กาเฟอีน

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับกาเฟอีน รู้หรือไม่ว่าการรับประทานกาเฟอีนนั้นส่งผลต่อร่างกายคุณมากกว่าที่คุณคิด
เผยแพร่ครั้งแรก 13 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กาเฟอีน

ไม่มีข้อโต้แย้งแต่อย่างใดว่ากาเฟอีนจัดเป็นยาที่ทรงพลัง ใช่แล้วครับ ยา ในแต่ละวันคุณอาจไม่ได้เพียงแต่ชื่นชอบในรสของกาแฟ หรือน้ำอัดลม แต่คุณกําลังเสพติดมัน

กาเฟอีนออกฤทธิ์อย่างไร?

กาเฟอีนออกฤทธิ์โดยตรงที่ระบบประสาทส่วนกลาง มันออกฤทธิ์อย่าง รวดเร็ว โดยทําให้ความคิดอ่านกระจ่างขึ้น และลดอาการอ่อนล้าลง ทั้งยัง กระตุ้นตับให้ปล่อยน้ำตาลที่เก็บสะสมออกมา ส่งผลให้เกิดอาการ “อารมณ์ดี” หลังจากดื่มกาแฟ น้ำอัดลม หรือรับประทานช็อกโกแลต (แหล่งกาเฟอีนระดับพี่เบิ้มทั้งสาม) แต่ข้อดีเหล่านี้อาจเทียบไม่ได้กับผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดขึ้น

  • น้ำตาลที่ถูกปล่อยออกมา ส่งผลให้ระบบต่อมไร้ท่อต้องทํางานหนัก (ท้ายที่สุดแล้ว ต่อมหมวกไตอาจเกิดอาการล้า ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้)
  • ผู้ที่ดื่มกาแฟจัดมีอาการวิตกกังวลหรือลุกลี้ลุกลนได้
  • การดื่มต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ทําให้เราสะสมกาเฟอีนเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่รู้ตัว และร่างกายไม่สามารถกําจัดออกโดยง่าย
  • พบว่าแม่บ้านที่ดื่มกาแฟเป็นประจํา แสดงอาการแบบเดียวกับผู้ติด ยาเสพติด เมื่อต้องเปลี่ยนมาดื่มกาแฟที่ไม่มีกาเฟอีน
  • นายแพทย์จอห์น มินทัน ศาสตราจารย์ด้านศัลยกรรมจากมหาวิทยาลัย โอไฮโอ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็ง พบว่า การรับประทานสาร เมทิลแซนทินมากเกินไป (สารเคมีในกาเฟอีน) ทําให้เกิดเนื้องอกที่เต้านม และก่อให้เกิดปัญหากับต่อมลูกหมากได้
  • กาเฟอีนทําให้ร่างกายต้องสูญเสียวิตามินบี โดยเฉพาะอินอซิทอล เช่นเดียวกับวิตามินซี สังกะสี โพแทสเซียม และแร่ธาตุอื่นๆ
  • กาแฟเพิ่มความเป็นกรดในระบบทางเดินอาหาร และทําให้เกิดอาการ คันบริเวณทวารหนักได้
  • แพทย์หลายท่านมีความเห็นว่า กาเฟอีนอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ความดันโลหิตสูงและหัวใจได้
  • วารสารทางการแพทย์ของอังกฤษ Lancet รายงานว่า การบริโภคกาแฟมีความสัมพันธ์ค่อนข้างชัดเจนกับการเกิดมะเร็งของกระเพาะปัสสาวะ และระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
  • ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละห้าถ้วย มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มถึงร้อยละ 50
  • ในวารสาร Journal of the American Medical Association มีรายงานถึงโรคที่มีชื่อเรียกว่า โรคพิษกาเฟอีน (caffeinism) ซึ่งมีอาการ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หงุดหงิด นอนไม่หลับ รู้สึกวูบวาบ หนาวสั่น และอาจมีไข้ต่ำๆร่วมด้วย
  • พบว่ากาเฟอีนมีผลต่อการแบ่งตัวของดีเอ็นเอ
  • ศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ของสาธารณะแนะนําให้ หญิงมีครรภ์หลีกเลี่ยงกาเฟอื่น เนื่องจากมีการศึกษาพบว่า การรับประทาน กาเฟอีนในขนาดประมาณกาแฟวันละ 4 ถ้วย ก่อให้เกิดภาวะพิการแต่กําเนิดในสัตว์ทดลองได้
  • กาเฟอีนในปริมาณสูงทําให้สัตว์ทดลองชักและเสียชีวิตได้
  • กาเฟอื่นสามารถเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตให้ขึ้นสูง จนถึงเกณฑ์อันตรายได้ หากรับประทานร่วมกับยาลดน้ำมูก หรือยาขยายหลอดลม เช่น ยาพ่นหลอดลม โพรเวนทิล เวนโทลิน บรองเคด และไพรมาทีน
  • กาเฟอีนที่มากเกินไปเป็นพิษได้ (ปริมาณประมาณ 10 กรัม ทําให้ถึงแก่ชีวิตได้) มีงานวิจัยใหม่พบว่า การบริโภคกาแฟหนึ่งควอร์ตในสามชั่วโมง ทําลายไทอะมีนในร่างกายได้เป็นปริมาณมาก

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Caffeine: Benefits, risks, and effects. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/285194)
What is Caffeine, and is it Good or Bad For Health?. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/what-is-caffeine)
Caffeine. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/caffeine.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป