รวมสาเหตุที่ทำให้ต่อมน้ำลายมีปัญหาพร้อมวิธีรักษา

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รวมสาเหตุที่ทำให้ต่อมน้ำลายมีปัญหาพร้อมวิธีรักษา

ต่อมน้ำลายมีหน้าที่ผลิตน้ำลาย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการหล่อลื่นช่องปาก ช่วยในการกลืนอาหาร ปกป้องฟันจากแบคทีเรีย และช่วยในการย่อยอาหาร ทั้งนี้มีต่อมน้ำลาย 3 คู่ที่สำคัญดังนี้

  • ต่อมน้ำลายพาโรติด (Parotid Glands) – อยู่ภายในกระพุ้งแก้ม
  • ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร (Submandibular glands) – อยู่ใต้กระดูกขากรรไกร
  • ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (Sublingual Glands) – อยู่ใต้ลิ้น

นอกจากนี้ยังมีต่อมน้ำลายเล็กๆ อีกหลายร้อยต่อมที่อยู่ในช่องปากและคอ ซึ่งน้ำลายจะไหลเข้ามาในปากผ่านท่อเล็กๆ เมื่อต่อมน้ำลายหรือท่อมีปัญหา มันก็อาจทำให้เกิดอาการอย่างต่อมน้ำลายบวม ปากแห้ง ปวด เป็นไข้ และรู้สึกได้ถึงรสชาติที่ไม่ดีในช่องปาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุที่ทำให้ต่อมน้ำลายมีปัญหา

1.นิ่วต่อมน้ำลาย 
สาเหตุที่ทำให้ต่อมน้ำลายบวมที่พบได้มากที่สุดคือ การเป็นนิ่วต่อมน้ำลาย ซึ่งนิ่วสามารถไปขัดขวางการไหลของน้ำลาย เมื่อน้ำลายออกจากท่อไม่ได้ มันก็จะไหลกลับไปยังต่อม และทำให้รู้สึกเจ็บและมีอาการบวม ซึ่งความเจ็บที่เกิดขึ้นนั้นมักเป็นๆ หายๆ และอาการก็จะแย่ลง นอกจากนี้ต่อมน้ำลายมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อหากไม่ทำให้หายอุดตัน
2.โรคต่อมน้ำลายอักเสบ
การติดเชื้อแบคทีเรียของต่อมน้ำลายมักพบได้ที่ต่อมพาโรทิด ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อท่อน้ำลายในปากอุดตัน ผู้ป่วยจะมีก้อนที่ทำให้รู้สึกเจ็บที่ต่อมน้ำลาย และมีน้ำหนองที่มีกลิ่นชวนคลื่นไส้ไหลเข้ามาในปาก ทั้งนี้เรามักพบโรคต่อมน้ำลายอักเสบในผู้ใหญ่ที่มีนิ่วในต่อมน้ำลาย แต่มันก็สามารถเกิดขึ้นกับทารกในระหว่าง 2-3 สัปดาห์แรกหลังเกิด หากไม่ได้รับการรักษา มันก็จะทำให้ความเจ็บทวีความรุนแรง ทำให้มีไข้สูง และทำให้เกิดฝี
3.การติดเชื้อไวรัส
การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดโรคคางทูม โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอื่นๆ ก็สามารถทำให้ต่อมน้ำลายบวมได้ ซึ่งอาการบวมเกิดขึ้นในต่อมพาโรติดทั้งสองข้างของใบหน้า แต่โดยมากแล้วจะมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคคางทูม และเกิดขึ้นประมาณ 30%-40% ซึ่งอาการบวมมักเกิดขึ้นหลังจากที่มีอาการอื่นๆ อย่างการเป็นไข้หรือปวดศีรษะประมาณ 48 ชั่วโมง นอกจากนี้การติดเชื้อแบคทีเรียก็ทำให้ต่อมน้ำลายข้างหนึ่งบวมได้เช่นกัน และมักส่งผลต่อต่อมพาโรทิด การที่ร่างกายขาดน้ำหรือสารอาหารจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น
4.ซีสต์
ซีสต์สามารถเกิดขึ้นในต่อมน้ำลายเมื่อมีการบาดเจ็บ ติดเชื้อ มีเนื้องอก หรือนิ่วในต่อมน้ำลายไปขัดขวางการไหลของน้ำลาย อย่างไรก็ดี  ทารกบางคนเกิดมาพร้อมกับซีสต์ที่พบในต่อมพาโรทิด เนื่องจากมีปัญหากับการพัฒนาใบหู การมีซีสต์อาจเป็นอุปสรรคต่อการทานอาหารหรือการพูด
5.เนื้องอก
มีเนื้องอกหลายชนิดที่สามารถส่งผลต่อต่อมน้ำลาย ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งก้อนเนื้อร้ายและก้อนเนื้อธรรมดา ทั้งนี้มีเนื้องอก 2 ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือ

  • Pleomorphic adenomas: ส่วนมากจะส่งผลต่อต่อมพาโรทิด แต่ก็สามารถส่งผลต่อต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร และต่อมน้ำลายขนาดเล็กอื่นๆ เช่นกัน เนื้องอกชนิดนี้มักไม่ทำให้รู้สึกเจ็บและเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดาที่พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • Warthin's tumor: เป็นก้อนเนื้อธรรมดาที่ส่งผลต่อต่อมพาโรทิด ซึ่งก้อนเนื้อชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งสองด้านของใบหน้า และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

6.โรค Sjögren

โรคนี้เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองเรื้อรังที่เซลล์ของระบบภูมิต้านทานทำลายต่อมน้ำลายและต่อมที่ช่วยผลิตความชื้นอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปากและตาแห้ง นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้กว่าครึ่งหนึ่งที่มีต่อมน้ำลายใหญ่ขึ้นทั้งสองข้างของใบหน้า แต่มักไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ

การรักษา

การรักษาต่อมน้ำลายนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากมีก้อนนิ่วหรือมีการอุดตันที่ท่อต่อมน้ำลาย การรักษาก็มักเริ่มต้นจากการนำก้อนนิ่วออกไป การประคบอุ่น หรือการทานลูกอมรสเปรี้ยวเพื่อเพิ่มการไหลของน้ำลาย หากสิ่งเหล่านี้ไม่ช่วย แพทย์ก็อาจใช้วิธีผ่าตัดเพื่อนำสิ่งอุดตันออกไป
หากมีเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายและเนื้อธรรมดา แพทย์ก็อาจใช้วิธีผ่าตัด ฉายแสง หรือเคมีบำบัด นอกจากนี้การผ่าตัดก็เป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาซีสต์ขนาดใหญ่เช่นกัน สำหรับปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายนั้น แพทย์ก็อาจจ่ายยาให้ ตัวอย่างเช่น หากติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์ก็จะรักษาโดยให้ผู้ป่วยทานยาปฏิชีวนะ

ที่มา: https://www.webmd.com/oral-hea...


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Salivary Gland Disorders. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/salivaryglanddisorders.html)
Salivary Gland Disorders: Causes, Symptoms, and Diagnosis. Healthline. (https://www.healthline.com/health/salivary-gland-disorders)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)