งูสวัสเป็นโรคติดต่อหรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
งูสวัสเป็นโรคติดต่อหรือไม่

งูสวัสนั้นเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส varicella-zoster ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส โรคงูสวัสนั้นไม่ใช่โณคติดต่อและคุณไม่สามารถแพร่โรคนี้ไปสู่อีกคนหนึ่งได้ อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัส Varicella-zoster นั้นสามารถติดต่อได้ และหากคุณเป็นโรคงูสวัส คุณสามารถแพร่เชื้อนี้ให้กับคนอื่นได้ ซึ่งอาจจะทำให้พวกเขาเป็นโรคอีสุกอีใส

เชื้อไวรัส varicella-zoster นั้นจะอยู่ในเซลล์ประสาทของผู้ป่วยคนนั้นไปตลอดชีวิต ส่วนมากมักจะไม่ทำให้เกิดอาการแต่ถ้าหากระบบภูมิคุ้มกันนั้นอ่อนแอจะทำให้เชื้อไวรัสนั้นถูกกระตุ้นและทำให้เกิดโรคงูสวัสได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคงูสวัสแพร่เชื้อได้อย่างไร

ผู้ที่เป็นโรคงูสวัสนั้นมักจะมีการแพร่เชื้อไปสู่คนที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน เนื่องจากหากเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาแล้วนั้น คนคนนั้นมักจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสอยู่ภายในร่างกาย

โรคงูสวัสนั้นทำให้เกิดตุ่มน้ำที่เป็นแผลเปิดและเชื้อไวรัสนั้นก็สามารถติดต่อได้ผ่านทางการสัมผัสกับตุ่มน้ำที่ยังไม่กลายเป็นสะเก็ด หากคุณไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส การได้รับเชื้อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งที่มาจากตุ่มน้ำนั้นจะทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสได้

แต่ถ้าหากแผลนั้นเกิดการตกสะเก็ดแล้วจะไม่มีการแพร่เชื้ออีกต่อไป นอกจากนั้นหากตุ่มน้ำยังไม่แตกก็จะไม่มีการแพร่เชื้อเช่นกัน

คุณไม่สามารถเป็นโรคงูสวัสจากการสัมผัสกับน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ที่เป็นโรคงูสวัสยกเว้นในบางกรณีที่พบได้น้อยมาก นั่นหมายความว่าหากคนนั้นไอหรือจามใส่คุณ คุณก็จะไม่ได้รับเชื้อ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัส

ทุกคนที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสนั้นสามารถเป็นโรคงูสวัสได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสนั้นคงอยู่ในร่างกายอยู่แล้วและสามารถถูกกระตุ้นได้ โรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุแต่มักจะเกิดในผู้ที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี

โรคงูสวัสนั้นเป็นโรคที่พบบ่อย และมีประชากรประมาณครึ่งหนึ่งที่เคยมีอาการของโรคนี้เมื่อมีอายุ 80 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เชื้อไวรัสนั้นมักจะถูกกระตุ้นเวลาที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอกว่าปกติ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเป็นโรคงูสวัสในเวลาที่ป่วยหรือเครียด

อาการของโรคงูสวัส

อาการในระยะแรกของโรคงูสวัสนั้นสามารถประกอบด้วยปวดหัว มีไข้ หนาวสั่น อย่างไรก็ตามอาการที่สังเกตได้ชัดเจนที่สุดก็คือมีตุ่มน้ำและเจ็บ

ตุ่มน้ำ

ตุ่มน้ำของโรคงูสวัสนั้นมีลักษณะคล้ายกับโรคอีสุกอีใส โดยเป็นตุ่มน้ำที่แตกได้และมีสารน้ำอยู่ภายในก่อนที่จะเกิดการตกสะเก็ด

แต่ที่ไม่เหมือนก็คืองูสวัสนั้นมักจะเกิดขึ้นที่ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยพบมากที่สุดที่ตามลำตัว โดยอาจจะเกิดรอบเอวที่ร่างกายด้านใดด้านหนึ่ง หรือใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ซึ่งหากเกิดที่ใบหน้าควรไปพบแพทย์ทันที

อาการปวด

อาการของโรคงูสวัสนั้นมักจะเกิดจากแนวเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดและรับสัมผัสที่ผิดปกติ ผิวหนังของคุณอาจจะรู้สึกแสบร้อนก่อนที่จะเกิดตมุ่น้ำ และคันหรือไวต่อสัมผัสมากกว่าปกติ

ความรุนแรงของอาการปวดนั้นมีหลายระดับและอาจจะรักษาโดยใช้ยาแก้ปวดทั่วไปได้ยาก แพทย์อาจจะมีการสั่งยาต้านเศร้าหรือยาในกลุ่มสเตียรอยด์ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดได้ในผู้ป่วยบางราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลลัพธ์ของโรค

ผู้ที่เป็นโรคงูสวัสส่วนใหญ่นั้นมักจะมีอาการปวดและไม่สบายตัวในระยะสั้นๆ ก่อนที่จะกลับมาเป็นปกติ ส่วนมากมักจะเป็นเพียงครั้งเดียวในชีวิต

งูสวัสนั้นเป็นโรคที่เป็นเพียงชั่วคราวและมักจะสามารถหายได้ภายใน 1 เดือน อย่างไรก็ตามอาจจะมีผลบางอย่างต่อสุขภาพนะระยยาวได้

อาการปวดเส้นประสาทจากโรคงูสวัสนั้นอาจจะคงอยู่ได้หลายสัปดาห์หรือหลายเดือนในผู้ป่วยบางราย โดยทั่วไปอาการปวดนั้นจะเป็นอยู่ได้นานขึ้นในผู้ที่สูงอายุ ผู้ที่อายุน้อยมักจะไม่มีอาการอื่นๆ หลังจากที่ตุ่มน้ำนั้นหายสนิท

ความก้าวหน้าทางการแพทย์เช่นวัคซีนนั้นอาจจะทำให้มีผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสและงูสวัสลดลงได้ในอนาคต

การป้องกันการแพร่เชื้อ

คุณมักจะแพร่เชื้อ varicella-zoster ได้น้อยกว่าเวลาที่เป็นโรคอีสุกอีใส แต่ก็สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกระทั่งแผลและตุ่มน้ำนั้นตกสะเก็ดและแห้ง

หากคุณเป็นโรคงูสวัสและไม่มีความผิดปกติอย่างอื่น คุณสามารถไปในที่สาธารณะหรือไปทำงานได้ตามปกติ แต่ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

ดูแลตุ่มน้ำที่เป็นให้สะอาดและปิดให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นมาสัมผัสกับตุ่มน้ำดังกล่าว

ล้างมือบ่อยๆ และพยายามอย่าสัมผัสตุ่มน้ำ

หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หญิงตั้งครรภ์ เพราะเชื้อ herpes-zoster นั้นสามารถส่งผลที่รุนแรงต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกได้ เช่นทำให้เกิดโรคปอดอักเสบและความผิดปกติแต่กำเนิด หากคุณสังเกตว่าคุณสัมผัสกับหญิงตั้งครรภ์ ควรแจ้งหญิงตั้งครรภ์ให้ไปพบสูตินรีแพทย์ และควรระมัดระวังเป็นพิเศษในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือไม่ได้รับวัคซีนป้องกันมาก่อน

หลีกเลี่ยงกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ เช่นทารกที่คลอดก่อนกำหนด เด็กเล็กที่มีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย และเด็กที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือได้วัคซีน หลีกเลี่ยงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่นผู้ที่ติดเชื้อ HIV, ผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนอวัยวะ และผู้ที่กำลังรับยากดภูมิหรือรับยาเคมีบำบัด

วัคซีน

วัคซีนสำหรับโรคงูสวัสนั้นแตกต่างจากวัคซีนโรคอีสุกอีใส โดยวัคซีนนี้สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัสและอาการปวดเส้นประสาทที่เกิดจากโรคได้

ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีควรพิจารณาฉีดวัคซีนนี้ ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการฉีดวัคซีน


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Is Shingles Contagious? How Do You Get Shingles?. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/is_shingles_contagious/article.htm)
Is shingles contagious, and how does it spread?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/312051)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป