กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

กระดูกคอทับเส้น (Herniated Disc) โรคจากความเสื่อมที่เจ็บปวดไม่ใช่เล่น

เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กระดูกคอทับเส้น (Herniated Disc) โรคจากความเสื่อมที่เจ็บปวดไม่ใช่เล่น

กระดูกสันหลังที่เชื่อมต่อกันตั้งแต่ส่วนคอลงมาถึงก้นกบ จะมีหมอนรองกระดูกทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมกระดูกแต่ละชิ้น รวมถึงช่วยให้กระดูกสันหลังยืดหยุ่นและรับแรงกระแทกได้ดีขึ้น แต่หากกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกนั้นเสื่อมสภาพและแตกออก กระดูกอ่อนที่อยู่ภายในอาจโผล่ออกมาทับเส้นประสาท จนทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้ โดยเฉพาะบริเวณ เอว หลัง และคอ เป็นส่วนที่มักเกิดกระดูกทับเส้นได้บ่อยๆ อาการที่พบได้ในผู้ที่เกิดกระดูกคอทับเส้น ได้แก่

  • ปวดคอและบ่า ร้าวไปถึงไหล่และท้ายทอย โดยเป็นอาการปวดเรื้อรัง ที่แม้รักษาโดยการใช้ยาหรือฝังเข็มแล้วก็สามารถกลับมาปวดใหม่ได้ อาการปวดจะรุนแรงเมื่อกระดูกทับถูกเส้นประสาท เช่น เวลาไอ จาม ในบางรายอาจปวดร้าวไปถึงแขนและขาได้
  •  รู้สึกชา หรือเสียวปลาบ บริเวณเส้นประสาทที่ถูกกดทับ รวมถึงบริเวณอื่นๆ ของร่างกายด้วย
  • อาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายไม่ถนัด เดินเหินไม่สะดวก และเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต

สาเหตุของกระดูกคอทับเส้น

  • อายุมากขึ้น ทำให้กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพไปตามวัย อาการนี้จึงมักเกิดกับผู้สูงอายุได้บ่อยกว่าวัยรุ่นหนุ่มสาว
  • ทำงานในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เช่น อยู่ในท่าก้มหรือแหงนมากเกินไป หนุ่มสาวออฟฟิศจึงมีโอกาสเกิดอาการนี้ได้สูงเช่นกัน
  • แบกหามของหนักเป็นประจำ การแบกของไว้บนบ่าหรือหลัง ทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นทำงานมากเป็นพิเศษ และเมื่อเวลาผ่านไปก็อาจส่งผลให้กระดูกผิดรูปจนทับเส้นประสาทได้
  • น้ำหนักตัวมากกว่าปกติ เพราะน้ำหนักตัวที่มากทำให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน นั่ง หรือนอน ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วกว่าคนที่น้ำหนักตัวน้อย
  • ประสบอุบัติเหตุ การกระแทกอย่างรุนแรง อาจทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกหักเสียหาย หรือหมอนรองกระดูกแตก จนมาทำเส้นประสาทได้
  • การสูบบุหรี่ สารเคมีในบุหรี่อาจส่งผลให้หมอนรองกระดูกเสียความยืดหยุ่น เมื่อกดโดนเส้นประสาทจึงรู้สึกเจ็บปวดได้

การรักษากระดูกคอทับเส้น

1. รักษาด้วยยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรักษาในเบื้องต้นจะเป็นการให้ยาระงับอาการก่อน ซึ่งยารักษานั้นมีหลายรูปแบบ เช่น

  • ยากิน ส่วนมากจะเป็นยาบรรเทาอาการปวด เช่น พาราเซตามอล และไอบูโพรเฟน และบางรายอาจได้รับยาคลายกล้ามเนื้อ แต่หากมีอาการปวดเรื้อรัง แพทย์อาจให้ยากลุ่ม Narcotics ซึ่งเป็นยาระงับปวดประเภทเสพติด เช่น โคเดอีน ซึ่งผู้รับยาอาจมีอาการข้างเคียงได้บ้าง เช่น สับสน มึนงง คลื่นไส้ นอกจากนี้ หากมีอาการปวดรุนแรง แพทย์อาจให้ยาระงับประสาทเพื่อบรรเทาอาการปวดที่เส้นประสาทโดยตรงด้วย
  • ยาฉีด จะเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์เพื่อระงับอาการปวดและการอักเสบ โดยจะฉีดเข้าไปบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง ยาจะออกฤทธิ์และบรรเทาอาการปวดได้ช่วงหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำให้หายขาด

2. ทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดควบคู่กับการให้ยา จะเป็นการช่วยลดอาการเจ็บปวดและช่วยให้การเคลื่อนไหวร่างกายดีขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการชาแปลบและกล้ามเนื้ออ่อนแรง นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำเรื่องการออกกำลังกาย และการปรับอิริยาบถให้เหมาะสม ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บในระยะยาวได้

3. การผ่าตัด

เป็นวิธีสุดท้ายที่จะใช้ หากรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น เช่น ในผู้ที่มีอาการรุนแรงจนเดินลำบาก ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ หรือปวดทรมานนานเป็นปี โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกส่วนที่ทับเส้นประสาทออก แต่การผ่าตัดก็มีความเสี่ยงพอสมควร เช่น เส้นประสาทอาจถูกทำลายจนเป็นอัมพาต ควบคุมร่างกายบางส่วนไม่ได้ ประสาทรับสัมผัสและความรู้สึกผิดเพี้ยนไป เกิดการติดเชื้อ รวมถึงต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน 1-2 เดือน ดังนั้น การผ่าตัดจึงต้องประเมินความเสี่ยงหลายๆ อย่าง และต้องทำโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

4. รักษาด้วยวิธีอื่น

บางครั้งอาจใช้การแพทย์ทางเลือกในการบรรเทาอาการปวดชั่วคราว เช่น การฝั่งเข็ม นวดกดจุด โยคะ ซึ่งจะช่วยลดความเจ็บปวดและช่วยการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายให้ดีขึ้น

การป้องกันกระดูกคอทับเส้น

  • ในการทำงานควรจัดท่าทางและอิริยาบถให้เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและยืดหยุ่น จะช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกได้
  • งดการสูบบุหรี่


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Slipped (Herniated) Disc: Symptoms, Causes, and Effects. Healthline. (https://www.healthline.com/health/herniated-disk)
Degenerative Disk Disease: Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/back-pain/degenerative-disk-disease-overview#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)