กรดแอมิโนมหัศจรรย์ตัวอื่นๆ

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
กรดแอมิโนมหัศจรรย์ตัวอื่นๆ

กรดแอมิโนสำคัญ ได้แก่

กลูตามีนและกรดกลูตามิก

กรดกลูตามิกทำงานหลักเป็นเชื้อเพลิงให้แก่สมอง มีความสามารถในการจัดการกับแอมโมเนียส่วนเกิน ซึ่งจะยับยั้งการทำงานขั้นสูงของสมอง อีกทั้งเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นกลูตามีน เนื่องจากกลูตามีนทำให้ระดับของกรดกลูตามิกสูงขึ้นได้มาก หากเรารับประทานกลูตามีนในอาหารน้อย จะส่งผลให้สมองขาดกรดกลูตามิกได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลูตามีนเป็นส่วนหนึ่งของกลูตาไทโอน สารต้านอนุมูลอิสระหลักในร่างกาย ซึ่งพบได้ในเกือบทุกเซลล์ของร่างกาย ดังนั้น หากคุณขาดกลูตามีน คุณก็ย่อมจะขาดกลูตาไทโอนด้วย และกลูตามีนยังสามารถช่วยเพิ่มระดับของโกร๊ธฮอร์โมนได้อีกด้วย

นอกจากจะช่วยให้ฉลาดขึ้น (เพิ่มไอคิวได้ แม้แต่ในเด็กที่มีปัญหาทางสติปัญญา) กลูตามีนยังช่วยในการควบคุมโรคติดสุราเรื้อรัง ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ซึมเศร้า และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยเหยื่อไฟไหม้ให้แผลหายเร็วขึ้น และอาจมีส่วนช่วยป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบในผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง และเมื่อไม่นานมานี้ กลูตามีนยังประสบความสำเร็จในการใช้รักษาโรคจิตเภทและอาการที่เกี่ยวเนื่องกับความชรา รวมทั้งยังช่วยย่นระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาล และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกได้อีกด้วย ยังเป็นที่รู้กันดีว่า กลูตามีนช่วยสร้างกล้ามเนื้อในคนแข็งแรงที่ออกกำลังกายด้วย

แอล-กลูตามีน (รูปธรรมชาติของกลูตามีน) มีจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแคปซูลขนาด 500 มก. ผมแนะนำให้รับประทานขนาด 500 มก. สามเวลา ครึ่งชั่วโมงก่อนอาหาร หรือสองชั่วโมงหลังอาหาร (ผมแนะนำให้เริ่มต้นที่ 500-1,000 มก. ใน 2-3 สัปดาห์แรก และค่อยๆ เพิ่มเป็น 1,500 มก. ในระยะเวลาประมาณหนึ่งเดือน)

ข้อควรระวัง ถึงแม้ว่ากลูตามีนและกรดกลูตามิกจะไม่เหมือนกับโมโนโซเดียมกลูตาเมต (MSG หรือผงชูรส) แต่ผู้ที่มีอาการแพ้ผงชูรสอาจมีอาการแพ้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในกลุ่มนี้ได้ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มรับประทาน

กรดแอสพาร์ติก

กรดแอสพาร์ติกช่วยในการขับแอมโมเนียซึ่งเป็นสารอันตรายออกจากร่างกาย (เมื่อแอมโมเนียเข้าสู่กระแสเลือด มันจะกลายเป็นสารที่มีพิษสูง) การที่แอสพาร์ติกช่วยขับแอมโมเนีย ถือเป็นการช่วยปกป้องระบบประสาทส่วนกลาง งานวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่า แอสพาร์ติกอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความทนทานต่อความอ่อนล้า เมื่อนักกีฬาได้รับเกลือแอสพาร์ติก จะมีความแข็งแรง และแรงอึดมากขึ้น

กรดแอล-แอสพาร์ติก (รูปธรรมชาติของกรดแอสพาร์ติก) มีจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปเม็ดขนาด 250 และ 500 มก. ขนาดที่รับประทานโดยทั่วไปคือ 500 มก. วันละ 1-3 เวลา พร้อมน้ำผลไม้หรือน้ำเปล่า (ไม่รับประทานร่วมกับโปรตีนอื่น)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ซิสทีนและซิสเทอีน

ซิสทีนเป็นรูปที่เสถียรของซิสเทอีน ซึ่งเป็นกรดแอมิโนที่มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ (และเป็นสารอาหารต่อต้านการชะลอวัยที่สำคัญตัวหนึ่ง) ร่างกายสามารถเปลี่ยนทั้งสองรูปกลับไปมาได้ในยามจำเป็น และทั้งสองรูปถือเป็นกรดแอมิโนเดี่ยวในกระบวนการเผาผลาญอาหาร เมื่อซิสทีนถูกเผาผลาญแล้ว จะได้ผลลัพธ์เป็นกรดซัลฟูริก ซึ่งไปทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ ช่วยในการขับสารพิษออกจากระบบต่างๆ ในร่างกาย

พบว่ากรดแอมิโนที่มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะซิสทีนและเมไทโอนีน ช่วยป้องกันอาการเป็นพิษจากทองแดงหรือคอปเปอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (การที่มีทองแดงสะสมในร่างกายมากเกินไป เป็นสัญญาณบ่งชี้ของโรควิลสัน) ซิสทีนและซิสเทอีนยังช่วย “ขัดขวาง” และปกป้องร่างกายของเราจากโลหะหนักที่เป็นอันตราย และอนุมูลอิสระที่พร้อมจะทำลายล้าง ซึ่งเกิดจากการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ซิสทีนเสริมอาหาร (แอล-ซิสทีน) รับประทานร่วมกับวิตามินซี (ปริมาณของวิตามินซีเป็นสามเท่าของซิสทีน) เป็นสูตรที่แนะนำสำหรับสิงห์อมควันและเหล่าคอทอแดง (ไม่ควรรับประทานขณะท้องว่าง) งานวิจัยใหม่ๆ ยังพบอีกว่า ซิสเทอีนในขนาดที่ใช้ในการรักษาโรคช่วยป้องกันอันตรายจากเอกซเรย์และนิวเคียร์ได้ดีในระดับหนึ่ง

ข้อควรระวัง: ไม่แนะนำให้ผู้ที่เป็นเบาหวานรับประทานซิสทีน ซิสเทอีน วิตามินซี และวิตามินบี 1 ในปริมาณมาก และควรรับประทานภายใต้การดูแลจากแพทย์เท่านั้น (การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้ร่วมกัน อาจลดประสิทธิภาพของอินซูลินได้)

เมไทโอนีน

กรดแอมิโนจำเป็นที่ช่วยในการย่อยสลายไขมัน เทไทโอนีนจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง เช่นเดียวกับซิสทีน เป็นกรดแอมิโนที่มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ ช่วยปกป้องร่างกายจากสารพิษและอนุมูลอิสระที่พร้อมจะทำลายล้าง เมไทโอนีนช่วยรักษาอาการของผู้ป่วยโรคจิตเภทบางราย โดยช่วยลดระดับของสารฮิสตามีนในเลือด ซึ่งสารฮิสตามีนนี้อาจเป็นตัวการที่ทำให้สมองส่งผ่านข้อความที่ผิดไปจากความเป็นจริง พบว่าเมื่อรับประทานเมไทโอนีนร่วมกับโคลีนและกรดโฟลิก จะช่วยป้องกันเนื้องอกบางชนิดได้ นอกจากนี้เมไทโอนีนยังมีประโยชน์ต่อผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด เพราะช่วยเพิ่มการขับเอสโทรเจนส่วนเกินออกจากร่างกายได้

หากร่างกายขาดเมไทโอนีนอาจทำให้ประสิทธิภาพในการขับปัสสาวะลดลง ส่งผลให้ตัวบวมได้ (บวมเนื่องจากมีน้ำคั่งในเนื้อเยื่อ) และอาจส่งผลให้ติดเชื้อต่างๆ ง่ายขึ้น ภาวะขาดเมไทโอนีนยังเกี่ยวข้องกับการสะสมคอเลสเตอรอล ภาวะผนังเส้นเลือดแดงแข็ง และผมร่วงในสัตว์ทอฃดลอง

ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เมไทโอนีนเองได้ ต้องรับจากอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แหล่งอาหารที่มีกรดแอมิโนตัวนี้มากได้แก่ ถั่ว ปลา ไข่ กระเทียม ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ หัวหอม เมล็ดธัญพืชต่างๆ และโยเกิร์ต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ไกลซีน

ไกลซีนได้รับสมญานามว่าเป็นกรดแอมิโนที่เรียบง่ายที่สุด (เนื่องจากมีโครงสร้างทางเคมีที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน) พบว่าไกลซีนมีประโยชน์ต่อสุขภาพที่โดดเด่นหลายประการ ไกลซีนให้ผลดีในการรักษาภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อย และเนื่องจากไกลซีนช่วยเพิ่มครีเอทีนีนให้แก่ร่างกาย (ครีเอทีนีนเป็นสารที่สำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ) มันจึงใช้ได้ผลในการรักษาโรคกล้ามเนื้อฝ่อลีบ อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ หากร่างกายได้รับกรดแอมิโนชนิดนี้มากเกินไป จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียได้ แต่หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม จะรู้สึกสดชื่อ มีพลังงาน

ไกลซีนมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง จึงถูกนำไปใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าแบบคลุ้มคลั่งและอาการไฮเปอร์ และยังอาจช่วยป้องกันอาการของโรคลมชักได้ด้วย

ปัจจุบันแพทย์ที่มีความรู้ด้านโภชนาการหลายท่านใช้ไกลซีนในการรักษาภาวะน้ำตาลต่ำ (ไกลซีนกระตุ้นการหลั่งของกลูคากอน ซึ่งย่อยสลายไกลโคเจนเปลี่ยนรูปเป็นน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด)

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการใช้ไกลซีนในการรักษาภาวะกรดในกระเพาะมากเกินไปอย่างได้ผล (จึงถูกรวมอยู่ในยาลดกรดหลายชนิด) ทั้งยังใช้ในการรักษาภาวะเลือดเป็นกรดบางกรณี โดยเฉพาะในกรณีที่ลิวซีนไม่สมดุล ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติของกลิ่นตัวและลมหายใจ (ก่อนหน้านี้ ภาวะนี้รักษาได้เพียงวิธีเดียวคือ การจำกัดอาหารที่มีลิวซีน)

ไทโรซีน

ถึงแม้ว่าไทโรซีนจะเป็นกรดแอมิโนไม่จำเป็น แต่ก็จัดว่าเป็นสารสื่อประสาทที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ เพราะมันมีบทบาทในการกระตุ้นและปรับเปลี่ยนการทำงานของสมอง ยกตัวอย่างเช่น เพื่อให้ฟีนิลอะลานีนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ยับยั้งความอยากอาหาร และอื่นๆ ฟีนิลอะลานีนต้องเปลี่ยนเป็นไทโรซีนก่อน หากไม่มีการเปลี่ยนเป็นไทโรซีน ไม่ว่าจะเพราะขาดเอนไซม์หรือเพราะร่างกายส่วนอื่นต้องการใช้ฟีนิลอะลานีนก็ตาม จะทำให้สมองสร้างสารที่ชื่อว่านอร์เอพิเนฟรินน้อยลง และส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้น

ไทโรซีนส่งเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง และต่อมไทรอยด์ ทั้งยังช่วยกระตุ้นการหลั่งโกร๊ธฮอร์โมนและการสร้างของนอร์เอพิเนฟรินซึ่งช่วยยับยั้งความอยากอาหาร

การศึกษาทางคลินิกพบว่า ไทโรซีนเสริมอาหารช่วยควบคุมอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลที่ไม่ตอบสนองต่อยา และยังช่วยให้ผู้ป่วยที่ติดยาแอมเฟตามีน (เพื่อช่วยปรับระดับอารมณ์ให้รู้สึกสบายใจ หรือใช้ลดความอ้วน) ลดขนาดการใช้ยาลงจนต่ำสุดได้ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์

ไทโรซีนยังช่วยผู้ที่ติดโคเคนให้เลิกพฤติกรรมการใช้ยาได้ โดยช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า อ่อนเพลีย หรือหงุดหงิดงุ่นง่านซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหยุดยา สูตรที่ใช้ได้ผลคือ ไทโรซีนละลายในน้ำส้ม รับประทานพร้อมกับวิตามินซี ไทโรซีน ไฮดรอกซิเลส (เอนไซม์ที่ช่วยให้ร่างกายใช้งานไทโรซีนได้) วิตามินบี 1 บี 2 และไนอะซิน

แอล-ไทโรซีนในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรรับประทานพร้อมมื้ออาหารที่มีอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก หรือก่อนนอน เพื่อให้ไม่เกิดการแข่งกันดูดซึมเข้าสู่ร่างกายกับกรดแอมิโนตัวอื่นๆ แหล่งไทโรซีนจากธรรมชาติที่ดีคือ ผลิตภัณฑ์จากนม กล้วย อะโวคาโด ถั่วลิมา อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง และเมล็ดงา

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Essential amino acids: Definition, benefits, and foods. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324229)
Protein and Amino Acids - Recommended Dietary Allowances. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK234922/)
Essential Amino Acids: Definition, Benefits and Food Sources. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/essential-amino-acids)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)