กลุ่มยาซัลฟา Sulfonamides คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
กลุ่มยาซัลฟา Sulfonamides คืออะไร?

รู้จักยาซัลฟา 

ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) หรือ “ยาซัลฟา” เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย และยาเหล่านี้ยังอาจใช้รักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (UTIs) โรคหลอดลมอักเสบ โรคตาติดเชื้อ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย โรคปอดบวม หูอักเสบ แผลไหม้อย่างรุนแรง ท้องเสียจากการท่องเที่ยว (traveler's diarrhea) หรือโรคอื่นๆด้วย บางครั้งก็ใช้เพื่อควบคุมอาการชักและการเจ็บป่วยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง แต่ยานี้จะไม่สามารถรักษาอาการติดเชื้อไวรัสได้ เช่น หวัด หรือไข้ 

กลุ่มยา Sulfonamides จะออกฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในร่างกาย ยาเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบที่หลากหลายและอาจใช้เป็นยากิน ยาเฉพาะที่ ยาสำหรับใช้ที่ช่องคลอด ยาสำหรับรักษาตา เป็นต้น  การค้นพบกลุ่มยา sulfonamides เป็นการปูทางให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะเหล่านี้อย่างกว้างขวาง โดยยาซัลฟาชนิดแรกที่ชื่อ Prontosil ได้รับการทดลองใช้ในช่วงปี 1930

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลุ่มยาซัลฟาทั่วไป

ยาซัลโฟนาไมด์ (sulfonamides) ที่แพทย์ใช้ในการรักษาโดยทั่วไป ได้แก่:

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาซัลฟา

การแพ้ยา Sulfonamides

การแพ้ยาซัลฟาถือเป็นเรื่องปกติ อย่าลืมแจ้งให้แพทย์ทราบถ้าคุณแพ้สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือสัตว์ และหากคุณมีอาการแพ้ที่รุนแรง หรือเกิดภาวะฉุกเฉินเนื่องจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ไม่ว่าจะเป็นผื่น ลมพิษ หายใจติดขัด แน่นหน้าอก หรือมีอาการบวมที่หน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบโดยด่วน

คำเตือนในการใช้ยา Sulfonamide

  • ก่อนจะใช้ยา sulfonamide แพทย์จะต้องทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัวทั้งหมดของคุณโดยเฉพาะโรคไต โรคตับ โรคเลือด  เพราะ Sulfonamides อาจมีผลต่อระบบเลือด โดยเฉพาะถ้าคุณรับประทานยาประเภทนี้เป็นเวลานาน  
  • ยา sulfonamide ยังส่งผลให้มีอาการแพ้ที่ผิวหนังอย่างรุนแรง หรือแม้แต่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ด้วย ดังนั้นคุณต้องแจ้งให้แพทย์ทราบหากพบว่า มีผื่นขึ้น หรือผิวหนังเปลี่ยนไปอย่างผิดปกติ  แพทย์จะทำการติดตามผลการตอบสนองของร่างกายคุณต่อยาเหล่านี้บ่อยขึ้น และคุณจำเป็นต้องเข้าพบแพทย์และเข้าตรวจตามที่แพทย์นัดอย่างเคร่งครัด 
  • ไม่ควรใช้ยาเหล่านี้กับทารกที่มีอายุน้อยกว่า 2 เดือน 
  • ผู้สูงอายุอาจไวต่ออาการข้างเคียงจากการใช้ยา sulfonamides  ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จึงควรปรึกษากับแพทย์ก่อนใช้ยานี้ 
  • ก่อนจะใช้ยากลุ่ม sulfonamides แพทย์จำเป็นต้องรู้ว่า คุณรับประทานยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์จ่ายให้ ทั้งที่ซื้อใช้เอง ยาเสพติด ยาเสพติดเพื่อการผ่อนคลาย ยาสมุนไพร สารอาหารเสริม หรืออาหารเสริมที่คุณใช้ 
  • ก่อนจะเข้ารับการรักษาอื่นๆ เช่น การตรวจฟันหรือทำฟัน ต้องแจ้งด้วยว่า คุณกำลังอยู่ในช่วงที่ต้องใช้ยา sulfonamide
  • ยาชนิดนี้อาจทำให้ผิวของคุณไวต่อแสงแดดมากขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงการออกไปเจอแสงแดดโดยไม่จำเป็น หรือใช้ครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้าที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดขณะออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งด้วย 
  • ยากลุ่ม Sulfonamides อาจทำให้มีอาการวิงเวียน คุณจึงไม่ควรขับรถ หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิมากๆ จนกว่าคุณจะแน่ใจว่า ยานี้ส่งผลต่อคุณในด้านนี้อย่างไร  (หรือจนกว่าคุณจะจัดการกับอาการนี้ได้นั่นเอง) 
  • หลังจากใช้ยากลุ่ม sulfonamide แล้วพบว่า อาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย

ยากลุ่มซัลฟา สามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีได้เป็น 2 ประเภท/กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มยาเอริลามีนซัลโฟนาไมด์ (Arylamine Sulfonamides) ได้แก่  • ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มซัลโฟนาไมด์ เช่น ยาซัลฟามีโธซาโซล (Sulfamethoxazole) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยาโค-ไตรม็อกซาโซล (Co-trimoxazole) ยาซัลฟาไดอะซีน (Sulfadiazine) ยาซัลฟาซีทาไมด์ (Sulfacetamide) • ยาซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine) ที่ใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง(Ulcerative colitis) และโรคโครห์น (Crohn’s Disease) • ยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV infection) เช่น  ยาแอมพรีนาเวียร์ (Amprenavir)  ยาโฟแซมพรานาเวียร์ (Fosampranavir)
  2. กลุ่มยาที่มิใช่ยาเอริลามีนซัลโฟนาไมด์ (Non-arylamine Sulfonamides) ได้แก่ • กลุ่มยาที่ยับยั้งเอนไซม์คาร์บอนิกแอนไฮเดรส (Carbonic Anhydrase Inhibitors) เช่น ยาอะเซทาโซลาไมด์ (Acetazolamide) และยาดอร์โซลาไมด์ (Dorzolamide) ที่ใช้รักษาโรคต้อหิน • กลุ่มยาซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) เช่น  ยากลิคลาไซด์ (Gliclazide) ยากลิมิพีไรด์ (Glimepiride), ยาไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) ยากลิเพอริไซด์ (Gliperizide) • ยาในกลุ่มยาขับปัสสาวะ (Loop Diuretics/ Thiazide Diuretics) เช่น ยาฟรูเซไมด์ (Frusemide)  ยาบูเมทาไนด์ (Bumetanide)  ยาไฮโดรคลอโรไธอะไซด์ (Hydrochlorithiazide)  ยาอินดาพาไมด์ (Indapamide) ยามีโทลาโซน (Metolazone)  ยาคลอร์ไธลิโดน (Chlorthalidone)  ยาไดอะโซไซด์ (Diazoxide) • ยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบ (Anti-inflammatory) เช่น  ยาเซเลค็อกซิบ (Celecoxib)  ยาวาลเดค็อกซิบ (Valdecoxib) • ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น  ยาแดปโซน (Dapsone) • ยารักษาโรคไมเกรน เช่น ยาซูมาทริปแทน (Sumatriptan)  ยานาราทริปแทน (Naratriptan) • ยาต้านชัก/ยากันชัก เช่น  ยาโทพิราเมต (Topiramate) ยาโซนิซาไมด์ (Zonisamide) • ยารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น  ยาโซทาลอล (Sotalol) • ยารักษาโรคเกาต์ เช่น ยาโพรเบเนซิด (Probenecid)

ยา Sulfonamides กับการรักษาสิว

ยา Co-trimoxazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม sulfa เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่เป็นสิวอักเสบ มักใช้ในผู้ที่เป็นสิวอักเสบรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมากเท่านั้น ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ เนื่องจากจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ยังมียาทางเลือกอื่นๆ อีก เช่น ยากลุ่ม tetracyclines  macrolides

ยา Sulfonamides และการตั้งครรภ์

  • การทดลองกับสัตว์แสดงให้เห็นว่า ยากลุ่มนี้อาจส่งผลให้เด็กที่เกิดมีความพิการมาแต่กำเนิด (birth defects) ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์ หรืออาจจะตั้งครรภ์ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับประทานยาประเภทนี้ 
  • ยาเหล่านี้สามารถเข้าไปผสมกับน้ำนมได้ ดังนั้นห้ามให้นมลูกถ้ากำลังใช้ยาประเภท sulfonamide อยู่

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bethany Cadman, What to know about sulfa allergies (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321349.php), 14 January 2019.
Jill Seladi-Schulman, PhD, What Is a Sulfa Allergy? (https://www.healthline.com/health/sulfa-allergy), 22 December 2017.
Lynn Marks, What Are Sulfonamides? (https://www.everydayhealth.com/sulfonamides/), 12 January 2015.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)