กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 8

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 8

มาถึงในเดือนที่ 8 นี้ พัฒนาการของทารกในครรภ์ ตัวจะยาวประมาณ 16-18 นิ้ว หรือขนาดประมาณมัวแกว น้ำหนักตัวประมาณ 2,000-2,500 กรัม ศีรษะโตเต็มที่ ทารกจะได้ยินเสียงและมองเห็นได้ อวัยวะภายในสมบูรณ์และเริ่มทำงาน ยกเว้นปอดที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยในช่วงนี้ทารกจะเริ่มหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าไปเพื่อฝึกการทำงานของปอด

ในเดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่คุณแม่สามารถรู้สึกได้ดังนี้

  • ทารกในครรภ์จะดิ้นแรงขึ้น และสม่ำเสมอ
  • อาจจะท้องผูกบ่อยมากขึ้น
  • อาจมีอาการปวดแสบกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องอืด
  • ปวดศีรษะเป็นครั้งคราว ตาพร่า และอาจเป็นลมบ่อย
  • คัดจมูก อาจมีเลือดกำเดาไหล และหูอื้อบ้าง
  • เลือดออกตามไรฟันเวลาแปรงฟันได้ง่ายกว่าปกติ
  • เป็นตะคริวที่ขาบ่อย
  • บวมที่ข้อเท้า และหลังเท้า อาจบวมที่หน้าและมือด้วย
  • คันผิวหนังบริเวณหน้าท้อง
  • มีอาการปวดหลัง
  • หลอดเลือดขอดที่ขา
  • เป็นริดสีดวงทวารบ่อยหรือง่ายกว่าปกติ
  • หายใจตื้น และหายใจลำบาก
  • นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท
  • มดลูกจะหดตัวถี่ขึ้น
  • อุ้ยอ้าย และเสี่ยงต่อการหกล้ม ควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ
  • มีน้ำนมเหลืองไหลออกทางหัวนม
  • ขี้ลืมมากขึ้น
  • ตื่นเต้น และวิตกกังวล

สิ่งที่แพทย์ผู้ดูแลครรภ์จะให้คุณทำในช่วงเดือนนี้ได้แก่

  1. ชั่งน้ำหนักตัวและวัดความดันเลือด
  2. ตรวจน้ำตาลและสารไข่ขาวในปัสสาวะ
  3. ฟังเสียงเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์
  4. ตรวจขนาดและรูปร่างของมดลูก โดยการตรวจบริเวณหน้าท้อง
  5. ความสูงของระดับยอดของมดลูก
  6. อาการบวมที่มือและเท้า และหลอดเลือดที่ขา
  7. อาการผิดปกติต่างๆ (ถ้ามี)

สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษในเดือนนี้คือ

  1. ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไกล เพื่อป้องกันปัญหาการคลอดก่อนกำหนด หรือไม่สามารถติดต่อกับแพทย์ผู้ดูแลได้ทัน หากจำเป็นจริงๆ ควรปรึกษาแพทย์และขอใบรับรองจากแพทย์ว่าสามารถเดินทางได้ในกรณีที่ต้องเดินทางโดยเครื่องบิน ในกรณีที่ต้องเดินทางโดยรถยนต์ ไม่ควรจะขับรถเอง
  2. การเลือกวิธีการคลอดลูกให้เหมาะสม อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลอดลูกตามธรรมชาติ หรือการผ่าตัดคลอด
  3. อาจเกิดการหดเกร็งของมดลูก ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนก่อนคลอด การหดรัดตัวของมดลูกจะไม่ทำให้เจ็บมากนักและจะคลายไปในที่สุด ให้นอนพักหรืออยู่นิ่งๆ จะทำให้อาการปวดลดลง อาการจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไปจนเดือนสุดท้ายจะเป็นการเจ็บครรภ์เตือนและนำไปสู่การเจ็บครรภ์จริงโดยมีการเปิดของปากมดลูกร่วมด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การคลอดตามมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
32 Weeks Pregnant. Your baby is the size of a cantaloupe (https://www.whattoexpect.com/p...)
Your pregnancy: 32 weeks (https://www.babycenter.com/32-...)
Pregnancy Week 32 (https://americanpregnancy.org/...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า(Pubic Bone)ในช่วงตั้งครรภ์
อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า(Pubic Bone)ในช่วงตั้งครรภ์

แนวประสานกระดูกหัวเหน่ามีความผิดปกติ (Symphysis Pubis Dysfunction)

อ่านเพิ่ม