กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

คันทวารหนัก (Itchy anal)

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที

คันทวารหนัก

อาการคันทวารหนักคืออาการที่ทำให้คุณรู้สึกอยากเกาผิวหนังรอบทวารหนักอย่างรุนแรง

ทวารหนักคือช่องเปิดส่วนท้ายสุดของระบบย่อยอาหารที่ซึ่งของเสียจะออกจากร่างกายในรูปแบบของอุจจาระ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของอาการคันทวารหนัก

ภาวะคันทวารหนักเป็นอาการของโรคแทนที่จะเป็นโรคเสียเอง ซึ่งมีกรณีป่วยมากมายที่เป็นต้นเหตุเช่น:

การติดเชื้อแบคทีเรีย: เช่นการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคสเตรปโทคอคอล

ภาวะผิวหนัง: เช่นภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ที่ทำให้ผิวหนังแดง แห้ง และแตก

ริดสีดวงทวาร: การบวมของหลอดเลือดแดงภายในและรอบทวารหนัก

สำหรับเด็ก อาการคันอาจเกิดมาจากพยาธิเส้นด้ายก็ได้ แต่อาการคันทวารหนักก็อาจเกิดมาจากสาเหตุทั่วไปอื่น ๆ ได้ เช่น: ความร้อน การสัมผัสโดนเสื้อผ้าหรือผ้าห่มขนสัตว์ ความชื้น อุจจาระราด ความเครียดหรือความกังวล

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

คุณควรไปพบแพทย์หากมีอาการคันทวารหนักนานมากกว่าหนึ่งวันเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ โดยแพทย์อาจทำการสอบถามคุณดังนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณล้างหรือใช้ครีม สบู่ หรือแป้งฝุ่นรอบทวารหนักบ่อยแค่ไหน

ระยะเวลาและรูปแบบของอาการคันของคุณ อย่างเช่นอาการของคุณรุนแรงขึ้นในช่วงกลางคืนหรือหลังจากรับประทานอาหารบางชนิดหรือไม่ เป็นต้น

อาการอื่น ๆ เช่นมีเลือดออกหรือมีของเสียขับออกจากทวารหนักหรือไม่

แพทย์มักจะขอตรวจสอบผิวหนังรอบทวารหนักของคุณ และอาจขออนุญาตทำการตรวจทวารหนัก (DRE) เพื่อกำจัดความเป็นไปได้ของภาวะสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ

คุณอาจรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องปลดเปลื้องร่างกายให้คนที่ไม่คุ้นเคยบ้าง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่คุณควรจะอายหรือกังวลแต่อย่างใดเนื่องจากกระบวนการนี้เป็นการตรวจทั่วไปที่บรรดาแพทย์ต้องดำเนินการกันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว

หากจำเป็น แพทย์อาจจะส่งตัวคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจสอบและรักษาเพิ่มเติมต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาอาการคันทวารหนัก

ภาวะคันทวารหนักสามารถรักษาได้ง่าย ๆ บ้าน ซึ่งมีวิธีดังนี้: รักษาความสะอาดที่ทวารหนักและทำให้แห้งตลอดเวลา เลี่ยงการใช้สบู่มีกลิ่น ใช้กระดาษชำระแบบเนื้ออ่อนในการทำความสะอาด พยายามไม่เกา

แพทย์สามารถจ่ายครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับบรรเทาอาการคันให้คุณใช้ร่วมกับการดูแลตนเองข้างต้น โดยคุณต้องทำความเข้าใจและสอบถามวิธีใช้ยาที่ได้รับมาจากผู้เชี่ยวชาญก่อน

ถ้าอาการคันทวารหนักเกิดมาจากภาวะสุขภาพอื่น อย่างเช่นการติดเชื้อแบคทีเรียหรือริดสีดวง แพทย์จะทำการรักษาภาวะนั้น ๆ ก่อน

ภาวะแทรกซ้อนของอาการคันทวารหนัก

การเกาทวารหนักบ่อยครั้งอาจสร้างความเสียหายหรือทำลายผิวหนังอ่อนรอบทวารได้ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาอย่าง: ผิวหนังหนาตัวขึ้น ผิวหนังเสียหายและปวด ผิวหนังชั้นบนเสื่อมสภาพ การติดเชื้อ

ยิ่งมีการวินิจฉัยและรักษาภาวะแทรกซ้อนข้างต้นเร็วเท่าไร คุณจะยิ่งฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเท่านั้น คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันทีที่ผิวหนังรอบทวารหนักเปลี่ยนแปลงหรือเจ็บปวด

หากไม่สามารถสรุปสาเหตุและรักษาอาการคันได้ ภาวะอาจจะกลายไปเป็นภาวะคันทวารเรื้อรังได้ ซึ่งอาจส่งผลไปยังสุขภาพจิตได้ด้วย

อาการคันมักจะรุนแรงขึ้นในช่วงกลางคืนจนรบกวนการนอนของคุณ ซึ่งส่งผลให้คุณรู้สึกเหน็ดเหนื่อยในตอนกลางวัน

ให้ปรึกษาแพทย์หากว่าอาการคันทวารทำให้คุณรู้สึกกังวลหรือซึมเศร้า หรือเมื่ออาการส่งผลต่อการนอนหลับของคุณ

สาเหตุของอาการคันทวารหนัก

สาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการคันทวารหนักอาจไม่ถูกพบทุกครั้ง แต่ก็มีบางกรณีที่อาการคันเป็นอาการของปัญหาหรือภาวะสุขภาพอื่น ๆ

การติดเชื้อ

ภาวะคันทวารหนักอาจเป็นสัญญาณที่ร่างกายพยายามจะจัดการกับการติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นทั้ง:

เชื้อแบคทีเรีย: อย่างเช่นโรคสเตรปโตคอกคัล

เชื้อรา: อย่างเช่นราแคนดิดา อัลบิแคน ที่ก่อให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด

ปรสิต: อย่างเช่นพยาธิเส้นด้าย (หนอนปรสิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในลำไส้) หรือหิด (แมลงขนาดเล็กมากที่ฝังตัวเข้าใต้ผิวหนัง)

ไวรัส: เช่นเชื้อไวรัสโรคเริม

อาการคันที่ทวารหนักอาจเป็นอาการของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) อีกด้วย

หากคุณมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันมาก่อน และคาดว่าเป็นเพราะ STI ให้ไปพบแพทย์เพื่อขอรับการทดสอบและการรักษาตามความเหมาะสม

โรคระบบทางเดินอาหาร

โรคระบบทางเดินอาหารคือภาวะที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร (ตั้งแต่ปาก ลำคอ กระเพาะ ลำไส้ ไปจนถึงทวารหนัก) โดยโรคที่ก่อให้เกิดอาการคันทวารมีดังนี้:

ริดสีดวงทวาร: การบวมภายในและรอบทวารที่เกิดจากการโป่งพองของเส้นเลือด

ฝีคัณฑสูตร: ภาวะที่เกิดท่อขนาดเล็กขึ้นระหว่างปากทวารหนักและพื้นผิวหนังใกล้ทวาร

แผลที่ขอบทวารหนัก: การฉีกขาดหรือแผลที่เกิดขึ้นรอบเยื่อบุช่องทวารหนัก

ภาวะกล้ามเนื้อหูรูดใช้การไม่ได้: ที่ซึ่งกล้ามเนื้อหูรูด (กล้ามเนื้อรูปวงแหวนที่ใช้เปิดปิดทวารหนัก) หยุดทำงานจนทำให้เกิดอาการอุจจาระราด

ท้องร่วงระยะยาว: มีการถ่ายเหลวบ่อยครั้ง

ท้องผูกระยะยาว: ภาวะที่ไม่สามารถปล่อยของเสียออกมาให้หมดภายในครั้งเดียว

ภาวะผิวหนัง

ภาวะผิวหนังบางอย่างก็ส่งผลไปยังผิวหนังรอบทวารหนักเช่นกัน ซึ่งภาวะผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับอาการคันทวารหนักมีดังนี้:

โรคสะเก็ดเงิน: ภาวะที่ทำให้เกิดผิวหนังแดง แตกสะเก็ด และมีปื้นขึ้นเนื่องมาจากเซลล์ผิวหนังผลิตตนเองออกมาเร็วเกินไป

ผื่นแพ้สัมผัส: ที่ซึ่งผิวหนังตอบสนองต่อสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้จนเกิดการอักเสบ

ไลเคน พลานัส: ภาวะผิดปกติของผิวหนังระยะยาวที่ก่อให้เกิดอาการคันหรือมีจุดปวดสีขาวบนผิวหนังรอบอวัยวะเพศ

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง: ที่ซึ่งผิวหนังแห้ง แดง และแตก

ภาวะที่ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย

ภาวะที่ส่งผลต่อระบบร่างกายก็อาจทำให้คุณมีอาการคันทวารหนักบ้าง เช่น:

เบาหวาน: ภาวะสุขภาพตลอดชีพที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป

ไตล้มเหลว: ภาวะที่ไตหยุดทำงาน

โรคโลหิตจางขาดธาตุเหล็ก: ภาวะที่ทำให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ใช้แบกรับออกซิเจนลดน้อยลงจนสร้างความเหน็ดเหนื่อยและอ่อนแรง

ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป

การใช้ยา

ยาบางประเภทรวมไปถึงยาเฉพาะภายนอกก็อาจมีผลทำให้ทวารของคุณคันได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่นหากคุณใช้ครีมรักษาริดสีดวงทวาร ผิวหนังบอบบางรอบทวารจะเกิดความระคายเคืองและทำให้เกิดอาการคันมากขึ้น

ยาเฉพาะที่บางตัวก็อาจก่อให้เกิดภาวะผื่นแพ้สัมผัสขึ้นมาได้หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

ยาที่ทำให้คุณมีอาการคันทวารหรือทำให้อาการคันแย่ลงมีดังนี้:

น้ำมันเปปเปอร์มินต์: ที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดท้อง

การใช้ยาชาเฉพาะที่เป็นเวลานาน: ยาที่ใช้ทำให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งชา

glyceryl trinitrate: ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบของครีมทาเฉพาะที่ที่ใช้รักษาแผลที่ทวารหนัก

การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่ระยะยาว: ยาเพื่อลดการอักเสบที่ใช้ทาลงผิวหนังโดยตรง

หากว่ายาที่คุณใช้ก่อให้เกิดอาการคันทวารหนัก อาการคันที่เกิดขึ้นมักจะน้อยลงหลังจากที่คุณใช้ยาครบกำหนดแล้ว

ห้ามหยุดยาที่แพทย์จ่ายให้เองนอกจากแพทย์จะเป็นผู้สั่งเอง

ให้คุณปรึกษากับแพทย์หากคุณกำลังใช้ยาระยะยาวและทำให้เกิดอาการคันทวารขึ้นเพื่อให้แพทย์เลือกใช้ยาอีกประเภทแทน

มะเร็งทวารหนักและลำไส้ใหญ่

ในกรณีหายาก อาการคันทวารหนักก็อาจเป็นอาการของมะเร็งระบบย่อยอาหารได้เช่นกัน อย่างเช่นมะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาการคันทวารหนักส่วนมากไม่ได้เกิดมาจากมะเร็ง แต่ก็ยังเป็นเหตุผลที่คุณต้องให้แพทย์วินิจฉัยอยู่ดี

อาการที่อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งทวารหนักมีดังนี้: เลือดออกจากทวาร เจ็บปวด คัน มีก้อนขนาดเล็กขึ้นรอบทวาร

อาการที่อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งลำไส้ใหญ่มีดังนี้: เลือดออกจากทวารหนัก มีเลือดปนอุจจาระ ลักษณะการขับถ่ายเปลี่ยนไป อย่างเช่นมีท้องร่วงติดกันนาน 4 ถึง 6 สัปดาห์

การรักษาอาการคันทวารหนัก

การรักษาอาการคันทวารมักใช้ขั้นตอนการดูแลตนเองง่าย ๆ ในช่วงไม่กี่เดือนแรก และหากจำเป็นก็อาจจะมีการใช้ยาบรรเทาอาการร่วมด้วย

หลักการดูแลเองเพื่อจัดการกับอาการคันทวาร

หากคุณยังคงมีอาการคันภายหลังการดูแลตนเอง 2 เดือน หรือมีอาการกลับมาอีก คุณอาจต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดูแลตนเองต่อไปนี้ให้นานยิ่งขึ้น

รักษาความสะอาดและดูแลให้ทวารหนักแห้ง

เมื่อคุณมีอาการคันทวารหนัก คุณควรดูแลพื้นที่ดังกล่าวให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ

วิธีการที่ดีที่สุดคือการใช้น้ำเปล่าค่อย ๆ ทำความสะอาดทวารหนักและผิวหนังโดยรอบหลังขับถ่ายและก่อนเข้านอนทุกคืน

คุณสามารถใช้สบู่เพื่อทำความสะอาดทวารหนักได้ แต่ควรใช้สบู่อ่อนและไม่ใส่น้ำหอมเพื่อให้สบู่ก่อความระคายเคืองแก่ผิวหนังโดยรอบน้อยที่สุด และหลังใช้ต้องล้างสบู่ที่ติดอยู่ตามผิวหนังออกให้หมด

หลังล้างทวาร ค่อย ๆ เช็ดให้แห้ง อย่าขัดหรือขยี้ผิวหนังแรง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความระคายเคืองที่ผิวหนัง ด้วยการใช้ผ้าขนหนูขนนุ่มซับเบา ๆ อีกทั้งควรใช้เครื่องเป่าผมที่ใช้ความร้อนต่ำเป่าให้ทวารแห้งสนิท

หากคุณจำต้องออกจากบ้าน คุณสามารถใช้ทิชชู่เปียกหลังการขับถ่ายได้ ซึ่งต้องทำการซับทวารให้แห้งหลังจากนั้นด้วย

หากคุณเป็นคนที่มีเหงื่อออกมากหรือมีผิวหนังรอบทวารชื้นมาก คุณควรรองทิชชู่ลำลีไว้ในกางเกงชั้นในเพื่อคอยดูดความชื้นออกจากทวารหนัก

วิธีดูแลตนเองอื่น ๆ

เช่นเดียวกับการดูแลความสะอาดและทำให้ทวารของคุณแห้งอยู่เสมอ ก็มีวิธีการดูแลตนเองมากมายที่คุณสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้: ใช้กระดาษชำระเนื้ออ่อนนุ่ม อาบน้ำทุกวัน สวมกางเกงชั้นในที่ใส่สบายและเปลี่ยนกางเกงในทุกวัน สวมใส่กางเกงชั้นในหลังจากทวารแห้งสนิทจริง ๆ เลี่ยงการใส่กางเกงแน่นเกินไป ผู้หญิงควรสวมถุงเท้าแทนกางเกง ใช้ผ้าห่มนวมแบบเบาตอนกลางคืนเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายของคุณร้อนเกินไป เลี่ยงการใช้สบู่ ฟองอาบน้ำ น้ำหอม หรือแป้งที่มีกลิ่นหอมจัด รอบทวาร ตัดเล็บมือให้สั้นเพื่อป้องกันไม่ให้คุณทำร้ายผิวหนังด้วยการเกาโดยไม่ตั้งใจ สวมถุงมือผ้าไหมขณะนอนหลับเพื่อป้องกันไม่ให้คุณทำร้ายผิวหนังด้วยการเกาโดยไม่ตั้งใจ

ขั้นตอนข้างต้นอาจทำได้ลำบากบ้าง แต่คุณควรพยายามหักห้ามใจไม่ให้เกาทวารของตัวเองเนื่องจากการเกาจะยิ่งทำให้อาการทรุดลง

อาหารการกิน

อาหารบางประเภทอาจทำให้อาการคันทวารของคุณแย่ลงได้ หากคุณประสบกับอาการคันทวารหลังการทานอาหารบางประเภท พยายามตัดอาหารเหล่านั้นออกหรือลดปริมาณการกินลง

อาหารที่อาจทำให้อาการคันของคุณทรุดลงมีดังนี้: มะเขือเทศ อาหารรสเผ็ด ผลไม้กรดสูง เช่นส้ม ถั่ว ช็อคโกแลต ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ กาแฟ ของเหลวที่มากเกินไป อย่างเช่นนม เบียร์ หรือไวน์

เส้นใยอาหาร

แพทย์อาจแนะนำให้คุณทานอาหารบางประเภทเพื่อช่วยทำให้คุณถ่ายคล่องขึ้นและมีรูปร่างของอุจจาระที่ดีขึ้น

การพยายามเบ่งอุจจาระออกจะสร้างความระคายเคืองแก่ทวารหนักได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร หรือการบวมของหลอดเลือดภายในและรอบทวารหนัก

การทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูงจะช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวลงและไหลออกได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาหารที่ประกอบไปด้วยใยอาหารมีดังนี้: ธัญพืช: อย่างเช่นขนมปังธัญพืชรวม ถั่วพัลซ์: ถั่วที่โตในกระปุก อย่างเช่นถั่วเขียว ถั่วแระ ถั่วเลนทิล เป็นต้น ข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้

การใช้ยา

ขณะที่คุณกำลังอยู่ช่วงรอเห็นผลการดูแลตนเองข้างต้น แพทย์อาจจ่ายยามาเพื่อบรรเทาอาการคันทวารของคุณไว้ก่อน

คุณไม่ควรใช้ยารักษาภายนอก (ยาที่สามารถทาลงผิวหนังโดยตรง) เป็นเวลานานกว่า 2 อาทิตย์ เนื่องจากยาเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายแก่ผิวหนังของคุณได้หากใช้เป็นเวลานาน

ขี้ผึ้งบรรเทาอาการ

แพทย์อาจจ่ายขี้ผึ้งหรือครีมสำหรับประโลมผิวหนังรอบทวารหนักแก่คุณ ซึ่งคุณสามารถใช้ครีมดังกล่าวได้ในตอนเช้าและตอนกลางคืน หรือหลังขับถ่ายทุกครั้ง

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่

หากผิวหนังรอบทวารหนักของคุณมีอาการปวดและอักเสบจากอาการคัน แพทย์จะจ่ายยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่แบบอ่อนให้แก่คุณ (ขี้ผึ้งที่มีส่วนประกอบเป็นสเตียรอยด์) การทายาประเภทนี้กับผิวหนังที่มีอาการจะช่วยบรรเทาการอักเสบลงได้ ซึ่งจะช่วยลดความอยากเกาลงตามไปด้วย

กรณีส่วนมากการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่นี้จะช่วยในเรื่องความคัน แต่ก็สามารถทำให้อาการคันแย่ลงได้เช่นกัน หากเป็นเช่นนี้คุณต้องเข้าพบแพทย์ในทันที

ยาต้านฮิสตามีน

หากอาการคันรบกวนการนอนหลับของคุณ แพทย์อาจเปลี่ยนไปใช้ยาต้านฮิสตามีนกับคุณ

ยาต้านฮิสตามีนเป็นยาที่ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาของกิจกรรมฮิสตามีน (สารเคมีที่ปล่อยออกมาในระหว่างที่มีปฏิกิริยาแพ้) ซึ่งยาต้านฮิสตามีนบางตัวจะมีฤทธิ์กล่อมประสาทไปในตัว

แพทย์อาจจ่ายยา chlorphenamine หรือ hydroxyzine แก่คุณ ซึ่งสามารถใช้ตอนกลางคืนได้ แต่ไม่ควรใช้ยาเหล่านี้นานกว่า 2 สัปดาห์เนื่องจากหลังระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ฤทธิ์กล่อมประสาทของยาจะเริ่มไม่ได้ผลอีกต่อไป

คุณควรระมัดระวังเวลาใช้ยาต้านฮีสตามีนที่มีฤทธิ์กล่อมประสาทอย่างมากเนื่องจากยาจะไปกดความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะหรือใช้งานเครื่องจักรหนักลง อีกทั้งฤทธิ์กล่อมประสาทของยาจะแรงขึ้นหากคุณทานยาพร้อมกับดื่มแอลกอฮอล์

การรักษาภาวะสุขภาพต้นเหตุ

เมื่อแพทย์ทำการวินิจฉัยอาการคันทวารหนัก แพทย์จะพยายามมองหาสัญญาณของภาวะโรคต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุ

หากว่าตรวจพบภาวะอย่างการติดเชื้อแบคทีเรียหรือภาวะผิวหนัง แพทย์จะจัดการรักษาภาวะสุขภาพนั้น ๆ เพื่อให้ควบคุมอาการคันทวารไว้

ยกตัวอย่างเช่นหากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะจัดการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะขึ้น ถ้าหากคุณไม่จัดการกับภาวะสุขภาพต้นเหตุเหล่านี้ อาการคันทวารอาจจะกลับมาเป็นซ้ำอีก

อาการคันทวารของเด็กมักจะเกิดมาจากพยาธิ และหากแพทย์ตรวจพบว่าสาเหตุอาการคันเป็นเพราะพยาธิ สมาชิกในครอบครัวที่มีอาการเดียวกันจะต้องเข้ารับการรักษาด้วย

การรักษาเพิ่มเติม

หากคุณประสบกับอาการคันทวารหนักที่ไม่ดีขึ้นแม้จะปฏิบัติตามคำแนะนำดูแลตนเองอย่างการดูแลความสะอาดของทวาร หรือการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

แพทย์อาจส่งตัวคุณไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังหรือศัลยแพทย์ลำไส้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคลำไส้ใหญ่และทวารหนักแทน


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Anal itching: Causes, treatments, and home remedies. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/168728)
Anal Itch (Pruritus Ani). Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/a_to_z/anal-itch-pruritus-ani-a-to-z)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อยากทราบเกี่ยวกับโรคฝีคันทสูตรค่ะ เพราะคอนนี้เป็นอยู่ มีแนวทางการรักษาแบบไหน หรือต้องผ่าตัดอย่างเดียว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปกติเป็นคนถ่ายแข็งอยู่แล้วแต่ช่วงนี้รู้สึกมีก้อนที่บริเวณทวาร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทวารหนักตีบจากการผ่าตัดริดสีดวง2ครั้งมีวิธีรักษามั้ยคะนอกจากการถ่างขยายรูทวาร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)