กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

รวมข้อปฏิบัติระหว่างการกักตัวในระหว่างช่วง Covid-19 ทั้งผู้กักตัว และสมาชิกในบ้าน

รวมข้อปฏิบัติเมื่อต้องกักตัวอยู่ในบ้าน 14 วัน และมีอาการอย่างไร จึงควรนำตัวส่งโรงพยาบาล
เผยแพร่ครั้งแรก 20 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รวมข้อปฏิบัติระหว่างการกักตัวในระหว่างช่วง Covid-19 ทั้งผู้กักตัว และสมาชิกในบ้าน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผู้ที่ต้องกักตัวเพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัส Covid-19 โดยหลักๆ ได้แก่ ผู้ที่เพิ่งกลับจากประเทศที่มีการติดเชื้อ ผู้ที่เคยสัมผัส หรือใกล้ชิดผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ผู้ที่มีประวัติเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 
  • ข้อปฏิบัติระหว่างกักตัวอยู่ในบ้านโดยหลักๆ คือ ไม่ออกนอกที่พักเป็นเวลา 14 วัน แยกตัวออกมาอยู่ในห้องห้องเดียวต่างหาก ไม่รับประทานอาหารพร้อมกับสมาชิกคนอื่นในบ้าน มีการเว้นระยะห่างต่อกันเมื่อเจอหน้า 1-2 เมตร 
  • สมาชิกในครอบครัวที่มีผู้กักตัวไม่ควรตื่นตระหนก แต่ควรร่วมมือกันรักษาความสะอาดให้กับตนเอง เว้นระยะห่างกับผู้กักตัว งดการใช้พื้นที่ส่วนกลางในบ้านร่วมกัน เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ และหมั่นทำความสะอาดบ้านด้วยอุปกรณ์ฆ่าเชื้อเป็นประจำ
  • หากผู้กักตัวรู้สึกมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ไอแห้ง จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรสชาติอีก ซึ่งเป็นอาการของการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจ Covid-19

หลังจากเชื้อไวรัส Covid-19 กลับมาแพร่ระบาดหนักขึ้นอีกครั้ง และในครั้งนี้มีความแตกต่างไปจากครั้งแรก นั่นก็คือ ผู้ป่วยหลายรายไม่มีอาการที่เป็นสัญญาณบอกล่วงหน้าว่า ติดเชื้อ กว่าจะรู้ตัวก็เมื่อมีอาการทรุดลงแล้ว 

สิ่งที่น่ากลัวตามมาก็คือ ก่อนหน้านั้นผู้ป่วยหลายรายที่ไม่ได้แสดงอาการออกมาตั้งแต่วันแรกๆ ที่ติดเชื้อ ก็ได้ออกไปใช้ชีวิตประจำวัน สัมผัสสิ่งของ พูดคุย และอยู่ใกล้ชิดกับผู้คนมากมาย ซึ่งทำให้คนเหล่านั้นกลายเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัส Covid-19 ไปในทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นหลายคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้จึงต้องกักตัวเองเป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าดูอาการว่า มีอาการเจ็บป่วยที่คล้ายกับติดเชื้อไวรัส Covid-19 เกิดขึ้นหรือไม่ หากพบว่า มี ก็จะได้รีบหาทางรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

ใครที่ต้องกักตัวเนื่องจากเป็นผู้เสี่ยงติดเชื้อไวรัส Covid-19 บ้าง?

ผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดไวรัสที่ก่อโรค Covid-19 และควรกักตัวในที่พัก คือ ผู้อยู่ในเงื่อนไขต่อไปนี้

  • เพิ่งกลับจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของของเชื้อไวรัส Covid-19  เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอินเดีย ประเทศสเปน ประเทศเยอรมัน ประเทศอินเดีย 
  • มีประวัติใกล้ชิด กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือผู้ที่เพิ่งกลับมาจากประเทศที่เสี่ยงติดเชื้อ
  • มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือบุคคลที่ทำงานในอาคาร หรือสถานที่เดียวกัน
  • มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19
  • ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม โดยไม่ได้สวมหน้ากาก หรือผู้ที่ไอ จาม ไม่ได้ปิดปาก

หากเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง คุณควรกักตัวเองในที่พักอย่างน้อย 14 วัน เพื่อดูอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อชะลอการแพร่ระบาดไปสู่ผู้อื่น

ข้อปฏิบัติระหว่างการกักตัวป้องกันการแพร่ COVID-19 

ระหว่างกักตัวในที่พักเป็นเวลา 14 วัน ควรปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้

1. วิธีสังเกตอาการ

ผู้ที่กักตัวควรวัดอุณหภูมิร่างกายทุกวันทั้งเช้า และเย็นว่า มีไข้ (อุณหภูมิเกิน 37.5 องศาเซลเซียส) หรือไม่ จากนั้นจดบันทึกอุณหภูมิที่ได้ในแต่ละวัน รวมถึงสังเกตอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอแห้ง หายใจลำบาก รวมถึงมีอาการปวดเมื่อยตามตัว

2. วิธีปฏิบัติตัว

การกักตัวขณะอยู่ในที่พัก มีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ไม่ออกนอกที่พัก และอยู่ในที่พักเป็นเวลา 14 วัน นับจากวันที่เข้าข่ายเสี่ยงติดเชื้อ

  • แยกตัวออกมาอยู่ตามลำพังในห้องห้องเดียว กรณีที่ที่อยู่อาศัยมีคนอยู่ร่วมจำนวนมาก หรือหากไม่มีห้องส่วนตัว ก็ให้แยกมุม หรือแยกฝั่งกันอยู่อย่างชัดเจน รวมถึงควรใช้ห้องน้ำส่วนตัวด้วย

  • ไม่รับประทานอาหารร่วมกับคนอื่นๆ โดยสมาชิกในบ้านอาจนำอาหารมาวางไว้หน้าประตูห้อง หรือผู้กักตัวรับประทานอาหารคนละเวลากับครอบครัว และเลือกรับประทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น

  • ใช้ช้อนกลางสำหรับตนเองคนเดียวตักอาหารแยกต่างหาก ซึ่งหลายคนมักเข้าใจผิดว่า การใช้ช้อนกลางไม่ได้ลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อโรคนี้ แต่ความจริงแล้ว การที่คนหลายคนจับช้อนกลางคันเดียวกัน แล้วนำมือมาสัมผัสใบหน้า ก็สามารถทำให้ติดเชื้อโรคระหว่างกันได้

  • ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนอื่นๆ ในบ้าน เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม หมอน แก้วน้ำ หลอด จาน ชาม ช้อน
  • หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้อื่น เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร เนื่องจากการอยู่ใกล้ชิด หรือสัมผัสผู้อื่นอาจทำให้ส่งต่อเชื้อโรคกันได้ เช่น ทางละอองน้ำลายจากการไอ หรือจาม หรือทางสารคัดหลั่งต่างๆ

  • ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่นทุกครั้ง หากไม่มีหน้ากากอนามัย อาจใช้ทิชชูปิดปากเมื่อไอ หรือจาม จากนั้นเอาทิชชูใส่ถุงพลาสติกผูกปากให้สนิท แล้วทิ้งขยะ

  • ล้างมือด้วยน้ำ และสบู่บ่อยๆ ครั้งละ 20 วินาที หรืออาจใช้เจลล้างมือที่มีระดับแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป

  • ทำความสะอาดที่พักของตนเอง ด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium hypochlorite) 5% (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน) หรืออาจใช้แอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป เช็ดทำความสะอาดสิ่งของโดยรอบ เช่น โต๊ะ เตียง ลูกบิดประตู คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ในห้องน้ำ

  • ควรซักผ้าปูที่นอน เสื้อผ้า ผ้าขนหนูเป็นประจำ โดยให้ซักด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิตั้งแต่ 70-90 องศาเซลเซียส หรือซักด้วยผงซักฟอก และน้ำสะอาด

  • ควรอยู่ห่างจากสัตว์เลี้ยง งดการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด เช่น อาบน้ำให้สัตว์ ให้สัตว์ดม หรือเลีย หรือให้อาหารสัตว์เลี้ยง เพราะสัตว์อาจเป็นพาหะนำเชื้อโรคได้ สำหรับผู้ที่อยู่คนเดียว หากจำเป็นต้องดูแลสัตว์จริงๆ ต้องสวมหน้ากากอนามัย รวมถึงล้างมือให้สะอาดทั้งก่อน และหลังดูแลสัตว์

วิธีปฏิบัติตน หากมีสมาชิกในบ้านเสี่ยงติดเชื้อไวรัส Covid-19 

หากคุณพบว่า มีสมาชิกภายในบ้านจำเป็นต้องกักตัวเพราะเสี่ยงติดเชื้อไวรัส Covid-19 อย่างแรกที่ต้องทำ คือ ตั้งสติ อย่าเพิ่งตกใจ และอย่าตำหนิผู้ที่ต้องกักตัวว่า เป็นคนนำเชื้อไวรัสมาให้คนในครอบครัว และร่วมกับใช้มาตรการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ดังนี้

  • ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้น้ำ และสบู่ถูต่อเนื่องนาน 20 วินาที หรือใช้เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป
  • คอยเฝ้าสังเกตอาการของผู้ที่กักตัวทุกวัน โดยอาจเป็นการโทรสอบถาม คุยกันโดยรักษาระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร หรือพิมพ์ข้อความคุยกัน 
  • งดใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ ห้องนอน 
  • ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้ที่กำลังกักตัว หรือรับประทานคนละเวลากัน โดยให้ผู้กักตัวรับประทานทีหลัง จากนั้นทำความสะอาดบ้านด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5% 
  • คอยอำนวยความสะดวกให้กับผู้กักตัว จัดหาสิ่งที่ต้องการให้ เช่น อาหาร ของใช้ส่วนตัว เพื่อที่ผู้กักตัวจะได้ไม่ต้องออกจากบ้าน
  • ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง (โรคหัวใจ โรคปอด) ควรระมัดระวัง และต้องเฝ้าดูอาการมากเป็นพิเศษ เพราะหากติดเชื้อแล้วมีโอกาสที่อาการจะรุนแรงกว่าคนปกติ 

นอกจากนี้หากการกักตัว 14 วันผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ผู้กักตัวไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยอะไร สมาชิกทุกคนในครอบครัวก็อย่าลืมไปตรวจสุขภาพ เพื่อให้แน่ใจว่า ร่างกายของตนเองแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันดีแล้วกันทุกคน 

อาการที่ควรนำตัวไปส่งโรงพยาบาล 

เชื้อไวรัส Covid-19  มีระยะฟักตัวโดยเฉลี่ย คือ 2-14 วัน แต่พบบ่อยที่สุดคือ 5-6วันหลังรับเชื้อแล้ว ซึ่งหากผู้กักตัวเริ่มมีอาการเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยทันที หรือโทร.แจ้งสายด่วนกระทรวงสาธารณสุข 1422 เพื่อประสานรถพยาบาลมารับ

  • มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • หนาวสั่น
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • หายใจลำบาก หายใจเหนื่อย หายใจถี่
  • ไอแห้ง 
  • เจ็บคอ
  • มีน้ำมูก
  • จมูกไม่ได้กลิ่น
  • ลิ้นไม่รับรสชาติ

หากจำเป็นต้องเดินทางไปโรงพยาบาลด้วยรถยนต์ส่วนตัว และมีผู้อื่นขับให้ หรือมีผู้อื่นนั่งมาด้วย ให้พยายามนั่งห่างจากผู้ป่วย และเปิดหน้าต่างในรถยนต์ให้อากาศถ่ายเทอยู่เสมอ และผู้ที่นั่งรถไปด้วยอาจต้องกักตัวด้วยเช่นกันหลังจากส่งตัวผู้กักตัวถึงโรงพยาบาลแล้ว

การกักตัวถือเป็นเรื่องจำเป็นที่เราทุกคนต้องอย่าละเลย หรือหาข้ออ้างว่า ก็แค่ผ่านไปใกล้ๆ พื้นที่เสี่ยง หรือไม่ได้รู้สึกว่า ตนเองทำกิจกรรมใดๆ ที่มีโอกาสจะติดเชื้อไวรัส Covid-19 ได้

เพราะหลายคนที่ติดเชื้อไวรัสไปแล้ว ก็ล้วนไม่เคยคาดคิดกันมาก่อนเช่นกันว่า การดำเนินชีวิตประจำวันของตนเองจะกลายเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากรู้ว่า ตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ คุณควรกักตัวอยู่แต่ในบ้าน เพื่อเฝ้าดูอาการให้แน่ใจเสียก่อน และผู้ที่ยังไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรงดออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านชั่วคราวยกเว้นยามจำเป็น 

นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่ผู้คนพลุกพล่าน หรือในพื้นที่เสี่ยง ใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดติดตัว เว้นระยะห่างระหว่างกัน 1-2 เมตรทุกครั้ง และทุกที่ จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจะดีขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจ Covid-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Harvard Health Publishing, Coronavirus Resource Center (https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/coronavirus-resource-center), 29 March 2563.
World Health Organization, Q&A on coronaviruses (COVID-19) (https://www.who.int/news-room/q-a-detail/q-a-coronaviruses), 29 March 2563.
Centers for Disease Control and Prevention, Coronavirus Disease 2019 (COVID-19), https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/about/symptoms.htm)l, 29 March 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?

โรค Covid-19 กับโรคไข้หวัดใหญ่ อาการคล้ายกัน ติดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แล้วทั้ง 2 โรคต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
ออกไปวิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาด
ออกไปวิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาด

วิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัย และการไปออกกำลังกายที่ยิมเสี่ยงติด COVID-19 ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?

มาดูกันว่า Social distancing จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้จริงหรือ? แล้วต้องเว้นระยะห่างแค่ไหนถึงจะปลอดภัยจาก COVID-19

อ่านเพิ่ม