โมนอาจลดประจำเดือน หรือหยุดประจำเดือน 

อาการปวดประจำเดือนสามารถบรรเทาด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ผลกระทบที่อาจตามมาได้แก่ expulsion (2-5%) และมดลูกฉีกขาดที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (น้อยกว่า 0.7%) 

ห่วงอนามัยแบบเก่าที่ชื่อ Dalkon shield ถูกพบว่า เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease) อย่างไรก็ตาม ห่วงอนามัยรุ่นปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงนี้ หากผู้ใช้ไม่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตอนช่วงเวลาติดตั้ง

ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือ ควรทำหมัน ในกรณีที่มีบุตรพอเพียงแล้ว

การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน 

มีหลายแบบ เช่น ยาเม็ด ยาฝังใต้ผิวหนัง ยาฉีด ยาแปะ ห่วงอนามัย และวงแหวนช่องคลอด วิธีเหล่านี้ใช้ได้กับผู้หญิงเท่านั้น 

ยาเม็ดคุมกำเนิดมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบฮอร์โมนรวม ซึ่งมีทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสติน และแบบที่มีแค่โปรเจสตินอย่างเดียว ยาทั้ง 2 ชนิดไม่มีผลต่อทารกในครรภ์หากรับประทานขณะตั้งครรภ์ และสามารถป้องกันการปฏิสนธิโดยยับยั้งการตกไข่และเพิ่มความข้นของมูกช่องคลอดเป็นหลัก 

ประสิทธิภาพของยาขึ้นอยู่กับการที่ผู้ใช้รับประทานยาอย่างตรงเวลา โดยยาอาจส่งผลต่อเยื่อบุโพรงมดลูกทำให้ตัวอ่อนฝังตัวยากขึ้น

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของภาวะอุดตันของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงเล็กน้อย เพราะเหตุนี้จึงไม่แนะนำให้ผู้หญิงอายุมากกว่า 35 ปีที่สูบบุหรี่รับประทานยาคุมกำเนิด

ยาอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการทางเพศต่างกันในแต่ละคน โดยอาจเพิ่ม หรือลด ทว่าส่วนใหญ่ไม่มีความเปลี่ยนแปลง ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมลดความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่และมะเร็งเยื่อบุมดลูก และไม่เพิ่ม หรือลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม 

ยามักลดปริมาณประจำเดือนและลดอาการปวดประจำเดือน วงแหวนช่องคลอดปล่อยเอสโตรเจนในระดับต่ำกว่าจึงอาจลดโอกาสของการเจ็บเต้านม คลื่นไส้ และปวดศีรษะได้

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดียว (โปรเจสติน) ยาคุมกำเนิดแบบฉีด และห่วงอนามัยคุมกำเนิดไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงของภาวะอุดตันของหลอดเลือด และผู้หญิงที่มีภาวะหลอดเลือดดำอุดตันสามารถใช้ได้ 

ส่วนผู้มีประวัติหลอดเลือดแดงอุดตัน ควรใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดียวแบบใดก็ได้นอกจากแบบฉีด ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดียวอาจลดอาการประจำเดือน ส่วนผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตรสามารถรับประทานยาคุมชนิดนี้ได้ เนื่องจากไม่ส่งผลต่อการผลิตน้ำนม 

วิธีคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเดียวอาจส่งผลต่อประจำเดือน โดยผู้ใช้บางคนอาจไม่มีประจำเดือนเลย อัตราการล้มเหลวในปีแรกเมื่อใช้อย่างถูกต้องของโปรเจสตินแบบฉีดอยู่ที่ 0.2% และอยู่ที่ 6% ในการใช้แบบทั่วไป

การรับประทานยาคุมฉุกเฉิน 

กรณีที่มีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม หลังมีเพศสัมพันธ์ควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง หรือถ้าจะให้ผลดี คือ ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการมีเพศสัมพันธ์ จะสามารถคุมกำเนิดได้ 85–88%

แต่ไม่ควรใช้วิธีนี้เป็นประจำ เนื่องจากมีผลต่อสุขภาพมดลูก และระบบการสืบพันธุ์ในระยะยาว

หยุดพฤติกรรมเสี่ยง

หากไม่ต้องการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ จะต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์แบบหลั่งใน จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

สิ่งที่ควรรู้คือ ในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์นั้น การสอดใส่อวัยวะเพศชายโดยไม่สวมถุงยางอนามัยอาจมีเชื้ออสุจิปนมากับน้ำเมือกแล้วบางส่วน อีกทั้งขณะใกล้ถึงจุดสุดยอด ฝ่ายชายจะมีโอกาสถอนอวัยวะเพศออกไม่ทันสูง 

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะนอกจากจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
World Health Organization (WHO), Family planning (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/family-planning-contraception), 4 May 2020.
Julie MarksArie Parnham and Ege Can Serefoglu, Retrograde ejaculation, painful ejaculation and hematospermia (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5002007) , 27 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)