เมื่อฟันของทารกขึ้น

เผยแพร่ครั้งแรก 26 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
เมื่อฟันของทารกขึ้น

คำแนะนำสำหรับช่วยเหลือทารกที่ฟันกำลังขึ้น

ช่วงที่ฟันกำลังขึ้นสามารถทำให้ทารกบางคนเจ็บปวด แต่ก็มีหลายวิธีที่ช่วยให้เขาทรมานน้อยลง อย่างไรก็ตาม เด็กทุกคนแตกต่างกัน และคุณอาจจำเป็นต้องลองหลายๆ วิธีจนกว่าคุณจะเจอวิธีที่เหมาะสำหรับลูกของคุณ

ยางสำหรับให้เด็กกัด (Teething rings)

ยางสำหรับให้เด็กกัด หรือ Teething ring เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เด็กเคี้ยวได้อย่างปลอดภัย ซึ่งมันอาจช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบายปาก และช่วยเบี่ยงเบนจากความรู้สึกเจ็บ ทั้งนี้มียางบางประเภทที่เราสามารถนำไปแช่ตู้เย็นก่อนนำมาให้เด็กกัด ซึ่งมันอาจช่วยปลอบปะโลมเหงือกของเด็ก คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ที่มาพร้อมกับ Teething ring ควรมีการระบุถึงระยะเวลาการแช่เย็น 
อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรนำ Teething ring ใส่ในช่องแช่แข็ง เพราะมันสามารถทำให้เหงือกของเด็กได้รับความเสียหายหากอุปกรณ์เย็นจนกลายเป็นน้ำแข็ง นอกจากนี้คุณไม่ควรผูก Teething ring ที่รอบคอของทารก เพราะมันอาจทำให้เขาหายใจไม่ออก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เจลทาเหงือก (Teething gels)

คุณสามารถใช้เจลทาเหงือกสูตรปลอดน้ำตาลถูบนเหงือกของทารกที่มีอายุมากกว่า 4 เดือน ซึ่งคุณสามารถหาซื้อเจลดังกล่าวได้ตามร้านขายยาทั่วไป ทั้งนี้เจลทาเหงือกมักมีส่วนผสมของสารที่ทำให้ชาระดับเบา ซึ่งช่วยระงับความปวดหรือความรู้สึกไม่สบายที่เกิดจากการมีฟันขึ้น ทั้งนี้เจลอาจมียาฆ่าเชื้อเป็นส่วนผสม ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อในแผลเปื่อยหรือแผลถลอกในปากของทารก
อย่างไรก็ดี คุณควรใช้เจลทาเหงือกที่ออกแบบมาเพื่อเด็กเล็กโดยเฉพาะ ซึ่งเภสัชกรสามารถแนะนำคุณได้ และคุณควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนที่จะให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 เดือนใช้เจลทาเหงือก

เมื่อทารกขบเคี้ยวสิ่งต่างๆ

หนึ่งในสัญญาณที่บอกว่าฟันของทารกกำลังขึ้นก็คือ เขาจะเริ่มเคี้ยวนิ้ว ของเล่น หรือวัตถุอื่นๆ ที่เขาถือ หากลูกของคุณมีอายุ 6 เดือนหรือมากกว่านี้ คุณอาจหาสิ่งที่ดีต่อสุขภาพให้เขาเคี้ยว เช่น ผลไม้และผักแบบดิบ แต่ให้คุณอยู่ใกล้ชิดกับลูกขณะที่เขาทานเพื่อที่จะได้ช่วยเหลือหากเขาสำลัก
อย่างไรก็ดี ถ้าเป็นไปได้ให้คุณหลีกเลี่ยงการให้ลูกทาน Rusk หรือขนมปังกรอบสำหรับเด็กเล็ก เพราะขนมดังกล่าวมักมีส่วนผสมของน้ำตาล รวมถึงไม่ให้เขาทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เพราะมันสามารถทำให้ฟันผุแม้ว่าลูกของคุณมีฟันไม่กี่ซี่

ยาพาราเซตามอลและไอบูโพรเฟน

หากลูกของคุณรู้สึกปวดหรือมีอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อย (ต่ำกว่า 38 องศาเซลเซียส) คุณควรให้เขาทานยาแก้ปวดสูตรปลอดน้ำตาลที่ผลิตสำหรับทารกและเด็กเล็ก ซึ่งยาเหล่านี้มีปริมาณของพาราเซตามอลหรือไอบูโพร เฟนเล็กน้อย ทั้งนี้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีไม่ควรทานยาแอสไพริน และคุณควรทำตามคำแนะนำการใช้ยาเสมอ หากคุณรู้สึกไม่แน่ใจ ให้คุณปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การปลอบทารกที่ฟันกำลังขึ้น

การปลอบหรือเล่นกับลูกสามารถเบี่ยงเบนเขาจากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณเหงือก

การป้องกันผื่นที่เกิดขณะฟันขึ้น

หากการมีฟันขึ้นทำให้ลูกของคุณน้ำลายไหลมากกว่าปกติ ให้คุณเช็ดใบหน้าของเขาอยู่เสมอ ซึ่งการทำเช่นนี้อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผื่น

การดูแลฟันของทารก

คุณสามารถเริ่มแปรงฟันให้ลูกนับตั้งแต่ที่ฟันของเขางอกขึ้นมา โดยให้คุณใช้แปรงสีฟันสำหรับทารกและยาสีฟันสูตรฟลูออไรด์เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม คุณไม่ต้องกังวลหากคุณแปรงฟันให้ลูกได้ไม่มากในตอนแรก สิ่งสำคัญคือ การทำให้ทารกคุ้นชินว่าการแปรงฟันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน คุณสามารถทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี และแปรงฟันให้เขาเห็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำฟันเด็กวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คำแนะนำเกี่ยวกับการแปรงฟันให้ทารก

  • สำหรับทารกและเด็กวัยเตาะแตะที่มีอายุ 3 ปี ให้คุณใช้ยาสีฟันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากเป็นเด็กที่มีอายุ 3-6 ปี ให้คุณเพิ่มปริมาณของยาสีฟันจนมีขนาดเท่ากับถั่ว
  • ค่อยๆ เริ่มแปรงฟันให้ลูกจนทั่วโดยให้ครอบคลุมพื้นผิวของฟันทั้งหมด ทั้งนี้ให้คุณแปรงฟันให้ลูกอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน ซึ่งก็คือ เวลาก่อนเข้านอน และเวลาอื่นๆ ที่สอดคล้องกับกิจวัตรของคุณ
  • ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะชอบการแปรงฟัน ดังนั้นคุณอาจต้องพยายามต่อไปหากยังไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดี คุณอาจจูงใจลูกโดยทำให้การแปรงฟันอยู่ในรูปแบบของการเล่นเกมส์ หรือคุณอาจแปรงฟันไปพร้อมกับลูกแล้วค่อยช่วยเขาแปรงฟัน
  • วิธีที่ง่ายที่สุดในการแปรงฟันให้ลูกคือ การให้เด็กนั่งบนหัวเข่าของคุณโดยที่ศีรษะของเขาพิงที่คางของคุณ สำหรับเด็กโตให้คุณยืนด้านหลังและเอนศีรษะของลูกไปด้านหลัง
  • แปรงฟันให้ลูกเป็นวงกลมเล็กๆ โดยให้ครอบคลุมพื้นผิวของฟันทั้งหมด และบอกให้ลูกบ้วนยาสีฟันในภายหลัง อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องให้ลูกล้างปากด้วยน้ำ เพราะมันจะทำให้ฟลูออไรด์ถูกล้างออกไป
  • ควบคุมการแปรงฟันเพื่อให้มั่นใจว่าลูกของคุณใช้ยาสีฟันในปริมาณที่เหมาะสมและเขาไม่ได้กินหรือเลียยาสีฟันจากหลอด
  • คอยช่วยเหลือลูกขณะที่เขาแปรงฟันจนกระทั่งเขาสามารถทำได้ดีพอ โดยทั่วไปแล้วต้องรอจนกระทั่งเด็กมีอายุอย่างน้อย 7 ปี

น้ำตาลและปัญหาฟันผุ

ฟันเป็นอวัยวะที่สัมผัสกับน้ำตาลบ่อยครั้ง อย่างไรก็ดี การให้ลูกทานลูกอมและดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานจากขวดนมจะยิ่งทำให้ฟันได้รับความเสียหาย เพราะฟันสัมผัสกับน้ำตาลเป็นเวลานาน
นอกจากนี้กรดในเครื่องดื่มอย่างน้ำผลไม้สามารถทำร้ายฟันเช่นกัน อย่างไรก็ดี น้ำตาลธรรมชาติที่พบในผลไม้เต็มผลและนมมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดฟันผุน้อยกว่า ดังนั้นเด็กไม่จำเป็นต้องงดทานอาหารเหล่านี้

วิธีลดน้ำตาลในอาหารสำหรับเด็ก

วิธีที่เรากำลังจะกล่าวหลังจากนี้จะช่วยลดจำนวนน้ำตาลในอาหารของเด็กและป้องกันฟันผุ

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีการเติมน้ำตาล อย่างไรก็ดี เครื่องดื่มที่ดีที่สุดสำหรับเด็กเล็กคือ นมและน้ำเปล่า
  • การใช้ขวดนมใส่นมที่คุณปั๊มจากเต้าของตัวเอง นมชง หรือน้ำต้มที่เย็นแล้วเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่การใช้ขวดนมสำหรับใส่น้ำผลไม้และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสามารถเพิ่มโอกาสให้เกิดฟันผุ
  • เมื่อเด็กมีอายุตั้งแต่ 6 ปีเป็นต้นไป คุณสามารถให้เขาดื่มนมในถ้วยแบบ Free-Flowing ชนิดที่ไม่มีวาล์ว
  • เมื่อลูกของคุณเริ่มทานอาหารแข็ง คุณควรสนับสนุนให้เขาทานอาหารคาวและเครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาล
  • หากคุณจะให้ลูกทานอาหารที่มีรสหวานหรือน้ำผลไม้ คุณควรให้เขาทานในช่วงเวลารับประทานอาหารเท่านั้น และอย่าลืมเจือจางน้ำดังกล่าวโดยคิดอัตราส่วนของน้ำผลไม้และน้ำเปล่าเป็น 1 ต่อ 10 ตามลำดับ นอกจากนี้คุณควรจำกัดไม่ให้ลูกดื่มน้ำผลไม้มากกว่าวันละ 150 มิลลิลิตร
  • ไม่ให้ลูกทานคุกกี้หรือของหวาน รวมถึงบอกคนในครอบครัวและเพื่อนว่าไม่ต้องให้อาหารดังกล่าวแก่เด็ก
  • ให้ลูกกินนมแม่ นมผง หรือน้ำต้มที่เย็นตัวแล้วเท่านั้นในช่วงเข้านอนหรือระหว่างคืน
  • หากลูกของคุณจำเป็นต้องทานยา ให้คุณลองถามเภสัชกรหรือแพทย์เกี่ยวกับยาที่ปลอดน้ำตาล

อย่างไรก็ดี ซูโครส กลูโคส เด็กซ์โทรส มอลโทส ฟรุคโตส สตาร์ซที่ผ่านการไฮโดรไลซ์แล้ว ไซรัป น้ำผึ้ง น้ำตาลดิบ น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลอ้อย น้ำตาล Muscovado และน้ำผลไม้เข้มข้นล้วนแต่เป็นน้ำตาล

ฉันควรให้ลูกใช้จุกนมหลอก (Dummy) หรือไม่?

คุณสามารถให้ลูกใช้จุกนมหลอกแต่คุณไม่ควรให้ลูกใช้อุปกรณ์ดังกล่าวหลังจากที่เขามีอายุ 12 เดือน เพราะการใช้จุกนมหลอกหลังจากนี้สามารถทำให้เกิดปัญหาฟันสบเปิด (Open bite) ซึ่งฟันจะเคลื่อนจนทำให้เกิดช่องว่างสำหรับจุกนมหลอก อีกทั้งยังส่งผลต่อพัฒนาการด้านการพูดของเด็ก
อย่างไรก็ดี คุณไม่ควรให้ลูกพูดหรือส่งเสียงขณะที่มีจุกนมหลอกหรือนิ้วอยู่ในปาก และไม่นำจุกนมหลอกไปจุ่มในอาหารที่มีรสหวาน เช่น น้ำตาล หรือแยม
เมื่อไรที่ฟันเริ่มขึ้น?
ทารกบางคนเกิดมาพร้อมกับฟันซี่แรก ในขณะที่เด็กคนอื่นๆ มีฟันซี่แรกก่อนที่มีอายุ 4 เดือน หรือบางคนก็อาจมีฟันซี่แรกหลังจากมีอายุ 12 เดือน แต่โดยมากแล้วทารกเริ่มมีฟันงอกในช่วงที่เขามีอายุประมาณ 6 เดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำฟันเด็กวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการที่บอกว่าฟันกำลังขึ้น

  • เหงือกของเด็กบริเวณที่ฟันกำลังขึ้นจะเป็นแผลเปื่อยและเป็นสีแดง
  • แก้มแดงฝั่งเดียว
  • น้ำลายไหลมากผิดปกติ
  • แทะหรือเคี้ยวสิ่งต่างๆ มากเกินไป
  • หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ
  • บางคนคิดว่าการมีฟันขึ้นทำให้เด็กมีอาการอื่นๆ เช่น ท้องร่วง และเป็นไข้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานมายืนยัน
  • อย่างไรก็ตาม คุณรู้จักกับลูกของคุณดีที่สุด หากเขามีอาการใดๆ ให้คุณขอคำปรึกษาจากแพทย์

ลำดับการขึ้นของฟันเป็นอย่างไร?

  • ฟันหน้าด้านล่าง - มักงอกขึ้นมาก่อนฟันส่วนอื่นๆ และงอกเมื่อทารกมีอายุประมาณ 5-7 เดือน
  • ฟันหน้าด้านบน - มีแนวโน้มที่จะงอกเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 6-8 เดือน
  • ฟันตัดหน้าซี่ข้างด้านบน - งอกเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 9-11 เดือน
  • ฟันตัดหน้าซี่ข้างด้านล่าง – งอกเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 10-12 เดือน
  • ฟันกรามแรก – งอกเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 12-16 เดือน
  • ฟันเขี้ยว – งอกเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 16-20 เดือน
  • ฟันกรามซี่ที่ 2 – งอกเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 20-30 เดือน
  • อย่างไรก็ตาม เด็กส่วนใหญ่จะมีฟันน้ำนมขึ้นครบเมื่อเขามีอายุ 2 ปีครึ่ง

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป