7 อาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยรับมือกับโรคกรดไหลย้อน

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 อาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยรับมือกับโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อนถือเป็นโรคหนึ่งที่พบได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ เกิดจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ส่งผลให้มีอาการแสบร้อนกลางอก ท้องอืด แน่นท้อง เจ็บหน้าอก มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมในปาก คลื่นไส้ เป็นต้น ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

7 อย่างที่ช่วยต้านทานกรดไหลย้อน

นอกจากการรับประทานยาจะช่วยบรรเทาอาการได้แล้ว การเลือกอาหารที่รับประทานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยรับมือกับโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน ดังนั้นหากอยากมีสุขภาพที่ดีขึ้น 7 สิ่งต่อไนี้จะช่วยคุณได้ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ขิง

ขิงมีสารช่วยต้านการอักเสบ สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคกรดไหลย้อนได้ อีกทั้งยังช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้จากเมารถ เมาเรือได้เป็นอย่างดีด้วย คุณสามารถทำน้ำขิงง่ายๆได้เองที่บ้าน โดยหั่นขิงสดเป็นชิ้นบางๆ ใส่ในน้ำร้อน และไม่แนะนำเครื่องดื่มขิงที่ผสมโซดา หรือจิงเจอร์เอลล์(Ginger ale) เพราะก๊าซ และน้ำตาลจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้

2. กล้วย

ผลไม้ที่มีความเป็นกรดสูงอย่างส้ม เกรปฟรุต หรือเบอร์รี สามารถทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ แต่ผลไม้ที่มีค่าความเป็นกรดต่ำหรือเป็นด่าง จะช่วยทำให้ค่าความเป็นกรดในกระเพาะอาหารมีความเป็นกลางมากขึ้น ช่วยบรรเทาอาการจากกรดไหลย้อนได้

3. โยเกิร์ต

โยเกิร์ตเป็นอาหารที่ช่วยรับมือกับกรดในกระเพาะอาหารได้ ควรเลือกสูตรที่ไม่หวานและไขมันต่ำ (Low fat) ทั้งนี้ International Foundation for Functional Gastrointestinal Disorders (IFFGD) กล่าวว่า อาหารที่มีไขมันสูงทำให้กระเพาะใช้เวลาในการย่อยอาหารนานขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มความดันในกล้ามเนื้อหูรูดที่หลอดอาหารส่วนล่าง  จึงทำให้มีความเสี่ยงเกิดกรดไหลย้อนสูงขึ้นตามไปด้วย

4. เมลอน

เมลอนมีคุณสมบัติเหมือนกับกล้วยตรงที่ถูกจัดให้เป็นผลไม้ที่เป็นด่าง ทำให้ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้ นอกจากรับประทานแบบเดี่ยวๆ ได้แล้ว สามารถนำเมลอน หรือแตงโม ไปปั่นเป็นสมูทตี้แทนการใช้ผลไม้ที่มีกรดสูงอย่างผลไม้ตระกูลเบอร์รีได้

5. ผักสีเขียว

นอกจากผักสีเขียวจะช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้แล้ว การรับประทานผักสีเขียว เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำดาว ผักเคล และผักโขม ที่ล้วนแต่มีความเป็นด่างสูง ก็สามารถช่วยให้กระเพาะอาหารมีความเป็นกลางมากขึ้น ดังนั้น การรับประทานผักสีเขียวสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคกรดไหลย้อนได้

6. ข้าวโอ๊ต

ธัญพืชเต็มเมล็ดทุกชนิดสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคกรดไหลย้อนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะข้าวโอ๊ต เพราะด้วยความที่ข้าวโอ๊ตมีเนื้อหนาและมีความหยุ่น ทำให้ข้าวโอ๊ตสามารถช่วยเคลือบเยื่อบุในกระเพาะอาหารได้ คุณสามารถรับประทานข้าวโอ๊ตกับนมสูตรไขมันต่ำ หรือนมอัลมอนด์ก็ได้ เพราะล้วนเป็นอาหารที่มีความเป็นด่างสูงและมีไขมันต่ำ

7. หมากฝรั่ง

จากข้อมูลของ IFFGS  มีการระบุว่า การเคี้ยวหมากฝรั่งจะช่วยกระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำลายเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดความเป็นของกรดในหลอดอาหารได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงหมากฝรั่งรสเปปเปอร์มิ้นต์และสเปียร์มิ้นต์ เพราะจะทำให้หลอดอาหารคลายตัว และกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ แต่ในบางคนการเคี้ยวหมากฝรั่งจะทำให้เพิ่มลมในช่องท้อง ทำให้มีอาการเรอมากขึ้นได้ ดังนั้นหากมีอาการกรดไหลย้อนมากขึ้นหลังเคี้ยวหมากฝรั่ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้หมากฝรั่ง

สรุป การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณห่างไกลจากอาการกรดไหลย้อน และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ ซึ่งการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคกรดไหลย้อนก็ถือเป็นหนึ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีความเป็นด่างดังที่แนะนำข้างต้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเป็นกรด หรือมีไขมันสูง นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lifestyle Tips to Help You Manage Your Heartburn and GERD Symptoms. WebMD. (https://www.webmd.com/heartburn-gerd/guide/lifestyle-changes-heartburn)
GERD Diet. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/gerd/guide/diet/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป