โรคงูสวัสคืออะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคงูสวัสคืออะไร

งูสวัสนั้นเกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสที่ยังอาศัยอยู่ในเซลล์ประสาทนั้นถูกกระตุ้น อาหารที่มักจะพบในระยะแรกนั้นประกอบไปด้วยอาการปวดและแสบที่ผิวหนังเฉพาะส่วน

ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคนี้นั้นมักจะเกิดผื่นที่เป็นตุ่มน้ำ และอาจจะมีอาการคัน แสบ หรือปวดในระดับลึกได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยทั่วไปแล้ว มักจะมีอาการ 2-4 สัปดาห์และคนส่วนใหญ่มักจะกลับมาเป็นปกติหลังจากนั้น

แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างรดวเร็วจากการดูลักษณะผื่น

อาการระยะแรก

อาการระยะแรกของโรคงูสวัสนั้นอาจจะประกอบด้วยการมีไข้และอ่อนแรงทั่วๆ คุณอาจจะรู้สึกว่ามีอาการปวด แสบร้อนหรือแปล๊บที่ผิวหนังบางส่วน และหลังจากนั้นไม่กี่วันก็จะเริ่มเกิดผื่นขึ้น

คุณอาจจะเริ่มจากการสังเกตเห็นจุดสีแดงหรือชมพูที่ด้านหนึ่งของร่างกาย จุดเหล่านี้นั้นจะเกิดขึ้นตามเส้นประสาท บางคนอาจจะรู้สึกเจ็บขึ้นมาอย่างฉับพลันในบริเวณที่มีผื่นได้

ในระหว่างระยะแรกนี้ โรคนี้จะยังไม่ใช้โรคติดต่อ

ตุ่มน้ำ

ผื่นนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำที่มีลักษณะคล้ายกับโรคอีสุกอีใสอย่างรวดเร็ว และอาจจะมีอาการคันร่วมด้วย ตุ่มน้ำใหม่ๆ จะค่อยๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ ได้หลายวัน แต่จะพบตามตำแหน่งที่เฉพาะและไม่ได้ลามไปยังร่างกายส่วนอื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตุ่มน้ำเหล่านี้มักจะพบที่ตามลำตัวและใบหน้า แต่อาจจะเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ ในบางกรณีอาจจะพบที่ร่างกายส่วนล่างได้แต่พบได้น้อย

โรคงูสวัสนั้นไม่สามารถติดต่อไปยังคนอื่นได้ แต่ถ้าหากคุณไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนหรือไม่เคยได้รับวัคซีนอีสุกอีใส คุณอาจจะเป็นโรคอีสุกอีใสจากการสัมผัสตุ่มน้ำของผู้ที่เป็นโรคงูสวัสได้ เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกัน

การตกสะเก็ด

ตุ่มน้ำนั้นอาจจะแตกและเริ่มมีสารน้ำไหลออกมา ก่อนที่จะกลายเป็นสะเก็ดสีเหลืองและเริ่มแบนลง เมื่อแห้ง ก็จะเก็ดเป็นสะเก็ด ตุ่มน้ำแต่ละตุ่มนั้นจะต้องใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ก่อนที่จะกลายเป็นสะเก็ดทั้งหมด

ในระหว่างระยะนี้ อาการปวดมักจะลดลง แต่ก็ยังอาจจะมีอาการปวดได้นานหลายเดือนหรือในบางกรณีอาจจะเป็นหลายปี

เมื่อตุ่มน้ำนั้นตกสะเก็ดหมดแล้ว ก็จะมีความเสี่ยงต่ำในการแพร่เชื้อไวรัส

งูสวัสมักจะเกิดรอบๆ แนวกระดูกซี่โครงหรือเอว และอาจจะทำให้ดูเหมือนเป็นเข็มขัดหรือครึ่งหนึ่งของเข็มขัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นี่เป็นภาวะที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคงูสวัส และอาจจะเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างที่ร่างกายด้านหนึ่ง ตำแหน่งที่มีอาการนั้นอาจจะทำให้ใส่เสื้อผ้ารัดรูปไม่ได้

โรคงูสวัสที่ตา

งูสวัสนั้นอาจจะเกิดที่เส้นประสาทที่ควบคุมการรับความรู้สึกที่ใบหน้าและการเคลื่อนไหวภายในใบหน้า ในกรณีนี้ ผื่นนั้นจะเกิดรอบๆ ดวงตาและที่หน้าผากและจมูก และอาจจะทำให้มีอาการปวดหัวร่วมด้วยได้

อาการอื่นๆ ที่อาจจะพบเช่นตาแดงและบวม เยื่อบุตาหรือม่านตาอักเสบและหนังตาตก ภาวะนี้ยังอาจจะทำให้เกิดอาการตาเบลอหรือเห็นภาพซ้อนได้

โรคงูสวัสแบบแพร่กระจาย

มีผู้ที่เป็นโรคงูสวัสประมาณ 20% ที่จะเกิดผื่นที่ผิวหนังที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทคนละเส้นซึ่งหากมีหผื่นเกิดขี้นตามแนวผิวหนังที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทที่ต่างกันมากกว่า 3 ส่วนขึ้นไป ก็จะเรียกว่าโรคงูสวัสแบบแพร่กระจาย ในกรณีนี้ผื่นนั้นมักจะดูเหมือนโรคอีสุกอีใสมากกว่างูสวัส และมักจะเกิดในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

การติดเชื้อ

การที่มีแผลเปิดไม่ว่าจะเกิดจากอะไรนั้นจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียเสมอ คุณควรดูแลบริเวณที่เป็นแผลให้สะอาดและพยายามอย่าเกาเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำซ้อน โดยเฉพาะหากมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

การติดเชื้อรุนแรงนั้นอาจจะทำให้เกิดแผลเป็นอย่างถาวรที่ผิวหนังได้ หากมีการติดเชื้อควรไปพบแพทย์ทันทีเพราะการรักษาอย่างรวดเร็วนั้นอาจจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้

การฟื้นฟู

ผื่นในผู้ป่วยส่วนมากนั้นมักจะหายภายใน 2-4 สัปดาห์ แต่ก็มีบางคนที่อาจจะมีแผลเป็นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนมากมักจะหายเป็นปกติโดยที่ไม่เกิดแผลเป็น

ในบางรายอาจจะมีอาการปวดที่ตำแหน่งที่เกิดผื่นต่อเนื่องได้หลายเดือนหรือหลายปี

ถึงแม้ว่าคุณอาจจะเคยได้ยินว่าเมื่อเป็นโรคงูสวัสแล้วนั้นมักจะไม่เป็นอีก แต่ล่สุดพบว่าในผู้ป่วยบางคนอาจจะกลับเป็นซ้ำได้หลายครั้ง


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Shingles: Symptoms, pictures, treatments, and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/154912)
Shingles Pictures: What the Shingles Rash Looks Like. WebMD. (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/shingles/ss/slideshow-shingles-pictures)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป