โภชนาการบำบัดสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเรื้อรัง

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
โภชนาการบำบัดสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเรื้อรัง

วิธีโภชนาการบำบัดสำหรับโรคตับอักเสบไม่ว่าจะเป็นชนิดไหน ก็ต้องใช้เวลานานจึงจะได้ผล ไม่ใช่เพียงไม่กี่วันหรือกี่สัปดาห์ก็จะเห็นผลทันตาทันใด

การกินอาหารเพื่อไม่ให้โรคไวรัสตับอักเสบลุกลาม

โภชนาการบำบัดสำหรับชนิดเรื้อรัง และระยะฟื้นไข้ก็ใช้หลักการเดียวกัน คือ ใช้วิธีกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพตับเป็นหลัก เพื่อไม่ให้อาการของโรคลุกลามเร็ว หรือก็คือเป็นหลักการกินอาหารที่ดีสำหรับคนทั่วไป ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. กินครบ 3 มื้อ แต่ละมื้อกินอิ่มท้องพอเหมาะ
  2. ต้องประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ มีคาร์โบไฮเดรต (ข้าวสวย เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง) เป็นอาหารหลัก มีโปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากถั่ว) เป็นกับข้าวหลัก มีผักอย่างน้อย 2 อย่าง เป็นกับข้าวเสริมเพราะแม้มีโรคตับอักเสบอยู่ แต่การทำงานของตับก็ยังคงทำหน้าที่ตามปกติเหมือนคนแข็งแรงทั่วไป
  3. กับข้าวควรมีส่วนประกอบหลายอย่าง เพื่อให้รับสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วน
  4. กินผัก – ผลไม้สดทุกวันเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยอาหาร
  5. สาหร่ายและเห็ดต่าง ๆ ก็ควรกิน ช่วยให้ร่างกายได้สารอาหาร และเส้นใยมากพอยิ่งขึ้น
  6. ไม่ต้องจำกัดสารอาหารตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษ ยกเว้นไขมันต้องระวังอย่าให้ได้รับมากเกินไป แต่ก็ไม่จำเป็นต้องงดไขมันสัตว์ทุกมื้อ หรือถึงกับเลี่ยงจนร่ายกายขาดสารอาหารตัวนี้ (เว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากนักโภชนาการบำบัด)
  7. ควรดื่มนมวัววันละแก้ว เครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น ชา กาแฟ ไม่ควรดื่มมากเกินไป งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

อาหารแต่ละวันต้องมีพลังงานมากพอ ๆ กับพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน

ว่าแต่จะทราบได้อย่างไรว่า พลังงานพอเหมาะและสำหรับตนคือเท่าไหร่ ต้องอาศัยสูตรคำนวณ ดังนี้

วิธีคำนวณหาพลังงานพอเหมาะที่ควรได้รับต่อวัน

ร่างกายควรได้รับพลังงานพอเหมาะสำหรับแต่ละวัน ก็เพื่อให้มีใช้พอเหมาะและไม่ทำให้เหลือสะสมไว้ในตับและส่วนอื่น ๆ แต่ปริมาณพอเหมาะสำหรับแต่ละคนก็ต่างกันไปบ้างตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่มักมีรูปแบบเหมือนเดิมทุกวัน

การหาว่าตนเองควรได้รับพลังงานเท่าไรจึงจะเหมาะสม ต้องใช้ 2 เงื่อนไขหลัก คือ ปริมาณพลังงานที่จำเป็นต้องได้รับน้ำหนักตัว 1 kg และ น้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับส่วนสูง

ถ้าอย่างนั้นมาดูกันก่อนว่า ตนเองมีรูปแบบกิจกรรมในแต่ละวันอยู่ในระดับใดเสียก่อน เพื่อหาปริมาณพลังงานที่จำเป็นต้องได้รับน้ำหนักตัว 1 kg

รูปแบบกิจกรรมในแต่ละวัน

ถ้าชีวิตในแต่ละวันของคุณ อยู่กับที่เกิน 12 ช.ม. เช่น นั่งขายของอยู่หน้าบ้านทั้งวัน นั่ง ๆ นอน ๆ อยู่ในบ้าน นั่งทำงานอยู่ในสำนักงาน ตั้งแต่ 9.00 น. – 17.00 น. มีโอกาสเดินก็เพียงเดินซื้อของหรือเดินไปมาในที่จำกัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สรุปว่าวันทั้งวันมีแต่นั่ง ๆ นอน ๆ มีโอกาสเดินไม่ถึง 1 ช.ม. จัดว่าใช้แรงงานอยู่ในระดับเบา ปริมาณพลังงานที่จำเป็นต้องได้รับในแต่ละวัน คือ 25 – 30 kcal/น้ำหนักตัว 1 kg

คราวนี้ใช้แรงมากขึ้นอีกหน่อย เพราะเป็นงานที่ต้องยืนนาน เช่น พนักงานเคาน์เตอร์ พนักงานยืนขายของตามห้างสรรพสินค้า แต่ละวันมีโอกาสเดินประมาณ 2 ช.ม. ขึ้นไป รูปแบบชีวิตอยู่กับการไปทำงานประจำที่ต้องเช้าไปเย็นกลับ ต้องยืนโหนรถโดยสารนาน ใช้ระยะเวลาเดินทางทั้งเดินและใช้รถส่วนใหญ่จะยืนอยู่ในรถ) ประมาณวันละ 2 ชั่วโมง

คนส่วนมากจัดอยู่ในกลุ่มนี้ จัดว่าอยู่ในระดับปกติ ประมาณพลังงานที่จำเป็นต้องได้รับในแต่ละวัน คือ 30 – 35 kcal/น้ำหนักตัว 1 kg

แต่ถ้าออกแรงกายมากกว่าวันละ 2 ช.ม. อาชีพของคนกลุ่มนี้เป็นงานที่ต้องแบกของ ออกแรงทำงาน ทำการเกษตร ประมง จัดว่าอยู่ในระดับใช้แรงงานหนัก ปริมาณพลังงานที่จำเป็นต้องได้รับในแต่ละวัน คือ 35 – 40 kcal/น้ำหนักตัว 1 kg

เมื่อได้ปริมาณตัวเลขที่เหมาะสมกับตนแล้ว เรื่องต่อมาคือ ต้องหาน้ำหนักที่เหมาะสมกับส่วนของตน เพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น เพราะ

แน่นอนว่า คนเตี้ย ผอม ย่อมต้องการพลังงานน้อยกว่าคนรูร่างสูงใหญ่ แม้จะมีรูปแบบกิจกรรมแต่ละวันเหมือน ๆ กัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีหาน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับส่วนสูงของตน

น้ำหนักตัวที่เหมาะสม (kg) = ส่วนสูง (m) x ส่วนสูง (m) x 22

ตัวอย่างการคำนวณ

นาก ก. มีส่วนสูง 170 ซ.ม. น้ำหนักตัวที่เหมาะสม = 1.7 x 1.7 x 22 = 63.6 kgs

เมื่อได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสมแล้ว นำมา x กับปริมาณพลังงานที่จำเป็นต้องได้รับในแต่ละวัน เพื่อหาพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน

พลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน (kcal) = น้ำหนักตัวที่เหมาะสม (kgs)? ปริมาณพลังงานที่จำเป็นต้องได้รับในแต่ละวัน

ตัวอย่าง การหาค่าพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวันของนาย ก

นาย ก สูง 170 ซ.ม. มีอาชีพทำงานแคชเชียร์ (จัดว่าทำงานระดับเบา) = 63.6 x (25 – 30) = 1,590 – 1,900 kcal

คนรูปร่างท้วมควรใช้ค่าให้ใกล้ 1,590 kcal คนผอมก็ควรใช้ค่าใกล้เคียง 1,900 kcal แต่ส่วนคนที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาปริมาณที่เหมาะยิ่งขึ้น

ควรได้รับโปรตีนพอเหมาะ ทั้งโปรตีนจากพืชและสัตว์ ปริมาณที่ควรได้รับ คือ น้ำหนักตัวที่เหมาะสม x 1 – 1.2 g

กินแล้วควรเอนหลังนอน วิธีนี้ช่วยให้เลือดสามารถพาเอาสารอาหารต่าง ๆ ไหลเวียนมายังตับได้ดีขึ้น ช่วยให้ตับได้รับสารอาหารที่จำเป็นง่ายขึ้นเช่นกัน

คำแนะนำ

เมนูอาหารที่ปรุงขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องเลือกใช้ส่วนประกอบหายากอะไรไม่จำเป็นต้องใช้ของแพง แค่ขอให้มีส่วนประกอบหลากหลาย เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสได้รับสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วน เป็นแค่อาหารกินประจำวันทั่วไปก็ได้ เช่น ข้าวผัดรวมมิตร ต้มจืดต่าง ๆ เป็นต้น และไม่จำเป็นต้องนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาใช้ (กรณีที่ไม่ได้ขาดสารอาหารอะไร)

เนื่องจากต้องดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นระยะเวลานาน จึงต้องระวังเรื่องพลังงานให้ดี ต้องควบคุมอย่าให้น้ำหนักตัวเกินขึ้นเรื่อย ๆ เป็นสำคัญ ทางที่ดีต้องออกกำลังให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเข้าไว้

แม้เป็นชนิดเรื้อรัง หากเมื่อถึงเวลาที่มีอาการปรากฏ แน่นอนว่าย่อมมีอาการไม่สบายตัวต่าง ๆ รวมทั้งเบื่ออาหาร ถ้าเป็นช่วงเพื่ออาหารก็ต้องใช้หลักตามแบบของชนิดเฉียบพลัน (ซึ่งจะกล่าวต่อภายหลัง)

แต่เมื่อผ่านมาช่วงระยะฟื้นไข้ คือ ระยะที่มีค่า GOT GPT ลดน้อยกว่า 150 KU ช่วงนี้ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น ดังนั้นในส่วนของช่วงฟื้นไข้จากโรค ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบ้างเพื่อความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย

อาหารระยะฟื้นไข้

ต้องเน้นโปรตีนมากขึ้น ควรกิจโปรตีนให้มากกว่าคนปกติ เพื่อให้ตับได้นำไปใช้ฟื้นฟูตัวเองได้มากพอคือ วันลละประมาณ 2 g. น้ำหนักตัว 1 kg หรือตกวันละ 70 – 120 g

ตัวอย่างอาหารที่มีโปรตีนสูง แต่พลังงานต่ำ

รายการ

น้ำหนัก

ปริมาณพลังงาน (kcal) โดยเฉลี่ย

ปริมาณโปรตีน (g) โดยเฉลี่ย

เนื้อวัว

100 g

150

20

ตัววัว

100 g

130

18

เนื้อหมู

100 g

135

22

ตับหมู

100 g

130

22

เนื้อไก่

100 g

120

20

ตับไก่

100 g

110

18

ไข่

1 ฟอง

80

6

แฮม

100 g

125

155

หอยแครง

100 g

90

15

นม

200 c.c.

125

5.8

น้ำเต้าหู้

200 c.c.

90

7

โยเกิร์ต

100 g

60

3

เนยแข็ง

1 แผ่น 18 g

60 kcal

4 g

เต้าหู้ขาว

100 g

75

6

ในส่วนของไขมัน

ถ้ากินของมัน ๆ ลงก็กินได้ ก็ควรกินพอเหมาะ เพราะไขมันนับว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นกัน เป็นต้นว่า ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน รวมทั้งรักษาสุขภาพเส้นผม

ควรได้รับประมาณ 20 – 25% ของพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน หรือตกประมาณ 50 – 70 g

ไขมันควรเป็นไขมันจากอาหารหลากหลาย ไม่ใช่จากไขมันสัตว์เท่านั้น ควรได้รับจากไขมันปลา น้ำมันพืช ถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

แต่ถ้าเลี่ยงไขมันสุด ๆ หรือเลี่ยงผิดวิธีจนได้รับไม่พอ จะทำให้หลอดเลือดอ่อนแอลง เกิดโรคเส้นเลือดในสมองและอื่น ๆ ทำให้วิตามินชนิดละลายในน้ำมัน คือ เอ ดี อี พลอยได้รับน้อยลงตามไปด้วย จนมีแนวโน้มขาดวิตามินเหล่านี้ง่ายขึ้น ส่งผลเกิดโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินเหล่านี้ตามมา เช่น โรคกระดูกพรุน ผิวแห้ง ตาฟาง เป็นต้น

ส่วนของคาร์โบไฮเดรต

ควรกินให้มากพอเพื่อให้ตับมีแรงต้านทานทนต่อโรค ปริมาณที่ควรได้รับใช้สูตรตามหลักโภชนาการดังนี้

ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับในแต่ละวัน (g) = ปริมาณพลังงานที่ต้องได้รับในแต่ละวัน (kcal) x0.6x4

ตัวอย่าง ถ้าปริมาณพลังงานที่ต้องได้รับในแต่ละวัน = 2,000 kcal

2,000 kcal x 0.6 ¸ 4 = 300 g

ว่าแต่ 300 g นี้ ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตจากอะไรบ้าง ถ้าเป็นข้าวสวย 1 จาน มีน้ำหนักประมาณ 130 g จะได้คาร์โบไฮเดรตประมาณ 40 g. ดังนั้นถ้าจะกินข้าวเพื่อให้ได้คาร์โบไฮเดรตประมารนี้ต้องกินเกิน 7 จาน

แต่ในความเป็นจริง อาหารอย่างอื่นก็มีคาร์โบไฮเดรต เช่น นม 1 แก้ว หนมหวาน 1 ชิ้นเล็ก ผลไม้ 1 ผล ก็มีคาร์โบไฮเดรตมากพอ ๆ กับข้าวสวย 1 จาน และอย่าลืมว่า เครื่องดื่มรสหวาน ๆ หรือแม้แต่อาหารบางอย่างก็ใส่น้ำตาลมากต้องระวังด้วย

ตารางแสดงปริมาณ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ในอาหารทั่วไป

อาหาร

ปริมาณต่อ 1 มื้อ

ปริมาณคาร์โบไฮเดรต

ปริมาณโปรตีน

ปริมาณไขมัน

เนื้อสัตว์

100 g

0 g

20 – 22 g

9 – 10 g

ปลา

100 g

0 g

20 – 22 g

10 – 10.3 g

นม

200 g

10 – 10.2 g

6 – 6.2 g

7 – 7.3 g

ไข่ไก่

1 ฟอง

0 g

6 – 6.2 g

6 – 6.2 g

ขนมปังกะโหลก

 แผ่น

4 – 4.5 g

7 – 7.2 g

4 – 4.3 g

ข้าวสวย

1 จาน (130 g)

40 g

3 – 3.1 g

1 – 1.2 g

นอกจากนี้แม้แต่เกลือ ก็ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเกลือก็ไม่ดีต่อสุขภาพตับ และเป็นต้นเหตุทำให้ตัวบวม แต่ละวันควรได้รับไม่เกิน 3 กรัม

คำแนะนำวิธีเลี่ยงเกลือในอาหาร

เลี่ยงอาหารรสเค็ม รสจัด รสเข้มข้น ผักดอง ปลาเค็ม ต้องงด เพราะล้วนแต่มีเกลือมาก ควรกินรสอ่อน

เลี่ยงการใช้น้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือ เน้นรสชาติจากอาหาร ถ้าปรุงกินเองได้ยิ่งดี โดยใช้รสอื่นช่วย เช่น รสเปรี้ยว รสเผ็ด

อาหารเนื้อแช่แข็งต่าง ๆ ทั้งแฮม ไส้กรอก ล้วนมีเกลือเป็นส่วนผสมมากต้องเลี่ยง ก่อนซื้อควรดูปริมาณเกลือที่ฉลาก

น้ำก๋วยเตี๋ยวก็ใส่เกลือมาก ควรกินแต่เส้นกับเนื้อ ส่วนน้ำก๋วยเตี๋ยวต้องทิ้งไว้อย่างนั้น หรือไม่ก็สั่งเป็นก๋วยเตี๋ยวแห้งแทน

ถ้าเป็นอาหารสำเร็จรูป ควรเลือกชนิดที่ไม่ใส่เกลือหรือชนิดเค็มน้อย เป็นต้น

ของทอดบางอย่าง เช่น ไก่ทอด นอกจากมีน้ำมันมากแล้ว ผู้ขายยังหมักไก่ด้วยเครื่องปรุงรสต่าง ๆ รวมทั้งเกลือในปริมาณสูง การเลี่ยงของทอดจึงเป็นการเลี่ยงเกลือได้ทางหนึ่งด้วย

คำแนะนำในการปรุงอาหาร

  1. ควรเปลี่ยนส่วนประกอบและวิธีปรุง (ต้ม ผัด นึ่ง) ไม่ให้ซ้ำกันอยู่เรื่อย ๆ ใช้ส่วนประกอบตามฤดูกาล เพื่อช่วยให้เกิดความอยากอาหาร ไม่ควรทำวนอยู่เพียงไม่กี่อย่าง
  2. ใช้เครื่องเทศต่าง ๆ เพื่อช่วยเรียกน้ำย่อย ทำให้กินได้มากขึ้น
  3. เนื่องจากเป็นวิธีที่ต้องทำทุกวัน จึงควรค้นหาว่ารสชาติแบบไหนที่จะช่วยให้กินได้มาก เปลี่ยนรสชาติอาหารให้หลากหลาย เช่น เปรี้ยว เผ็ด รสอ่อน อย่าให้มีรสเดิมตลอด ป้องกันการเบื่ออาหาร ช่วยให้การใช้วิธีโภชนาการบำบัดนี้ทำให้นานต่อเนื่อง

อนึ่ง วิธีโภชนาการสำหรับโรคนี้ ก็ใช่ว่าใช้เหมือนกันหมด จริง ๆ แล้วยังต้องปรับให้เข้ากับสภาพร่างกายและเงื่อนไขอื่น ๆ ของแต่ละคนตามความเหมาะสมด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic Hepatitis: What to Eat for Better Management. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/chronic-hepatitis-nutrition-1759983)
Nutrition Therapy for Liver Diseases Based on the Status of Nutritional Intake. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3504385/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โยเกิร์ตชนิดไหนดีที่สุดสำหรับโรคเบาหวาน
โยเกิร์ตชนิดไหนดีที่สุดสำหรับโรคเบาหวาน

โยเกิร์ตแบบกรีก : โภชนาการและประโยชน์ในโรคเบาหวาน

อ่านเพิ่ม
ผลไม้ 5 ชนิดที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผลไม้ 5 ชนิดที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

แนะนำผลไม้ 5 ชนิดที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถรับประทานปริมาณมาก นำไปประยุกต์ทำอาหารได้หลากหลาย

อ่านเพิ่ม