บาดทะยัก โรคนี้น่ากลัวแค่ไหน?

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
บาดทะยัก โรคนี้น่ากลัวแค่ไหน?

สมัยเด็กๆ คงเคยถูกสอนกันมาบ้างใช่ไหมว่า “ระวังอย่าให้โดนตะปูแทง เดี๋ยวจะติดบาดทะยักเอานะ!” แถมวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ก็เป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยต้องผ่านการฉีดกันมาแล้วทั้งนั้น สงสัยกันไหมว่า โรคบาดทะยักเป็นยังไง และน่ากลัวแค่ไหน...

แท้จริงแล้ว บาดทะยัก (Tetanus) เป็นโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ร้ายแรง และอันตรายถึงชีวิต เมื่อเชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงหลายอย่าง เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

  • กล้ามเนื้อหดและชักเกร็งทั่วร่างกาย และรู้สึกเจ็บปวดทรมาน
  • ขากรรไกรหดเกร็ง ทำให้อ้าปากไม่ได้
  • กล้ามเนื้อที่คอหดเกร็ง จนหายใจและกลืนอาหารลำบาก
  • ร่างกายกระตุก และไวต่อการสัมผัส รวมทั้งเมื่อมีอะไรสัมผัสถูกเล็กน้อยจะรู้สึกเจ็บปวด
  • อาจมีไข้สูง เหงื่อออกมาก
  • ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว

โดยอาการเหล่านี้จะเริ่มปรากฏเมื่อได้รับเชื้อภายใน 10-14 วัน ซึ่งบางคนอาจช้าหรือเร็วกว่านั้น และหากรักษาไม่ทัน อาจทำให้หายใจไม่ออก หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้ ในบางรายอาจมีกล้ามเนื้อหดเกร็งเฉพาะบริเวณที่เกิดแผล ซึ่งถือเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงนัก อีกกรณีหนึ่ง คือเกิดการติดเชื้อบริเวณศีรษะและเชื้อลุกลามถึงสมอง จะมีอาการหดเกร็งเฉพาะส่วนศีรษะ ซึ่งพบได้น้อย แต่มีความรุนแรงมาก

สาเหตุของบาดทะยัก

แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคบาดทะยัก คือ Clostridium tetani ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งภายในและนอกร่างกาย สปอร์ของเชื้อจะปะปนอยู่ตามดิน ทราย และสิ่งสกปรกต่างๆ หากได้รับสปอร์เข้าไป เชื้อจะเจริญและแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในร่างกายจนสามารถก่อโรคได้ เชื้อ Clostridium tetani จะผลิตสารที่ชื่อว่า Tetanospasmin ซึ่งส่งผลให้เส้นประสาทในกล้ามเนื้อเสียหาย กล้ามเนื้อจึงเสียการควบคุม และเกิดอาการชักเกร็ง

เชื้อบาดทะยักสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางบาดแผล ยกตัวอย่างเช่น

  • แผลจากของมีคมบาด
  • แผลที่ถูกของแหลม อย่างตะปูหรือเข็มทิ่มแทง
  • แผลที่ถูกสัตว์กัดหรือข่วน เช่น แมวและสุนัข
  • แผลติดเชื้อจากการผ่าตัด
  • แผลติดเชื้อในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • แผลในช่องปากที่เกิดการติดเชื้อ
  • แผลไฟไหม้

การรักษาบาดทะยัก

หากเริ่มรู้สึกว่ามีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อหลังจากมีบาดแผล และสงสัยว่าอาจเป็นอาการของบาดทะยัก ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน โดยแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • ให้ Tetanus immunoglobulin เพื่อยับยั้งการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้น
  • ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อ
  • ตัดส่วนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วบนบาดแผลออก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลุกลาม
  • ให้ยาคลายกล้ามเนื้อและยากลุ่มระงับประสาท เพื่อลดอาการหดเกร็งและความเจ็บปวด
  • หากผู้ป่วยหายใจลำบาก อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจด้วย

การป้องกันบาดทะยัก

  • วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ซึ่งโดยทั่วไปเด็กไทยจะได้รับการฉีดพร้อมกับวัคซีนอื่นๆ อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกๆ 10 ปี หรือเมื่อเกิดบาดแผลสกปรก
  • ระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผลลึก รอยขีดข่วน หรือแผลถลอก หากเกิดแผลต้องล้างแผลและทำแผลให้สะอาด เพื่อไม่ให้สัมผัสกับเชื้อโรค
  • หากเกิดบาดแผลลึกควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำความสะอาดแผลและฉีด Tetanus immunoglobulin ให้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อบาดทะยักโดยเฉพาะ

แม้บาดทะยักจะเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่เกินที่เราจะรับมือได้ ดังนั้น การป้องกันโรคอย่างถูกต้องและรักษาให้ทันท่วงที เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงจากโรคได้

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนบาดทะยักคืออะไร จำเป็นต้องฉีดไหม ใครควรฉีดบ้าง ราคาเท่าไร?


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
บาดทะยัก สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน และวิธีการดูแลตนเอง
บาดทะยัก สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน และวิธีการดูแลตนเอง

โรคติดเชื้ออันตรายที่หากรักษาไม่ทัน อาจทำลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อจนเสียชีวิต

อ่านเพิ่ม