รู้จักไวรัสตับอักเสบชนิดต่างๆ ที่พบได้ในประเทศไทย ทั้ง เอ บี ซี ดี และอี

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
รู้จักไวรัสตับอักเสบชนิดต่างๆ ที่พบได้ในประเทศไทย ทั้ง เอ บี ซี ดี และอี

ไวรัสตับอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยไวรัสทั้งหมดมีลักษณะการติดต่อที่แตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส ซึ่งแบ่งเป็นประเภทที่พบได้ดังนี้

  1. ไวรัสตับอักเสบเอ [พบได้บ่อย]
  2. ไวรัสตับอักเสบบี [พบได้บ่อย]
  3. ไวรัสตับอักเสบซี
  4. ไวรัสตับอักเสบดี
  5. ไวรัสตับอักเสบอี

ชนิดของโรคไวรัสตับอักเสบ

โรคไวรัสตับอักเสบสามารถแบ่งอาการออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันได้แก่ ตับอักเสบเฉียบพลัน และ ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. โรคตับอักเสบเฉียบพลัน

เป็นโรคตับอักเสบที่เป็นไม่นานก็สามารถหายเองได้ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการเพียง 2 - 3 สัปดาห์และไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักหายขาดแต่ก็มีบางส่วนที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายก็รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

โดยผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต่างๆ ปวดข้อ มีอาการเวียนหัวเคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ในบางรายอาจจะพบผื่นขึ้นตามตัว มีอาการท้องเสีย มีปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลือ ตาเหลือง ในบางรายอาการตัวเหลืองนี้จะหายไปในระยะเวลา 1 - 2 สัปดาห์ แต่บางรายก็อาจจะนาน 2 - 3 เดือน แต่ส่วนใหญ่มักจะหายเป็นปรกติ

ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี มีเพียงร้อยละ 5 - 10 ที่มีโอกาสเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ส่วนผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี มีโอกาสเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ถึงร้อยละ 85

2. โรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง

ไวรัสตับอักเสบเรื้อรังเป็นโรคตับอักเสบที่มีอาการ นานเกินกว่า 6 เดือน โดยแบ่งได้อีกเป็น 2 ชนิดได้แก่

  • Chronic Persistent : เป็นอาการอักเสบแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่รุนแรงแต่อาจจะเกิดอาการอักเสบมากขึ้นมาได้
  • Chronic Active Hepatitis : เป็นอาการอักเสบที่เกิดจากตับถูกทำลายไปมาก และเกิดอาการตับแข็ง

ในผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการเกิดขึ้น แต่เชื้อไวรัสก็จะทำลายตับไปเรื่อยๆ จนเกิดอาการตับแข็ง และท้ายสุดก็จะกลายเป็นมะเร็งตับ

สาเหตุของการเกิดโรคตับอักเสบ

  • เกิดการการรับเชื้อไวรัสตับอักเสบ ที่มีหลายชนิดได้แก่ ชนิดเอ, บี, ซี, ดี, อี 
  • ดื่มเครื่องดื่มภาชนะร่วมกันกับผู้ป่วย/ผู้ที่เป็นพาหะ
  • ยาบางชนิดก็ก่อให้เกิดโรคตับได้ เช่น ยารักษาวัณโรค halothane, isoniazid, methyldopa, phenytoin, valproic acid, sulfonamide drugs. หากผู้ป่วยได้ acetaminophen หรือพาราเซ็ตตามอลในปริมาณสูงมากเกินก็สามารถทำให้ตับถูกทำลายได้
  • เกิดจากเชื้อโรคในบางชนิด เช่น ไทฟอยด์,มาลาเรีย 

จะทราบได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคตับอักเสบ

  • ตรวจการทำงานของตับโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการหาระดับของ SGOT[AST],SGPT [ALT] โดยค่าปกติจะน้อยกว่า 40 IU/L ถ้าหากมีค่ามากกว่า 1.5-2 เท่าให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าตับอักเสบ และหากพบว่าผิดปกติแพทย์จะขอตรวจเดือนละครั้งติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือนเพื่อยืนยันการเป็นโรค 
  • ตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการต่างๆ 
  • ตรวจดูโครงสร้างของตับ 
  • ตรวจชิ้นเนื้อของตับ โดยแพทย์จะนำชิ้นเนื้อตับไปตรวจเพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของโรค

ข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมของโรคไวรัสตับอักเสบประเภทต่างๆนั้น สามารถดูข้อมูลได้จากด้านล่างนี้ แยกเป็นลิงค์เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Adam Felman, different-hepatitis-virus-types-a-b-c-d-e (https://www.medicalnewstoday.com/articles/145869.php), November 24, 2017
April Kahn and Valencia Higuera, different-hepatitis-virus-types-a-b-c-d-e (https://www.healthline.com/health/hepatitis), May 9, 2017
webmd.com, different-hepatitis-virus-types-a-b-c-d-e (https://www.webmd.com/hepatitis/digestive-diseases-hepatitis#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป