การผุกร่อนบนฟันน้ำนม

เตรียมความพร้อมดูแลฟันชุดแรกในชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อเป็นพื้นฐานดูแลฟันแท้ต่อไปในอนาคต
เผยแพร่ครั้งแรก 21 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การผุกร่อนบนฟันน้ำนม

ฟันน้ำนม คือ ฟันชุดแรกของชีวิตมีทั้งหมด 20 ซี่  ฟันน้ำนมซี่แรกจะขึ้นเมื่อมีอายุได้ประมาณ 6 เดือน และทยอยงอกขึ้นมาเรื่อยๆ จนครบ 20 ซี่ ภายในอายุ 2 ปีครึ่ง   อย่างไรก็ดี จริงๆ แล้วร่างกายเริ่มสร้างหน่อฟันน้ำนมขึ้นตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ ช่วงอายุครรภ์เดือนที่ 6 และค่อยๆ เสริมสร้างแคลเซียมและฟอสฟอรัสทำให้มีความแข็งแรงขึ้นจนฟันน้ำนมมีรูปร่างสมบูรณ์พร้อมอวดโฉมเมื่อเด็กอายุได้ 6 เดือนนั่นเอง  อย่างที่บอกว่า ฟันน้ำนมคือฟันชุดแรก ดังนั้นเมื่ออายุราว 6 ปี ฟันน้ำนมก็จะเริ่มปลดระวาง ทยอยหลุดออกไปเพื่อหลีกทางให้ฟันแท้นั่นเอง แต่กว่าที่ฟันน้ำนมจะหลุด เด็กๆ ก็มักประสบปัญหายอดฮิตอย่าง "ฟันผุ" กันถ้วนหน้า 

ฟันน้ำนมไม่ต่างกับฟันแท้ต้องดูแลให้ถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากฟันน้ำนมเป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยพัฒนาการการรับประทานอาหารและการเจริญเติบโตของกรามของเด็กเล็ก และยังช่วยในการออกเสียงให้ชัดเจน ซึ่งการจากไปของฟันน้ำนมก่อนเวลาอันควรจะส่งผลที่ไม่ดีต่อฟันแท้เช่นเดียวกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทำอย่างไร ถ้าไม่อยากให้บุตรหลานของคุณประสบปัญหายอดฮิตอย่างฟันน้ำนมผุบ้าง เรามีคำตอบ 

ปัจจัยที่ทำให้ฟันผุ

หลายคนคงคิดว่า เด็กเล็กๆ จำเป็นต้องไปหาหมอฟันด้วยหรือ ไว้โตกว่านีัก่อนไหมค่อยไป แต่คุณทราบหรือไม่ว่า แนวทางการดูแลทารกแรกเกิดที่เหมาะสมนั้นต้องครอบคลุมไปถึงการดูแลฟันพวกเขา ซึ่งการดูแลสุขภาพฟันของเด็กแรกเกิดจะเริ่มขึ้นทันทีที่ฟันซี่แรกของพวกเขาโผล่ออกมา  มาดูกันว่า ฟันผุเกิดจากอะไรได้บ้าง

  • โครงสร้างฟันไม่สมบูรณ์
  • คลอดก่อนกำหนด
  • แม่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
  • ประวัติทันตกรรมของพ่อแม่
  • วิธีการป้อนอาหารให้เด็กเล็กอย่างผิดวิธี เช่น ให้เด็กเล็กถือขวดนม หรืออาหารไปนอนพร้อมกัน
  • การรับประทานขนมที่มีน้ำตาลมากแล้วไม่แปรงฟัน
  • การแปรงฟันอย่างผิดวิธี หรือแปรงฟันไม่สะอาด

ฟันผุเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ด้วยความที่เคลือบฟันน้ำนมมีความหนาเพียงครึ่งหนึ่งของฟันแท้เท่านั้นจึงผุได้ง่ายมาก นับตั้งแต่เด็กเริ่มมีฟันขึ้นก็เริ่มมีขี้ฟันในช่องปาก หากไม่ได้ทำความสะอาดขี้ฟันก็จะสะสมไปเรื่อยๆ  นอกจากนี้เมื่อเริ่มกินอาหาร  แบคทีเรียในช่องปากจะทำการหมักเศษอาหารที่คงเหลือบนพื้นผิวของฟันให้กลายเป็นกรดซึ่งตัวกรดดังกล่าวจะไปกัดชั้นเคลือบฟันออก ทั้งนี้การรับประทานอาหารหวาน หรืออาหารที่มีความเหนียว การรับประทานขนมบ่อย และอื่น ๆ นั้นจะเร่งปฏิกิริยาดังกล่าว  เมื่อเคลือบฟันถูกทำลายจนหมดมันจะกัดตัวฟันจนทำให้เกิดโพรงบนฟันขึ้นในที่สุด

สัญญาณของอาการฟันผุ

ฟันผุส่วนมากมักจะไม่ก่อความเจ็บปวด แต่สัญญาณแรกคือ เมื่อเช็ดฟันให้แห้งจะพบรอยโรคสีขาวขุ่นเป็นจุดๆ ที่ฟัน หรือหลุมร่องฟัน    ระยะต่อมาฟันจะผุมากขึ้นจนมีโพรงขึ้นมาบนพื้นผิวด้านบนหรือด้านข้างของซี่ฟัน  เด็กจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน ปวดฟันเวลามีเศษอาหารเข้าไปติด หากปล่อยละเลยนานเข้าจะก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในช่องปากของเด็ก  ระยะสุดท้าย เด็กจะมีอาการปวดฟันปวดประสาทฟันจนไม่อยากรับประทานอาหาร เพราะเคี้ยงลำบาก ทำให้เด็กมีโอกาสขาดสารอาหารที่จำเป็นได้   นอกจากฟันผุแล้ว บางรายยังอาจมีเหงือกอักเสบร่วมด้วย 

แนวทางการรักษาฟันน้ำนมผุ

ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการผุกร่อนและระยะเวลาที่คาดการณ์การมีอยู่ของฟันน้ำนม ตามปกติแล้ววิธีการอุดฟันจะมีเพื่อเสริมเติมโครงสร้างของซี่ฟันที่หายไป แต่สำหรับเหตุผลอื่น ๆ นั้นจะมีดังนี้:

  • หากพบฟันผุเร็ว และไม่จำเป็นต้องอุดฟัน ทันตแพทย์จะทำความสะอาดฟันและทำการเคลือบฟลูออไรด์เพื่อยับยั้งการผุ แต่กรณีที่ฟันเกิดเป็นโพรงขึ้นมาแล้วก็จำเป็นต้องอุดฟันด้วยวัสดุที่เหมาะสม หากฟันผุจนโครงสร้างฟันเหลือไม่มาก ทันตแพทย์จะใช้วิธีการครอบฟันแทน
  • หากการติดเชื้อกินไปถึงชั้นเนื้อฟัน หรือไปจนถึงชั้นประสาท ทันตแพทย์จะทำการรักษารากฟันเพื่อป้องกันการสูญเสียฟันก่อน โดยรากฟันที่เสียหายนี้จะไม่แข็งแรงจึงต้องใช้ที่ครอบฟันป้องกันฟันซี่ไว้
  • หากระดับการติดเชื้อรุนแรงมาก และสภาพของฟันไม่ดีแล้ว ต้องถอนฟันออก และจะมีการใช้เครื่องมือป้องกันฟันล้มเพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาอย่างเหมาะสม

จำเป็นต้องได้รับยาชาหรือไม่?

ทันตแพทย์จะทำทุกวิถีทางให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายที่สุดระหว่างการรักษาฟัน ดังนั้นจึงมีการใช้ยาชาในบางกรณีเพื่อให้เด็กไม่เจ็บปวดระหว่างการรักษา หากเด็กยังคงเครียดและกังวลอยู่ บางแห่งจะมีการใช้ไนตรัสออกไซด์ หรือแก๊สหัวเราะกับเด็กช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย   สำหรับเด็กเล็กและเด็กที่ต้องการการดูแลทางสุขภาพเป็นพิเศษจะมีการใช้วิธีกดประสาทแบบที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดและพอเหมาะเพื่อลดความวิตกกังวลและช่วยให้เด็กๆ ให้ร่วมมือมากขึ้น 

การใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วไป (GA) นั้น จะทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแนะนำให้ใช้รองรับสถานการณ์ต่อไปนี้เท่านั้น:

  • เด็กที่มีความกังวลรุนแรง
  • การรักษาฟันที่ยืดเยื้อและมีหลายขั้นตอน
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย/สติปัญญา

คำแนะนำในการป้องกันปัญหาฟันน้ำนมผุ

  • ฝึกไม่ให้เด็กรับประทานขนมหวานจุบจิบ ลูกอม 
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนอกเวลาในช่วงกลางคืน ดังนั้นหลังจากที่แปรงฟันเสร็จแล้ว ให้พาเด็กเข้านอนเลย
  • เมื่อมีอายุ 12 เดือนขึ้นไป ควรเลิกใช้ขวดนมและสอนให้เด็กดื่มนมจากหลอด หรือดื่มจากแก้วน้ำแทน เพื่อป้องกันพฤติกรรมหลับคาขวดนม
  • ฝึกให้รักษาความสะอาดในช่องปากอย่างถูกวิธี การทำความสะอาดช่องปากสามารถทำได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้น เมื่อฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นมาแล้วก็จะต้องแปรงฟันอย่างถูกวิธีด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ด้วยปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย วันละ 2 ครั้ง เวลาเช้า -ก่อนนอน
  • เช็ดปากและฟันของเด็กด้วยผ้านุ่มชุบน้ำอุ่นหมาด ๆ หลังการป้อนอาหารทุกครั้ง
  • พบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือนหลังจากที่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น ทั้งนี้ทันตแพทย์อาจพิจารณาให้ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ โดยขึ้นอยู่กับสภาพช่องปากและวัยของเด็ก

มาสร้างนิสัยการดูแลฟันน้ำนมที่ดีและถูกต้องตั้งแต่วัยเด็กดีกว่า เพราะจะเป็นรากฐานที่ดีของการดูแลฟันแท้ ฟันชุดสุดท้ายของชีวิตต่อไป  ไม่อย่างนั้นหากยังดูแลฟันไม่ถูกวิธีอีก เมื่อฟันแท้โบกมือลาไปวันใด สิ่งที่จะได้กลับมาก็มีแต่ "ช่องว่างของเหงือก" ในปาก และ "ฟันปลอม" ที่ทันตแพทย์ประดิษฐ์ขึ้นเท่านั้น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
กรมอนามัย, คู่มือการดูแลสุขภาพช่องปากแม่และเด็กปฐมวัย (http://dental2.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/ewt_dl_link.php?nid=1599)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำฟันเด็ก วิธีรักษาฟัน การดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็ก
ทำฟันเด็ก วิธีรักษาฟัน การดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็ก

ฟัน อวัยวะสำคัญของร่างกาย เมื่อฟันลูกน้อยเริ่มมีปัญหาจะรักษาอย่างไร พร้อมบอกวิธีดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็กในเบื้องต้น

อ่านเพิ่ม