กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะมีลมในช่องท้อง ท้องอืด และมะเร็งลำไส้ใหญ่

ถอดรหัสสัญญาณแสดงอาการปวดในทางเดินอาหาร
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะมีลมในช่องท้อง ท้องอืด และมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาการท้องอืดมักเกิดหลังงานฉลองวันขอบคุณพระเจ้าหรือหลังกินบูร์ริโต (Burrito) กับถั่วจำนวนมาก แต่ภาวะมีลมในท้องและท้องอืดเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ดังนั้น จึงควรให้ความสนใจกับอาการปวดในทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่ร่างกายของคุณแจ้งเตือนให้คุณทราบถึงสิ่งผิดปกติในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ของคุณ

ภาวะมีลมในช่องท้องและท้องอืดคืออะไร?

หากต้องนับจำนวนครั้งที่เกิดอาการผายลมสามารถนับได้ถึง 23 ครั้งต่อวัน ภาวะมีลมในช่องท้องเป็นผลพลอยได้จากการย่อยอาหาร ภาวะมีลมในช่องท้องและท้องอืดเป็นไปได้ทั้งอาการปกติของระบบทางเดินอาหารหรือเป็นภาวะที่มีปัญหา เมื่ออาหารหรือเครื่องดื่มเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหาร ลมที่ปล่อยออกมาทำให้คุณรู้สึกแน่นหรืออึดอัด ลมที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดอาการท้องอืด ก๊าซที่เกิดในระบบย่อยอาหาร คือ การผสมกันระหว่างชนิดไอระเหยและไม่มีกลิ่น เช่น ไนโตรเจนและออกซิเจน และ ก๊าสมีกลิ่น คือ กำมะกัน ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียดีในลำไส้ใหญ่ซึ่งจะถูกปล่อยออกมาในช่วงสุดท้ายของการย่อยอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษาโรคทางเดินอาหาร วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 116 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รักษาสาเหตุแล้วตามด้วยรักษาอาการ

ภาวะเกิดลมในช่องท้องและท้องอืดมีหลายสาเหตุนอกเหนือจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการเหล่านี้อาจจะเป็นผลจากอาหารที่คุณกินหรือระบบทางเดินอาหารอาจส่งสัญญาณเตือนภัยว่าคุณได้กินอาหารเป็นพิษ โรคทางเดินอาหารอื่นๆ ที่สามารถก่อให้เกิดภาวะมีลมในช่องท้องและท้องอืด มีดังนี้

  • โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel disease)
  • ภาวะแพ้แลคโตส (Lactose intolerance)
  • มีการผ่าตัดช่องท้อง (Abdominal surgery)
  • โรคลำไส้อักเสบ (Crohn’s disease)
  • อาการลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome)
  • ลำไส้ใหญ่มีแผลอักเสบ (Ulcerative colitis)
  • อาการปวดท้องตำแหน่งส่วนโค้งลำไส้ใหญ่ (Splenic-flexure syndrome)
  • ริดสีดวงภายในลำไส้ (Internal hernias)
  • เนื้อเยื่อแผลเป็นจากการผ่าตัดหรือได้รับบาดเจ็บ (Adhesions (scar tissue from surgery or injury)

อาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการท้องอืด

อาหารและเครื่องดื่มบางชนิดที่สามารถก่อให้เกิดลมในช่องท้อง (และกลิ่นเหม็น) มีดังนี้

  • เบียร์และน้ำอัดลม (ประเภทมีฟอง)
  • หัวหอม
  • ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (เต้าหู้/นมถั่วเหลือง)
  • ถั่วงอก 
  • ธัญพืช
  • แตงกวา
  • ผลิตภัณฑ์นม (ชีส นม เนย)
  • อาหารแปรรูป
  • เส้นใยที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ
  • ผักตระกูลกะหล่ำ (ดอกกะหล่ำและบรอกโคลี)

อาหารบางรายการอาจเพิ่มกลิ่นเหม็นของลมในท้อง รวมทั้งหน่อไม้ฝรั่ง ไข่ กระเทียม หัวหอม ปลา และผักตระกูลกะหล่ำ

การลดลมในช่องท้อง

คุณสามารถเริ่มต้นทำรายการอาหารประจำวันเพื่อดูว่าอาหาชนิดใดที่ก่อให้เกิดก๊าซ ควรทำเป็นตารางแสดงชนิดอาหารหรือเครื่องดื่มที่คุณกินและอาการและความรู้สึกไม่สบายหลังจากทานอาหารชนิดนั้น เช่น นมและรายงานผลของอาการให้แพทย์ทราบ ควบคู่ไปกับอาหารที่คุณกิน

ภาวะท้องอืดและมีลมในช่องท้อง อาจเกิดจากระบบการเคี้ยวหรือกลืนอาหาร หรือนิสัยอื่นๆ ที่ทำขณะกินอาหาร ที่พบบ่อยๆ คือ

  • การสูบบุหรี่
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง
  • การรับประทานอาหารเร็วเกินไป
  • ฟันปลอมที่ไม่กระชับ
  • ดื่มน้ำหรือของเหลวผ่านหลอด
  • กลืนอากาศ หรือ อ้าปากขณะกิน

สิ่งที่เข้าไปในร่างกายจะต้องผ่านออกมา ไม่ว่าจะผ่านระบบทางเดินอาหารส่วนบน (เช่น การเรอ) หรือผ่านระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง (ผายลม) อากาศที่เข้าไปในร่างกายมากเท่าใด ไม่ว่าจะเป็นลมที่เกิดจากเครื่องดื่มหรืออาหาร ร่างกายมีขบวนการที่ต้องขับก๊าซหรือลมออกจากร่างกายมากขึ้น เพื่อลดอาการปวดจากภาวะท้องอืด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษาโรคทางเดินอาหาร วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 116 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะมีลมในช่องท้องและมะเร็งลำไส้ใหญ่

ภาวะมีลมในช่องท้องและอาการท้องอืดเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การอุดตันภายในลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากเนื้องอกอาจนำไปสู่ภาวะมีลมในช่องท้องและท้องอืดได้ หากคุณมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคทางพันธุกรรมเนื้องอก หรือมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรพูดคุยกับแพทย์ของคุณเกี่ยวกับการนัดเพื่อตรวจสอบคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

การทดสอบ

หากคุณมีภาวะมีลมในช่องท้องและท้องอืด และรู้สึกไม่สบายบ่อยๆ (ไม่ได้เป็นเรื่องเพียงครั้งเดียวหลังจากทาอาหารมื้อใหญ่) แพทย์อาจสั่งให้มีการทดสอบบางอย่างเพื่อหาสาเหตุ ดังนี้

  • เอกซเรย์ช่องท้อง
  • ตรวจระบบกระเพาะและลำไส้ส่วนบน (Upper gastrointestinal series)
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (sigmoidoscopy)
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (colonoscopy)

การทดสอบเหล่านี้พร้อมกับตรวจประวัติเจ็บไข้ของครอบครัวจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยความผิดปกติของทางเดินอาหารที่เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น (รวมทั้งโรคมะเร็ง) ที่อาจก่อให้เกิดภาวะมีลมในช่องท้องและท้องอืด

ภาวะมีลมในช่องท้องหลังจากการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

ถ้าคุณได้รับการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการผ่าตัดลำไส้ (colectomy) และได้รับการทำเปลี่ยนช่องทางอุจจาระ (colostomy) แพทย์จะสั่งให้คุณกินอาหารกากใยน้อยประมาณหนึ่งสัปดาห์ อาหารที่คุณกินจะย่อยง่ายและไม่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายจากภาวะมีลมในช่องท้องและท้องอืด ควรระมัดระวังเป็นพิเศษกับนิสัยการขับถ่ายของลำไส้ การทำเปลี่ยนช่องทางอุจจาระ (colostomy) อาจทำให้เกิดท้องผูก การใช้วิธีสวนอุจจาระอาจนำไปสู่การระคายเคืองของลำไส้ใหญ่และเกิดภาวะมีลมในช่องท้องมากเกินไป


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bowel cancer - Symptoms. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/bowel-cancer/symptoms/)
Colon Cancer vs. IBS: Differences between Symptoms & Signs. eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/colon_cancer_vs_ibs_irritable_bowel_symptoms/article_em.htm)
7 colon cancer symptoms in men. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324880)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจเป็นผลมาจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร
อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจเป็นผลมาจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร

ปวดท้องแน่นหน้าอก อาการที่อาจเกิดจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร ไม่ใช่โรคหัวใจ

อ่านเพิ่ม
โรคกระเพาะอาหาร แผลที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร แผลที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร

หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด อาการเด่นของโรคกระเพาะอาหาร โรคยอดฮิตของคนที่กินอาหารไม่ตรงเวลา

อ่านเพิ่ม
รู้จัก “ไฟโบรสแกน” เทคโนโลยีตรวจตับแบบใหม่ที่หลายคนยังไม่รู้
รู้จัก “ไฟโบรสแกน” เทคโนโลยีตรวจตับแบบใหม่ที่หลายคนยังไม่รู้

ไฟโบรสแกน เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการตรวจโรคเกี่ยวกับตับ โดยจะใช้เพื่อตรวจหาไขมันที่สะสมอยู่ในตับและภาวะพังผืดในเนื้อตับโดยเฉพาะ

อ่านเพิ่ม