กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ขณะตั้งครรภ์มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีอย่างไรจึงจะปลอดภัย?

เผยแพร่ครั้งแรก 10 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ขณะตั้งครรภ์มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีอย่างไรจึงจะปลอดภัย?

บางคู่พบว่าตัวเองรู้สึกเพลิดเพลินกับการมีเซ็กส์ระหว่างตั้งครรภ์มาก ในขณะที่บางคู่รู้สึกไม่อยากมี แต่อย่างไรก็ตาม คุณพ่อและคุณแม่ยังสามารถหาวิธีอื่นๆ มอบความรักให้กันและกัน โดยสิ่งสำคัญที่สุดก็คือการพูดคุยเปิดอก และบอกความต้องการของกันและกันให้อีกฝ่ายได้รู้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การมีเซ็กส์ขณะตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ปลอดภัย องคชาตของผู้ชายไม่สามารถรุกล้ำเข้าไปไกลกว่าช่องคลอด และเด็กในท้องก็ยังไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการทางเพศอาจมีความเปลี่ยนแปลงในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เป็นเรื่องปกติ

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ระยะหนึ่ง การไปถึงจุดสุดยอดระหว่างมีเซ็กส์สามารถทำให้เกิดการหดตัวที่เรียกว่า แบรกซ์ตันฮิกส์คอนแทรกชันส์ (Braxton Hicks Contractions) หรืออาการเจ็บครรภ์หลอกได้ ภาวะดังกล่าว คุณแม่จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อมดลูกเกร็งตัว ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องปกติ หากรู้สึกไม่สบายตัว ให้พยายามใช้เทคนิคผ่อนคลาย หรือนอนเงียบๆ จนกว่าการหดตัวจะหยุด

หากไม่แน่ใจว่าอาการบางอย่างที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอาการปกติหรือสัญญาณบอกเหตุอะไร ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

ท่าร่วมรักที่ดีและแย่ในระหว่างตั้งครรภ์

แม้ว่าเซ็กส์เป็นกิจกรรมที่ปลอดภัยสำหรับคู่รักส่วนใหญ่ แต่คุณอาจต้องเลือกใช้ท่าที่แตกต่างไปจากช่วงเวลาปกติ ซึ่งนี่ถือเป็นช่วงเวลาอันดีที่คุณจะได้สำรวจร่างกายและหาประสบการณ์ใหม่ๆ ร่วมกัน การมีเซ็กส์โดยใช้ท่าผู้หญิงอยู่ด้านบนอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวได้ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ หรืออาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก นอกจากนี้ยังเป็นท่าที่ทำให้ฝ่ายชายรุกล้ำลึกเกินไปได้ ดังนั้น การนอนตะแคงข้าง ไม่ว่าจะหันหน้าเข้าหากัน หรือให้ฝ่ายชายอยู่ด้านหลัง จึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

กรณีที่ควรหยุด และหลีกเลี่ยงการมีเซ็กซ์

แพทย์อาจแนะนำให้คุณเลี่ยงการมีเซ็กส์ หากคุณแม่มีเลือดออกมาก เพราะการมีเซ็กส์อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดไหลออกมามากขึ้น หากรกเกาะต่ำหรือมีเลือดออกในเนื้อเยื่อ นอกจากนี้แพทย์ยังอาจแนะนำให้คุณงดมีเซ็กส์หากน้ำคร่ำแตก เพราะมันสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการติดเชื้อ


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sex in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/sex-in-pregnancy/)
Sex during pregnancy: Safety, effects, and information. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321648)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม