วัดมวลไขมันอย่างไรได้บ้าง?

เผยแพร่ครั้งแรก 5 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วัดมวลไขมันอย่างไรได้บ้าง?

เรื่องของมวลไขมัน อาจจะเป็นเรื่องที่คนทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไรนัก เนื่องจากคนทั่วไปมักจะใช้การวัดความอ้วนของตัวเองด้วย "กระจก" และ "เครื่องชั่งน้ำหนัก" มากกว่าวิธีที่ถูกต้องตามหลักทางการแพทย์ และหลักการทางสุขภาพ บางคนผอมเพรียวประเภทที่เป็นนายแบบและนางแบบได้ แต่เมื่อชั่งน้ำหนักแล้วพบว่าตัวเองมีน้ำหนัก 50 ขึ้นไป ก็ตีความหมายไปแล้วว่า "อ้วน" แล้วก็ไปหาวิธีการลดเพื่อที่จะให้น้ำหนักลงมากไปอีก ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งมีสัดส่วนที่ค่อนไปในคำว่าเจ้าเนื้อแล้ว แต่เมื่อชั่งน้ำหนักออกมายังอยู่ที่เลข 5 นำหน้า ก็เข้าใจว่าตัวเองยังไม่อ้วนเท่าไรนัก ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการลดน้ำหนักอย่างที่เข้าใจ การคิดในลักษณะนี้ เป็นค่านิยมที่ผิด ๆ ของคนไทยที่พบเห็นได้มากในปัจจุบัน จึงทำให้การใส่ใจเรื่องของสุขภาพเป็นไปไม่ดีเท่าที่ควร

ประเภทของไขมัน

ถึงแม้ไขมันจะเป็นบ่อเกิดแห่งความอ้วน แต่ร่างกายก็มีความต้องการไขมันอยู่มาก แพทย์จึงได้มีการแบ่งไขมันออกเป็น 2 ประเภท คือไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย และไขมันที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย โดยมีรายละเอียดคือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1.ไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นไขมันที่ร่างกายนำมาใช้เพื่อการสลายวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินเอ อี ดี และเค เป็นต้น โดยใช้เพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างฮอร์โมนเพศ รวมถึงช่วยรับแรงกระแทกกรณีที่เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ เพื่อไม่ให้อวัยวะภายในได้รับอันตราย

2.ไขมันที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย หรือไขมันส่วนเกิน เมื่อร่างกายได้นำไขมันส่วนที่จำเป็นไปใช้ตามส่วนต่าง ๆ รวมถึงเผาผลาญออกไปบางส่วนแล้ว ในส่วนของไขมันที่ยังเหลืออยู่ ก็จะเข้าไปอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ในช่องท้อง ใต้ผิวหนัง ตามอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งก็ส่งผลให้เราอ้วนขึ้น รวมถึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายต่าง ๆ

วิธีวัดมวลไขมันในร่างกาย

ตัวเลขที่แสดงบนหน้าจอของเครื่องวัดน้ำหนัก ไม่สามารถระบุได้ว่าเรา "อ้วน" หรือ "ไม่อ้วน" เนื่องจากน้ำหนักของกล้ามเนื้อนั้นมากกว่าไขมันเนื่องจากมีความหนาแน่นมากกว่า ในปัจจุบันนี้มีการเปรียบเทียบให้เห็นบ่อย ๆ ถึงการนำคน 2 คนมายืนข้างกัน โดยกำหนดส่วนสูงให้เท่ากัน และกำหนดให้เท่ากัน แต่ความแตกต่างอยู่ที่คนหนึ่งออกกำลังกาย และอีกคนไม่ได้ออกกำลังกาย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ที่เราได้เห็นคน 2 คนที่มีส่วนสูงและน้ำหนักเท่ากัน แต่มีรูปร่างไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าหากต้องการจะวัดผลจริง ๆ ว่าเรา "อ้วน" หรือ "ไม่อ้วน" ก็ควรจะวัดจากมวลไขมันในร่างกายจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งการวัดมวลไขมันในร่างกายนั้น สามารถทำได้หลายวิธี คือ

การวัดด้วย Fat Caliper

สำหรับวิธีนี้เราจะต้องหา Fat Caliper ที่มีขายกันตามฟิตเนส หรืออุปกรณ์กีฬาก่อน ซึ่งก็มีตั้งแต่ราคา 80 - 500 บาท แล้วแต่จะเลือก เมื่อได้มาแล้ว ก็ให้วัดเมื่อตอนที่ตื่นเช้าแล้วยังไม่ได้ทานอาหารอะไรเลย ในส่วนของวิธีการวัด ก็คือการหยิกเนื้อ (เอาแต่ไขมัน ไม่เอากล้ามเนื้อ) บริเวณที่ต้องการขึ้นมา แล้วใช้ Fat Caliper ทำการวัด โดยจะมีการแสดงค่าเป็นมิลลิเมตร เมื่อวัดแล้ว ก็ให้เอาค่าที่ได้ไปเทียบกับตารางที่แถมมากับอุปกรณ์ ก็จะรู้แล้วว่าคุณกำลังมีมวลไขมันที่มากเกินไปหรือไม่ โดยจุดที่นิยมวัดมากที่สุด คือบริเวณกึ่งกลางต้นแขน ระหว่างข้อศอกกับหัวไหล่ เหนือกระดูกชิงกราน 1 นิ้ว ตรงกลางระหว่างเข่ากับเอว

การวัดด้วยเครื่องชั่งน้ำหนักแบบ Body Composition

เครื่องชั่งนี้สามารถพบได้ตามฟิตเนสใหญ่ ๆ หรือจะซื้อมาไว้ที่บ้านเองก็ได้ตามร้านขายอุปกรณ์กีฬาชั้นนำ การที่เครื่องจะสามารถให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำได้ จะต้องมีการกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวคุณลงไปก่อน เช่น ส่วนสูง เพศ รอบเอว งานที่ทำประจำ (เรียนหนังสือ ออฟฟิศ นักกีฬา เป็นต้น) หลังจากใส่ข้อมูลแล้ว ก็ขึ้นไปชั่งน้ำหนักตามปกติ เครื่องก็จะได้นำค่าน้ำหนักที่ได้ ไปประมวลผลกับข้อมูลที่คุณได้กรอกมาในข้างต้น และจะปริ้นออกมาเพื่อให้คุณได้ดูค่าน้ำหนัก ค่ามวลไขมัน ค่ากล้ามเนื้อ และค่าอื่น ๆ ตามที่เครื่องสามารถระบุได้ ในเครื่องที่มีประสิทธิภาพดี ๆ ก็อาจจะมีการระบุเรื่องของแคลอรี่ที่จำเป็นในแต่ละวันได้อีกด้วย

การวัดด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติ

ถ้าหากไม่สามารถหาทั้ง Fat Caliper และ เครื่องชั่งน้ำหนักแบบ Body Composition ได้ ก็ให้ไปหาสายวัดมา 1 เส้น วัดที่รอบข้อมือ รอบเอว รอบสะโพก รอบต้นแขนบริเวณที่ใหญ่ที่สุด พร้อมกับไปชั่งน้ำหนักมา แล้วเอากรอกลงตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีการคำนวณแบบอัตโนมัติ คุณก็จะทราบมวลไขมันของตัวเองแล้ว ว่าเกิน หรือไม่เกินมาตรฐาน เพื่อที่คุณจะได้วางแผนในการลดมวลไขมันต่อไปด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามความถนัดของคุณ

บอกลาเรื่องของน้ำหนัก แล้วหันมาใส่ใจในรูปร่างของเราจะดีกว่า เพราะไม่มีอะไรที่จะบอกเราได้อย่างแม่นยำมากที่สุดเท่ากับมวลไขมันในร่างกายของเราอีกแล้ว ดังนั้น จึงควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ พร้อมกับทานอาหารที่มีประโยชน์ แม้ว่าน้ำหนักจะขึ้น ก็ขึ้นเพราะกล้ามเนื้อที่แข็งแรง เพราะหากคุณมีหุ่นที่ดูดี ฟิตแอนด์เฟิร์มมากกว่าเดิม อย่างไรก็ต้องคุ้มกว่าการมีน้ำหนักน้อย แต่มีหุ่นที่อ้วนเผละซึ่งประกอบไปด้วยไขมันล้วนๆ อย่างแน่นอน


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Estimate Fat Mass in Overweight and Obese Subjects. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3639623/)
Body Fat Measurement: Percentage Vs. Body Mass. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/features/body-fat-measurement)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป