ลมปราณ พลังชีวิตพิชิตโรคร้าย

รวมความรู้ด้านพลังลมปราณ
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ลมปราณ พลังชีวิตพิชิตโรคร้าย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ลมปราณ คือ พลังงานแฝงที่อยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต เปรียบเสมืองพลังงานซึ่งเมื่อสำแดงให้เกิดรูป หรือพฤติกรรมต่างๆ
  • พลังลมปราณ มีทั้งพลังบวก และพลังลบ ซึ่งพลังบวก จะเป็นพลังด้านดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนพลังลบ เป็นพลังที่เป็นโทษของร่างกายกับจิตใจ
  • ตามตำราจีน พลังลมปราณยังแบ่งเป็นปราณภายใน และปราณภายนอก หรือหากตามตำราโยคะ จะแบ่งพลังงานพลังงานตามแนวกลางร่างกาย เรียกว่า “จักระ” ซึ่งแบ่งเป็น 7 แหล่ง
  • ที่มาของพลังลมปราณในร่างกายแบ่งเป็น 2 แหล่ง คือ พลังงานลมปราณเย็น หรือหยิน ตำแหน่งอยู่เหนือสะดือ 2 นิ้ว และพลังลมปราณร้อน หรือหยาง อยู่บริเวณท้องน้อย
  • การฝึกพลังลมปราณจะอาศัยการทำสมาธิ หรือการเข้าฌาน
  • เปรียบเทียบราคา และแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

เราอาจคุ้นเคยกับคำว่า "ลมปราณ" มาจากหนังจีนกำลังภายใน ที่จอมยุทธ์มักฝึกฝนเพื่อการต่อสู้ หรือรักษาร่างกายจากการบาดเจ็บ แต่จริงๆ แล้ว ลมปราณ เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์การแพทย์ที่ลึกล้ำ ซึ่งเชื่อว่าหากเราฝึกการใช้อย่างถูกวิธี ก็สามารถช่วยรักษาสุขภาพและบำบัดโรคได้

ความหมายของลมปราณ

ปราณ (Prana) คือ พลังงานแฝงที่อยู่ในสิ่งมีชีวิต และวัตถุต่างๆ ตามตำราแพทย์จีนโบราณ และตำราโยคะของอินเดีย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีความเชื่อว่า ปราณ มีความสำคัญเปรียบดังพลังงานของชีวิต ซึ่งเมื่อสำแดงออกมา ก็จะก่อให้เกิดรูป หรือพฤติกรรมต่างๆ ปราณมีการโยกย้ายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือถ่ายเทออกจากร่างกายได้อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งอาจแบ่งได้เป็นพลังบวก และลบ 

พลังบวก หมายถึง เป็นประโยชน์ หรือด้านดี ส่วนพลังลบ หมายถึง พลังที่เป็นโทษต่อร่างกาย และจิตใจ

ตามตำราแพทย์แผนจีน ปราณยังแบ่งออกเป็น "ปราณภายใน" และ "ปราณภายนอก" โดยปราณภายในร่างกายจะมีเส้นทางพลังงานที่แน่นอน เพื่อขับดันอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานอย่างสมดุล ซึ่งเราเรียกว่า จิงลั่ว 

หรือตามวิชาโยคะ จะแบ่งเส้นทางพลังงานตามแนวกลางร่างกาย เรียกว่า "จักระ" โดยจักระทั้ง 7 ที่เป็นแหล่งพลังวัตร หรือแห่งพลังภายในร่างกาย ได้แก่

  • จักระที่ 1 บริเวณก้นกบ เป็นแหล่งพลังที่มีปริมาณมากในช่วงสั้นๆ และจะตื่นขึ้นเป็นบางครั้ง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ถึงจุดสุดยอด การหนาวถึงที่สุด เป็นต้น
  • จักระที่ 2 บริเวณท้องน้อย เป็นแหล่งพลังที่ฝึกให้ตื่นง่าย และนำมาใช้ได้อย่างต่อเนื่อง มักฝึกในการต่อสู้ใช้พลังทางขา
  • จักระที่ 3 บริเวณใต้ลิ้นปี่ เป็นแหล่งพลังศูนย์กลางกาย สำหรับผู้ฝึกธรรมกาย ไม่ค่อยนิยมฝึกเพื่อการต่อสู้
  • จักระที่ 4 บริเวณหัวใจ เป็นแหล่งที่สอดคล้องกับชีพจรทั่วร่าง เกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจ และการส่งพลังทางแขนในการต่อสู้
  • จักระที่ 5 บริเวณลูกกระเดือก เป็นแหล่งพลังสำหรับการออกเสียง ซึ่งหากรวมกับจักระที่ 2 (ท้องน้อย) ได้ จะทำให้เสียงมีพลังก้องกังวานมาก
  • จักระที่ 6 บริเวณตาที่สาม หรือตาทิพย์ เชื่อว่าเป็นศูนย์รวมการรับรู้ สติปัญญา หรือการหยั่งรู้ที่เหนือปกติ
  • จักระที่ 7 บริเวณกระหม่อม เป็นแหล่งรับพลังจากภายนอก หรือเชื่อว่าองค์เทพที่ประทับจะมอบพลังให้ผ่านจักระนี้

นอกจากปราณภายในแล้ว ยังมีปราณภายนอก หรือพลังงานจากวัตถุต่างๆ เช่น ปราณฟ้า-ดิน ปราณหยิน-หยาง ปราณจักรวาล ปราณอาทิตย์-จันทร์ ซึ่งปราณภายใน และภายนอกจะต้องมีความสัมพันธ์กัน 

หากสามารถฝึกลมปราณถึงขั้นสูงสุด ปราณภายใน กับภายนอกจะประสาน และหลอมรวมสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียว กล่าวกันว่า ทวารทั้งหมด และจิตใจเราจะเปิดออก ทำให้ปราณสามารถถ่ายเทหมุนเวียนจากภายใน และภายนอกได้อย่างสมดุล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การฝึกลมปราณเบื้องต้นเพื่อสุขภาพ

การฝึกลมปราณนั้นมีอยู่หลายตำรา และการฝึกควบคุมพลังแต่ละส่วนก็มีความละเอียดซับซ้อน ในที่นี้เราจึงจะพูดถึงเฉพาะการฝึกเบื้องต้นที่ทำได้ง่าย เพื่อปรับสมดุลธาตุในร่างกายไม่ให้ปั่นป่วน และควบคุมจิตให้สงบ และเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นนั่นเอง

หลักของการฝึกลมปราณเพื่อสุขภาพ จะแบ่งที่มาของพลังลมปราณเป็น 2 แหล่ง ได้แก่ 

  • พลังลมปราณเย็น ซึ่งมาจากตำแหน่งหยิน หรือตำแหน่งที่อยู่เหนือสะดือขึ้นไป 2 นิ้ว เป็นพลังเหนี่ยวนำที่เกิดจากการฝึกจิต สมาธิ หรือการเพ่งไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 
  • พลังลมปราณร้อน ซึ่งมาจากตำแหน่งหยาง หรือบริเวณท้องน้อย เป็นพลังซ่อนเร้นที่บ้าคลั่ง กราดเกรี้ยว และไม่อาจควบคุมได้ หรือก็คือ พลังที่เราใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปนั่นเอง 

หากเราฝึกพลังลมปราณเย็น หรือหยิน จนชำนาญ เราจะสามารถควบคุมพลังลมปราณร้อน หรือหยาง ให้สงบได้ ทำให้ร่างกาย และจิตใจเราเกิดสมดุล ส่งผลให้สุขภาพเราแข็งแรงขึ้นนั่นเอง 

การฝึกควบคุมลมปราณ จะอาศัย "ฌาน" หรือสมาธิ ด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

  • ให้นั่งขัดสมาธิ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน และหลับตาลงเบาๆ
  • หายใจเข้าออกตามการปฏิบัติอานาปานสติ คือให้กำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้าและออก
  • เมื่อจิตเป็นสมาธิ ให้ขมิบรูทวาร และหายใจเข้าให้เต็มปอด จนกลั้นไม่ไหวจึงค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออก ทำต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง
  • ให้กำหนดเป็นนิมิตกลมสว่างขึ้นที่ท้องน้อย
  • เมื่อหายใจเข้า ให้กำหนดว่า ลมหายใจเข้าสู่จมูก ผ่านอก ลงไปยังศูนย์กลางกาย พร้อมกับนิมิตกลมสว่าง (ปราณ) ก็เคลื่อนจากท้องน้อยขึ้นมายังศูนย์กลางกายเช่นกัน
  • เมื่อหายใจออก ให้กำหนดว่า ลมหายใจเคลื่อนผ่านอก ออกไปทางจมูก พร้อมกับนิมิตกลมสว่าง (ปราณ) เคลื่อนจากศูนย์กลางกายกลับไปยังท้องน้อย

เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ จนชำนาญ กลุ่มปราณจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และสามารถควบคุมทิศทางของปราณได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การฝึกลมปราณไม่ได้สำเร็จในวันเดียว แต่ต้องอาศัยความสม่ำเสมอและความตั้งใจ และหากต้องการมีสุขภาพดี ก็ไม่ควรละเลยการดูแลรักษาสุขภาพตามปกติด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Torgutalp, Ş. Şeyma. (2018). Effects of Yoga Principles (Asana, Pranayama and Meditation) on Brain Waves. Turkish Journal of Sports Medicine. 53. 10.5152/tjsm.2018.095. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/324453228_Effects_of_Yoga_Principles_Asana_Pranayama_and_Meditation_on_Brain_Waves)
Ankad, Roopa & Herur, Anita & Patil, Shailaja & Shashikala, G.V. & Chinagudi, Surekharani. (2011). Effect of Short-Term Pranayama and Meditation on Cardiovascular Functions in Healthy Individuals. Heart views : the official journal of the Gulf Heart Association. 12. 58-62. 10.4103/1995-705X.86016. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/51830831_Effect_of_Short-Term_Pranayama_and_Meditation_on_Cardiovascular_Functions_in_Healthy_Individuals)
A, Vijay & Gudge, Sachin & Patil, Mahesh & Mudbi, Satish & Patil, Siddeshwar. (2014). EFFECTS OF PRACTICE OF PRANAYAMA ON CONTROL OF LIFE STYLE DISORDERS. Journal of Evolution of Medical and Dental Sciences. 3. 8712-8718. 10.14260/jemds/2014/3111. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/273292173_EFFECTS_OF_PRACTICE_OF_PRANAYAMA_ON_CONTROL_OF_LIFE_STYLE_DISORDERS)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ปวดท้องน้อยเกิดจากอะไร
ปวดท้องน้อยเกิดจากอะไร

รวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดท้องน้อย เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่ม