การปฏิบัติตัวเมื่อปวดฟัน เพื่อทำให้อาการปวดลดน้อยลง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 16 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

เมื่อเราเกิดปวดฟันขึ้นมามีอาการปวดตุบๆ ปวดแปลบๆ จนรู้สึกทรมานอย่างบอกไม่ถูก ก่อนที่จะพาตนเองไปพบทันตแพทย์นั้น เราควรปฏิบัติตัวเพื่อรักษาอาการในเบื้องต้นกันเสียก่อน อย่างน้อยก็ให้อาการเจ็บปวดลดน้อยถอยลงบ้าง

การปฏิบัติตัวเมื่อปวดฟัน

  1. ให้ประคบน้ำแข็งด้านที่มีอาการปวดฟัน โดยใช้เวลาประมาณ 10 นาที ทุกๆเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งความเย็นจากน้ำแข็งจะช่วยทำให้อาการเจ็บปวดลดลง
  2. เมื่อต้องเข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น ควรมีการปิดปากด้วนผ้าปิดปากหรือปิดด้วนผ้าพันคอ เพื่อเป็นการป้องกันความเย็นที่จะไปเพิ่มอาการปวดให้มากกว่าเดิม
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่เย็นจัด เช่น ไอศกรีม ชา กาแฟ น้ำเย็น เป็นต้น
  4. ทำการนวดตรงบริเวณเหนือจุดที่มีอาการปวดฟัน จะช่วยทำให้อาการปวดลดลง
  5. ใช้ว่านหางจระเข้ ความยาวประมาณ 3 ซม. โดยต้องทำการล้างเมือกยางออกให้หมดเสียก่อน จากนั้นใช้ฟันช่วงที่ปวดขบเอาไว้ เพราะในว่านหางจระเข้มีสารที่สามารถฆ่าเชื้อโรคและทำให้ความเป็นพิษน้อยลง
  6. หลีกเลี่ยงการอุดฟันด้วยยาแอสไพริน เพราะจะยิ่งทำให้เกิดแผลที่บริเวณเหงือกหรือในช่องปากขึ้นได้
  7. ใช้น้ำมันกระเทียมทาบริเวณที่มีอาการปวดฟัน จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
  8. ใช้รากของผักบุ้งนาประมาณ 1 กำมือ มาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำมาผสมกับน้ำส้มสายชู แล้วอมทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที จึงทำการบ้วนทิ้ง
  9. ใช้น้ำมันกานพลูชุบกันกับสำลีแล้วทาบริเวณที่ปวดฟัน เพราะในน้ำมันกานพลูมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดได้ ซึ่งในสมัยโบราณนั้นได้มีการใช้น้ำมันกานพลูเพื่อรักษาการปวดฟันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว

อาการปวดฟันที่มีอาการปวดไม่มากนัก เราสามารถทำการรักษาอาการดังกล่าวให้ทุเลาเบาบางลงไปด้วยตัวของเราเองได้ แต่ถ้าหากอาการปวดฟันนั้นมีอาการปวดอย่างรุนแรงและมีเลือดออกตามมาด้วยอยู่ตลอดเวลา ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องไปพบทันตแพทย์โดยด่วนที่สุด เพราะทางทันตแพทย์จะทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและตรงจุดที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Managing tooth pain in general practice. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6535452/)
9 methods to get rid of toothache at night. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326133)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
จัดการกับอาการปวดคอด้วย Cervical Roll
จัดการกับอาการปวดคอด้วย Cervical Roll

จัดให้คอของคุณอยู่ในท่าที่เหมาะสมขณะหลับ

อ่านเพิ่ม
ข้อควรรู้ก่อนใช้...ยาแก้ปวดฟันเม็ดสีชมพู
ข้อควรรู้ก่อนใช้...ยาแก้ปวดฟันเม็ดสีชมพู

ไขข้อสงสัย ยาแก้ปวดฟันเม็ดสีชมพูคือยาอะไร ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง

อ่านเพิ่ม