อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า(Pubic Bone)ในช่วงตั้งครรภ์

แนวประสานกระดูกหัวเหน่ามีความผิดปกติ (Symphysis Pubis Dysfunction)
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า(Pubic Bone)ในช่วงตั้งครรภ์

อาการปวดกระดูกหัวเหน่าคืออะไร?

อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า (Pubic Bone) ในช่วงตั้งครรภ์  ยังมีการเรียกอีกอย่างว่า Symphysis Pubic Diastasis (SPD) สาเหตุเกิดจาก ฮอร์โมน relaxin ในช่วงใกล้คลอด ทำให้อุ้งเชิงกราน และกระดูกหัวเหน่า (Pubic Bone) หลวมขึ้น ซึ่งเป็นการดีสำหรับการคลอด แต่ในบางคน ก็เกิดการแยกของกระดูกมากไป ทำให้เกิดอาการปวดในช่วงใกล้คลอดหรือช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด หรือ (postpartum period) หญิงท้องเริ่มมีอาการเดินไม่สะดวก ฮอร์โมน Relaxin ทำให้เนื้อเยื่อเอ็น ของกระดูกเชิงกรานหลวมและหย่อนยาน ทำให้ปวดเวลาเคลื่อนที่ เมื่อเดิน ยืนหรือพยายามที่จะใส่ขากางเกงหรือก้าวออกจากอ่างอาบน้ำ อาการปวดมากจะเกิดบริเวณด้านหน้าของกระดูกหัวเหน่า (ด้านในของขนเพชร หรือ pubic hair)

"ฉันรู้สึกเหมือนฉันถูกดึงเป็นสองส่วน" แม่ท้องลูกที่สี่กล่าว ฉันตกจากเตียงเพราะขาของฉันไม่สามารถแยกจากกัน เข็มขัดรัดท้องช่วยให้ฉันผ่านการตั้งครรภ์ไปได้ ฉันต้องสั่งพิเศษ แต่มันก็คุ้มค่า แพทย์แนะนำฉันให้ว่ายน้ำออกกำลังกายเพราะฉันไม่สามารถเดินได้ อาจแปลกๆในช่วงแรก ฉันต้องว่ายน้ำท่านางเงือกคือ ขาของฉันต้องติดกัน ซึ่งช่วยได้ดีจริงๆ" อแมนดาแม่ท้องที่สองกล่าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีการรักษาอาการปวดกระดูกหัวเหน่า (Pubic Bone)

รักษาสมดุลกระดูกเชิงกราน ของคุณผ่านอุปกรณ์รัดท้องสำหรับหญิงตั้งครรภ์  เปลสำหรับคนคลอด (Prenatal Cradle) หรือผ้ารัด อาจทำงานดีกว่าแบบอื่นๆ ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้กายภาพบำบัด ซึ่งอาจช่วยได้ในระยะยาว อาจมีปัญหาเรื่องเวลาแต่ก็คุ้มค่า อาจขอคำแนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถทำที่บ้านเพื่อลดปัญหาเรื่องเวลา หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอาการปวด การนั่งใส่กางเกงหรือนั่งบนด้านข้างของอ่างอาบน้ำและแกว่งขาทั้งสอง จะช่วยลดความเจ็บปวดได้บ้าง หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน  สวมรองเท้าที่เหมาะสมถ้าคุณต้องยืนมากๆ ใช้ถุงใส่ข้าวที่อุ่นร้อนประคบบริเวณกระดูกเชิงกรานของคุณ ซึ่งมีความปลอดภัยและสามารถหลีกเลี่ยงการใช้ยา และยาแก้ปวดที่มีความเหมาะสมแนะนำโดยแพทย์ อาจช่วยลดอาการได้ ข่าวดีก็คือหลังจากการคลอด ร่างกายจะ หยุดผลิตฮอร์โมน Relaxin


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih.gov, Pain of Pubic Bone (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3057740/)
healthline.com, Pain of Pubic Bone (https://www.healthline.com/health/osteitis-pubis), January 28, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)