กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ข้อควรรู้ก่อนใช้...ยาแก้ปวดฟันเม็ดสีชมพู

ไขข้อสงสัย ยาแก้ปวดฟันเม็ดสีชมพูคือยาอะไร ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 1 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ข้อควรรู้ก่อนใช้...ยาแก้ปวดฟันเม็ดสีชมพู

เมื่อมีอาการปวดฟัน ไม่ว่าจะเกิดจาก รักษารากฟัน ผ่าฟันคุด หรือฟันผุ แพทย์มักจ่ายยาแก้ปวดฟันเม็ดสีชมพูให้ ฃทำให้หลายคนเข้าใจว่ายาชนิดนี้เป็นพาราเซตามอลชนิดหนึ่ง 

แต่เมื่อไปซื้อตามร้านขายยากลับไม่ได้ตามที่ต้องการ เพราะจริงๆ แล้วยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดฟันเม็ดสีชมพู คือยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ซึ่งถ้าหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดความผิดปกติในกระเพาะอาหารได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ขนาดยาไอบูโพรเฟนที่มีวางจำหน่าย

ยาไอบูโพรเฟนที่วางจำหน่ายทั่วไปมี 2 ขนาด ดังนี้

  • ขนาด 400 มิลลิกรัม มักใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน อาการปวดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง หรือใช้ลดไข้
  • ขนาด 600 มิลลิกรัม จะมีปริมาณตัวยาสำคัญสูงกว่า ปกติแล้วแพทย์มักจะใช้ไอบูโพรเฟนขนาด 600 มิลลิกรัมนี้เพื่อบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เนื่องจากภาวะดังกล่าวมักมีอาการที่รุนแรงกว่าอาการปวดทั่วไป

ไอบูโพรเฟนไม่ควรกินเกินวันละเท่าไร?

ปริมาณขนาดการใช้ยาสูงสุดในผู้ใหญ่ คือ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน 

หากต้องการใช้ยาไอบูโพรเฟนสำหรับบรรเทาอาการปวดฟัน ควรรับประทานขนาด 200-400 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ถ้าหากอาการปวดยังไม่บรรเทา สามารถเพิ่มขนาดยาเป็น 600 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง

ดังนั้นถ้ารับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 6 เม็ด แต่ถ้ารับประทานขนาด 600 มิลลิกรัม ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 4 เม็ด

ข้อควรระวังในการใช้ยาไอบูโพรเฟน

ในการรักษาอาการปวดฟัน ไม่ควรรับประทานไอบูโพรเฟนต่อเนื่องกันเกิน 7 วัน เนื่องจากยาจะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร หากรับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว อาการปวดฟันหลังทำหัตถการ มักจะหายเป็นปกติโดยใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dentistry Today, Oral Analgesics for acute dental pain (https://www.dentistrytoday.com/pain-management/1566), 20 June 2019.
Drugs.com, Ibuprofen (https://www.drugs.com/ibuprofen.html), 20 June 2019.
MIMS Thailand, Ibuprofen (https://www.mims.com/thailand/drug/info/ibuprofen?mtype=generic), 20 June 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป