กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจเป็นผลมาจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร

ปวดท้องแน่นหน้าอก อาการที่อาจเกิดจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร ไม่ใช่โรคหัวใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจเป็นผลมาจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร

โรคแผลในกระเพาะอาหารเป็นภาวะความเจ็บป่วยที่พบได้บ่อย และมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นปัญหาโรคหัวใจ เพราะโรคแผลในกระเพาะอาหาร มักทำให้มีอาการที่แยกได้ยากจากอาการเจ็บแน่นหน้าอกจากภาวะหัวใจขาดเลือด (Angina) หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือหัวใจวาย (Heart attack)

โรคแผลในกระเพาะอาหารคืออะไร

โรคแผลในกระเพาะอาหาร แผลจะเกิดขึ้นที่เยื่อบุกระเพาะ หรือลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม (Duodenum) ซึ่งเป็นลำไส้เล็กส่วนแรก แผลเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ซึ่งโดยทั่วไปจะแสดงออกในลักษณะอาการปวดท้อง บริเวณลิ้นปี่ แต่ในบางครั้งก็ทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษาโรคทางเดินอาหาร วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 116 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ลักษณะของอาการปวดจากแผลในกระเพาะอาหาร

อาการปวดจากแผลในกระเพาะอาหาร มักจะถูกบรรยายว่า เป็นอาการปวดแสบปวดร้อน ซึ่งจะบรรเทาได้โดยการกินอาหาร และแย่ลงเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือบริโภคคาเฟอีน โดยอาจมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย 

นอกจากนั้น ยังมีอาการแสบร้อนขึ้นยอดอก (Heartburn) ที่มีอาการคล้ายกับโรคหัวใจ ที่สามารถพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารเช่นกัน

สาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร

  • แผลในกระเพาะอาหารเกิดขึ้น เมื่อเยื่อเมือกที่ปกป้องเยื่อบุทางเดินอาหารส่วนต้นถูกทำลาย หรือการสร้างกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น 
  • สภาวะที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ง่ายขึ้น จะพบได้มากที่สุดในผู้ที่มีแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor pylori: H.Pylori) ในทางเดินอาหาร
  • การใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

แผลในกระเพาะอาหาร vs อาการเจ็บแน่นอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ปกติแล้ว แพทย์จะแยกอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากแผลในกระเพาะอาหาร กับอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ไม่ยาก เนื่องจากสาเหตุของอาการเจ็บทั้งสองอย่างค่อนข้างแตกต่างกัน โดยอาการเจ็บจากแผลในกระเพาะอาหารไม่ได้ถูกกระตุ้นจากการออกกำลังกาย และไม่ดีขึ้นเมื่อพัก 

นอกจากนั้น อาการปวดแสบร้อน ท้องอืด และคลื่นไส้ ก็แตกต่างจากอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตามปกติที่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease: CAD) พอสมควร 

อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็เกิดอาการที่ไม่เป็นไปตามปกติ การส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แน่ชัดก็เป็นสิ่งจำเป็น

การวินิจฉัยโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  • การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร (Endoscopy) เป็นการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารด้วยหัวตรวจที่โค้งงอได้ เพื่อวินิจฉัยแผลในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะในผู้ที่มีเลือดออก หรือมีอาการรุนแรง 
  • การตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย H.Pylori 
  • การตรวจทางเอ็กซเรย์ของทางเดินอาหารส่วนต้น
  • หากแพทย์กังวลว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจตรวจสมรรถภาพหัวใจ (Stress test) ร่วมด้วย

การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  • ยาปฏิชีวนะ เพื่อกำจัดแบคทีเรีย H.Pylori โดยมักให้ยาเป็นเวลา 2 สัปดาห์
  • ยาลดการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร มักรวมถึงกลุ่มยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (Proton pump inhibitor: PPIs) เช่น Omeprazole (Prilosec) และ Histamine (ฮิสทามีน)
  • ยาลดกรด (Antacids) หรืดยาลดการผลิตกรด (H2-blockers)  เช่น Ranitidine (Zantac) เพื่อลดความเป็นกรดในกระเพาะ

ในบางโอกาสซึ่งเป็นไปได้ยากมาก แผลในกระเพาะอาหารจะไม่สามารถหายได้ด้วยการรักษาดังกล่าว อาจต้องใช้การผ่าตัดแทน อย่างไรก็ตาม การรักษาทางยาได้พัฒนามากขึ้นในช่วงหลายสิบปีมานี้ ทำให้ความจำเป็นในการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารด้วยการผ่าตัดลดน้อยลงไปมาก


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Peptic Ulcer Disease Clinical Presentation: History, Physical Examination. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/181753-clinical)
Respiratory distress and chest pain: a perforated peptic ulcer with an unusual presentation. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3133999/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป