กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

แตงโมผลไม้ฉ่ำน้ำที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ

หวาน เย็น ชื่นใจ ดีต่อร่างกายแน่ ถ้ารับประทานอย่างเหมาะสม
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 3 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แตงโมผลไม้ฉ่ำน้ำที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แตงโม ผลไม้ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบจำนวนมาก มีรสหวาน แต่มีน้ำตาลน้อยกว่าผลไม้ชนิดอื่น เนื่องจากน้ำตาลในแตงโมคือน้ำตาลกลูโคส
  • แตงโมเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยลดอาการปวด ไข้ แผลในปาก จะกินแบบผลไม้สด หรือทำเป็นน้ำผลไม้ก็อร่ยชื่นใจ
  • แตงโมเป็นผลไม้แคลอรี่ต่ำ แตงโม 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่ นอกจากนี้แตงโมยังมีปริมาณน้ำเป็นส่วนประกอบที่สูงถึง 92% จึงเป็นเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน และควบคุมน้ำหนัก
  • ชาวสวนนิยมฉีดยาฆ่าแมลงระหว่างปลูกแตงโม ก่อนรับประทานแตงโมต้องไม่ลืมล้างเปลือกให้สะอาด เพื่อป้องกันสารพิษตกค้างที่บริเวณเปลือกแตงโม
  • หากกังวลว่าตนเองจะได้รับสารพิษจากเปลือกแตงโม ดูแพ็กเกจตรวจหาสารพิษได้ที่นี่

แตงโม จัดเป็นพืชผลไม้ตระกูลเดียวกันกับ แคนตาลูป ฟักทอง และแตงกวา เนื้อของแตงโมมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักทำให้มีคุณสมบัติเย็น เมื่อรับประทานแล้วให้ความรู้สึกหวาน ชื่นใจ ช่วยคลายร้อน ทำให้หลายคนนิยมรับประทานแตงโมกันในช่วงเวลาอากาศร้อน 

นอกจากนี้แตงโมยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล เส้นใย โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบีรวม วิตามินซี กรดโฟลิก แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และ สังกะสี อย่างไรก็ดี หากต้องการได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากแตงโม

ประโยชน์ของแตงโม

1.ช่วยขยายหลอดเลือดแดง

ในแตงโมมีกรดอะมิโนชื่อว่า "ซิทรูไลน์ (Citrulline)"  ซึ่งมีประโยชน์สามารถช่วยระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังมีสารไลโคปีน (Lycopene) ที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจเพราะสามารถป้องกันการสะสมของไขมันที่จับอยู่ภายในหลอดเลือดได้

2.ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมร่างกาย

สารซิทรูไลน์ในแตงโมสามารถใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างอาร์จีนิน (arginine) กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อาร์จีนินทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ซึ่งกระตุ้นการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และควบคุมระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ และยังช่วยกระตุ้นการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ

3.เป็นผลไม้ที่มีแคลอรี่ต่ำ

แตงโมเป็นผลไม้ที่มีแคลอรี่ต่ำ แตงโม 100 กรัม มีแคลอรี่ปริมาณ 30 กิโลแคลอรี่เท่านั้น นอกจากนี้แตงโมยังมีปริมาณน้ำเป็นส่วนประกอบที่สูงถึง 92% จึงเป็นเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน และควบคุมน้ำหนัก  

4.แตงโมช่วยบำรุงผิวกายได้

แตงโมอุดมไปด้วยวิตามินเอ และซี ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพของผิวหนังและเส้นผม วิตามินซีช่วยให้ร่างกายสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้ผิวอ่อนนุ่มและเส้นผมแข็งแรง 

ส่วนวิตามินเอก็มีความสำคัญต่อสุขภาพผิวเนื่องจากช่วยในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ผิว หากมีวิตามินเอไม่เพียงพอผิวจะแห้งและเป็นขุย นอกจากนี้แตงโมยังมีสารไลโคปีนและเบต้าแคโรทีนที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดได้

ข้อควรระวังในการรับประทานแตงโม

  • ผู้ป่วยบางประเภทที่ไม่ควรรับประทานมาก ได้แก่ ผู้ป่วยโรคที่ต้องควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโรคไต 
  • แตงโมเป็นพืชที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากแมลงและศัตรูพืชต่างๆ ชาวสวนจึงนิยมฉีดยาฆ่าแมลง ก่อนจะรับประทานแตงโมต้องไม่ลืมล้างเปลือกให้สะอาดเสียก่อนเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างที่บริเวณเปลือก  

จะเห็นได้ว่า แตงโมเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลายอย่าง รับประทานแล้วชื่นใจ ช่วยบำรุงทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เป็นผลไม้ที่ดีสำหรับใครหลายๆ คน แต่อย่าลืมว่า อะไรก็ตามที่มากเกินไป มักส่งผลเสียได้เสมอ 

ทางที่ดีควรรับประทานแต่พอประมาณ และรับประทานให้หลากหลายประเภทเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุอย่างครบถ้วน  


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rimando AM and Perdins-Veazie PM, Determination of citrulline in watermelon rind. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16007998), June 2005
Adda Bjarnadottir, watermelon 101: Nutrition Facts and Health Benefits (https://www.healthline.com/nutrition/foods/watermelon), 7 March 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินละลายในไขมัน (A, D, E, K)
วิตามินละลายในไขมัน (A, D, E, K)

ทำความรู้จักวิตามินละลายในไขมัน ประกอบไปด้วยวิตามินอะไรบ้าง มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม
ผิวแห้ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลผิวให้คงความชุ่มชื้น
ผิวแห้ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลผิวให้คงความชุ่มชื้น

อาการผิวแห้งมีหลายระดับ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการอักเสบได้ มาเรียนรู้วิธีดูแลรักษา และป้องกันผิวแห้งกันเถอะ

อ่านเพิ่ม