บาดทะยัก

บาดทะยัก เชื้อร้ายจากบาดแผลที่ร้ายแรงกว่าที่คิด
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
บาดทะยัก

บาดทะยัก เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียร้ายแรงที่ส่งผลต่อระบบประสาทของคุณ จนก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้อบิดรัดจนเจ็บปวด โดยเฉพาะกล้ามเนื้อกรามและคอ นอกจากนี้โรคบาดทะยักยังส่งผลต่อความสามารถในการหายใจซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

ทุกวันนี้ได้มีการคิดค้นวัคซีนป้องกันบาดทะยักขึ้นมาแล้ว จึงทำให้บาดทะยักเป็นโรคหายากไปโดยปริยาย แต่อย่างไรก็ตาม โรคนี้ก็ยังเป็นอันตรายสำหรับผู้ที่ไม่ติดตามการฉีดวัคซีนอยู่ดี และยังไม่มีวิธีรักษาโรคบาดทะยักให้หายได้โดยตรง มีเพียงการรักษาเพื่อจัดการกับภาวะแทรกซ้อน จนกว่าผลจากสารพิษบาดทะยักจะหายไปเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของบาดทะยัก

สัญญาณและอาการของบาดทะยักสามารถเกิดขึ้นช่วงใดก็ได้ ตั้งแต่ไม่กี่วันไปจนถึงหลายสัปดาห์หลังจากติดเชื้อแบคทีเรียที่บาดแผล โดยช่วงเวลาพักฟื้นมาตรฐานจะอยู่ที่ระหว่าง 7-10 วัน

สัญญาณและอาการทั่วไปของโรคมีดังนี้

  • กล้ามเนื้อกรามบิดเกร็งและยึดตึง
  • กล้ามเนื้อคอ หน้าท้อง รวมถึงกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆตามร่างกายแข็งตึง โดยไม่ได้ตั้งใจ
  • กลืนอาหารลำบาก
  • มีอาการบิดเกร็งทั่วร่างกายจนเจ็บปวดเป็นเวลาหลายนาที โดยมักจะเกิดจากสาเหตุภายนอกเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เสียงดัง การสัมผัสร่างกาย หรือเผชิญกับแสงจ้า

สัญญาณและอาการที่อาจจะเกิดขึ้นมีดังนี้

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

คุณควรไปพบแพทย์เพื่อทำการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักหรือเรียกสั้นๆว่า "วัคซีนบาดทะยัก" ทันที หากคุณไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หรือยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเลยภายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือคุณไม่แน่ใจว่าตนเองฉีดวัคซีนบาดทะยักครั้งสุดท้ายเมื่อไร 

และเมื่อคุณมีแผลลึกหรือแผลสกปรก คุณควรฉีดวัคซีนบาดทะยักกับแผลทุกประเภท โดยเฉพาะหากแผลเปื้อนดิน มูลสัตว์

สาเหตุของบาดทะยัก

สปอร์ของแบคทีเรียเป็นสาเหตุของการเกิดโรคบาดทะยักขึ้น โดยมีชื่อว่า "คลอสทรีเดียม เททานี" (Clostridium tetani) ซึ่งพบได้ในดิน ฝุ่น และมูลสัตว์ เมื่อสปอร์ของแบคทีเรียเข้าสู่บาดแผลสดประมาณ 3-21 วัน สปอร์จะกลายเป็นเชื้อโรคที่ผลิตสารพิษรุนแรงที่เรียกว่า "เททาโนสปามิน" (Tetanospasmin) ซึ่งจะเข้าไปทำลายระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ จนก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้อยึดตึงและหดเกร็ง ซึ่งเป็นสัญญาณส่วนมากของโรคบาดทะยัก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กรณีผู้ป่วยโรคบาดทะยักแทบทุกรายเกิดกับผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หรือผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ติดตามการฉีดวัคซีนเลยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่คุณจะไม่สามารถติดเชื้อจากผู้ป่วยบาดทะยักได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคบาดทะยัก

ปัจจัยต่อไปนี้จะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อบาดทะยักขึ้น

  • ไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือไม่ได้ติดตามการฉีดวัคซีนบาดทะยัก
  • ได้รับบาดเจ็บที่ทำให้สปอร์ของบาดทะยักเข้าสู่บาดแผล
  • มีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่บาดแผล เช่น เล็บมือ

บาดทะยักยังอาจเกิดกับกรณีต่อไปนี้ได้อีกด้วย

  • แผลเจาะเข้าผิวหนัง เช่น เศษไม้ เครื่องประดับแบบเจาะร่างกาย รอยสัก การฉีดยา
  • แผลถูกปืนยิง
  • การแตกหักของกระดูกอย่างรุนแรง
  • แผลไฟไหม้
  • แผลติดเชื้อในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • แผลจากการผ่าตัดที่ปนเปื้อนเชื้อ
  • แผลสกปรกที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมนานกว่า 6 ชั่วโมง
  • การใช้ยาฉีด
  • การกัดของสัตว์หรือแมลง
  • การติดเชื้อของแผลที่เท้า
  • การติดเชื้อจากการทำฟัน
  • การติดเชื้อของขั้วสายสะดือในเด็กทารกแรก

ภาวะแทรกซ้อนของโรคบาดทะยัก

การรักษาโรคจะยากขึ้นเมื่อสารพิษของบาดทะยักเข้าสู่ปลายประสาท การฟื้นร่างกายจากโรคบาดทะยักอย่างสมบูรณ์ต้องรอให้ปลายประสาทฟื้นตัวกลับมาเองซึ่งอาจใช้เวลานานหลายเดือน

ภาวะแทรกซ้อนของบาดทะยักมีดังนี้

  • กระดูกหัก: ความรุนแรงของการบิดเกร็งอาจทำให้กระดูกสันหลังและกระดูกส่วนอื่นหักได้
  • การอุดตันของเส้นเลือดปอด: ลิ่มเลือดที่ไหลจากส่วนอื่นของร่างกายอาจเข้าไปขวางกั้นเส้นเลือดหลัก หรือสาขาแยกของปอดได้
  • ไตวายเฉียบพลัน: เมื่อกล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรงจะทำให้กล้ามเนื้อสลายกลายเป็นโปรตีนปริมาณมาก เมื่อไตขจัดโปรตีนเหล่านั้นไม่ไหวก็ส่งผลให้ไตวายได้
  • เสียชีวิต: การเสียชีวิตจากบาดทะยักส่วนมากเกิดจากระบบหายใจล้มเหลว หรือขาดออกซิเจนจนทำให้เส้นเลือดใหญ่เสียหายจนเสียชีวิต อีกทั้งภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งจากสารพิษบาดทะยักยังอาจส่งผลให้หยุดหายใจได้  และภาวะโลหิตจางก็เป็นอีกสาเหตุของการเสียชีวิตเช่นกัน

การป้องกันบาดทะยัก

คุณสามารถป้องกันบาดทะยักได้ด้วยการรับภูมิคุ้มกัน โดยการฉีดวัคซีนตั้งแต่แรกเกิด และฉีดกระตุ้นทุกๆ 10 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การฉีดชุดวัคซีนบาดทะยักหลักสำหรับเด็ก

วัคซีนบาดทะยักมักจะให้กับเด็กในรูปของวัคซีนดีทีเอพี (Diphtheria Tetanus Toxoids and Acellular Pertussis: DTaP) ซึ่งช่วยป้องกันโรคได้ถึงสามชนิด ได้แก่ 

วัคซีนดีทีเอพี จะเป็นชุดวัคซีนจำนวน 5 เข็ม ที่ต้องฉีดเข้าที่แขนหรือต้นขาของเด็กที่ช่วงอายุดังต่อไปนี้

  • 2 เดือน
  • 4 เดือน
  • 6 เดือน
  • 15 ถึง 18 เดือน
  • และ 4 ถึง 6 ปี

รูปแบบของวัคซีนบาดทะยัก

วัคซีนบาดทะยักจะถูกใช้ในรูปแบบของการผสมกันระหว่างยากระตุ้นโรคคอตีบหรือ "ทีดี" (Td) ในปี 2005 และวัคซีนโรคบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน หรือเรียกสั้นๆว่า "วัคซีนทีดีเอพี" (Tetanus Diphtheria and Pertussis: Tdap) ซึ่งได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้กับผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 65 ปีได้ และมีฤทธิ์ป้องกันโรคไอกรนด้วย

แพทย์ต่างแนะนำให้เด็กอายุระหว่าง 11-12 ปีทุกคนเข้ารับวัคซีนทีดีเอพี กับวัคซีนกระตุ้นทีดี ทุกๆ 10 ปีเป็นต้นไป หากคุณไม่เคยได้รับวัคซีนทีดีเอพี มาก่อน คุณก็สามารถเข้ารับวัคซีนทีดีเอพี แทนการรับทีดี กระตุ้นแทนได้

ในการติดตามระยะเวลาการฉีดวัคซีนทั้งหมด คุณสามารถสอบถามแพทย์ให้คอยแจ้งสถานการณ์ฉีดวัคซีนของคุณเป็นประจำก็ได้ และหากคุณไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักเลยตั้งแต่เด็ก คุณก็สามารถสอบถามการรับวัคซีนโรคบาดทะยักกับแพทย์ได้

หากคุณจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่โรคบาดทะยักยังคงพบเห็นได้ทั่วไป ควรแน่ใจว่าคุณมีภูมิคุ้มกันโรคนี้แล้ว

ผลข้างเคียงของวัคซีน

การตอบสนองที่รุนแรงต่อวัคซีนจะเกิดขึ้นน้อยมากในจำนวน 1 ในล้านของเด็ก ผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดในเด็กมักจะเกิดขึ้นเพียง 1 ใน 4  ซึ่งรวมถึงอาการเหล่านี้

ผลข้างเคียงอื่น ๆ รวมถึงอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ไข้สูงกว่า 105 องศาในเด็ก 1 คน จากจำนวนเด็กทั้งหมด 16,000 คน
  • ร้องไห้ไม่หยุดตลอด 3 ชั่วโมง ซึ่งเกิดขึ้นในเด็ก 1 คนจากจำนวนเด็กทั้งหมด 1,000 คน
  • อาการชักเกิดขึ้นในเด็ก 1 คนจากจำนวนเด็กทั้งหมด 14,000 คน แต่ไม่เกิดอันตรายในระยะยาว

การเตรียมตัวพบแพทย์

แพทย์จะวินิจฉัยบาดทะยักโดยการตรวจร่างกาย การใช้ยา และประวัติการได้รับวัคซีน รวมถึงสัญญาณอาการของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ยึดตึง และความเจ็บปวด สำหรับการทดสอบในห้องปฏิบัติการณ์นั้นมักจะไม่จำเป็นในการหาบาดทะยัก

หากแผลของคุณมีขนาดเล็กและสะอาด แต่คุณก็ยังคงกังวลต่อการติดเชื้อ หรือไม่ทราบว่าคุณจะมีภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักหรือไม่ คุณก็สามารถเข้าไปพบผู้ดูแลสุขภาพได้ แต่หากแผลของคุณมีขนาดใหญ่หรือลูกของคุณแสดงอาการของการติดเชื้อบาดทะยัก ให้รีบไปพบแพทย์ในทันที

ข้อมูลสำคัญที่คุณควรเตรียมไว้

หากเป็นไปได้ คุณควรแจ้งข้อมูลต่อไปนี้กับแพทย์ก่อน 

  • คุณบาดเจ็บได้อย่างไร เมื่อไร และที่ไหน
  • สถานการณ์รับภูมิคุ้มกันของคุณ รวมไปถึงคุณได้รับวัคซีนกระตุ้นบาดทะยักครั้งสุดท้ายเมื่อไร
  • คุณดูแลบาดแผลด้วยตัวเองอย่างไร
  • ภาวะหรือโรคเรื้อรังที่คุณเป็น เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่

ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยเป็นเด็กทารก ต้องแจ้งแพทย์เกี่ยวกับประเทศกำเนิดของมารดา สถานะภูมิต้านทาน และระยะเวลาที่อยู่ในประเทศ

สำหรับโรคบาดทะยักนั้น คำถามที่คุณควรจะถามแพทย์มีดังนี้

  • วิธีจัดการที่ดีที่สุดคืออะไร ?
  • วิธีรักษาอื่นที่แพทย์แนะนำคืออะไรบ้าง ?
  • จะจัดการภาวะสุขภาพอื่น ๆ ไปพร้อมกับการรักษาอย่างไร ?
  • จำเป็นต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ ?
  • มีข้อจำกัดอะไรบ้างที่ต้องปฏิบัติตาม ?
  • มีแผ่นพับข้อมูลของโรคหรือเว็บไซต์ไหนที่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้บ้าง ?

คำถามที่คุณจะได้รับจากแพทย์

หากแผลชัดเจนมาก แพทย์จะตรวจสอบแผลก่อนที่จะถามคำถามต่อไปนี้

  • คุณมีอาการของโรคบาดทะยักอย่างกล้ามเนื้อหดเกร็งหรือไม่ และหากมี เริ่มมีอาการนั้นเมื่อไร ?
  • อาการที่ประสบเป็นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นๆ หายๆ ?
  • อาการรุนแรงหรือไม่ ?
  • มีอะไรบ้างที่คุณทำแล้วอาการดีขึ้นหรือแย่ลง?
  • คุณได้รับวัคซีนบาดทะยักครั้งสุดท้ายเมื่อไร และประเภทวัคซีนคืออะไร?
  • คุณเคยมีแผลอื่นมาก่อนหรือไม่ (หากไม่สามารถมองเห็นได้) ?

การรักษาบาดทะยัก

ยังไม่มีวิธีรักษาบาดทะยักโดยตรง มีเพียงการทำความสะอาดแผล การรักษาบาดแผล การใช้ยาบรรเทาอาการ และการดูแลสนับสนุนเท่านั้น โดยเฉพาะการทำความสะอาดแผลเป็นกระบวนการสำคัญที่ใช้ป้องกันการติดสปอร์บาดทะยัก ซึ่งรวมไปถึงการกำจัดสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม และเนื้อเยื่อที่ตายแล้วจากบาดแผล

การใช้ยาบาดทะยัก

  • ยาต้านพิษ: แพทย์อาจจ่ายยาต้านพิษบาดทะยักให้ แต่ยาต้านพิษนี้จะช่วยจัดการเฉพาะสารพิษที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเยื่อเส้นประสาท
  • ยาปฏิชีวนะ: แพทย์อาจใช้ยาปฏิชีวนะที่อยู่ในรูปแบบของยารับประทาน หรือยาฉีดเพื่อใช้ในการต่อสู้กับแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกาย
  • วัคซีน: ทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักทันทีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นบาดทะยัก
  • ยากล่อมประสาท: แพทย์จะใช้ยากล่อมประสาทเพื่อควบคุมอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • ยาอื่นๆ: ยาอื่นๆ ที่ใช้กับบาดทะยัก เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาคลายกังวล หรือ แมกนีเซียม ซัลเฟต (Magnesium sulfate) และเบตา บล็อกเกอร์ (beta blockers) บางชนิดสำหรับควบคุมกิจกรรมกล้ามเนื้อนอกเหนือจิตใจ เช่น การเต้นของหัวใจและการหายใจ อีกทั้งยังอาจมีการใช้ยามอร์ฟีนเพื่อกล่อมประสาทด้วย

การบำบัดช่วยเหลือ

การติดเชื้อบาดทะยักรุนแรงอาจต้องเข้ารับการดูแลรักษาระยะยาวและเข้มข้น ผู้ป่วยควรได้รับอาหารที่มีพลังงานสูงอย่างเพียงพอ เนื่องจากต้องใช้พลังงานในการหดเกร็งของกล้ามเนื้อตลอดเวลา และเนื่องจากอาจมีการใช้ยากล่อมประสาทที่เข้าไปรบกวนการหายใจ ทำให้คุณอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย

การใช้ชีวิตและการเยียวยาที่บ้าน

แผลโดนกรีด แผลกัด หรือแผลที่สกปรกจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อบาดทะยัก ทำให้ต้องรีบทำความสะอาดและเยียวยาแผลทันที โดยเฉพาะในกรณีที่คุณยังไม่ได้รับ หรือไม่มั่นใจว่าได้รับวัคซีนครั้งสุดท้ายเมื่อใด หากรีบปิดแผลโดยไม่ทำความสะอาดจะทำให้เป็นการขังเชื้อโรคไว้ภายใน

สำหรับการรักษากับแพทย์นั้น จะเริ่มจากการทำความสะอาดแผล จ่ายยาปฏิชีวนะ และฉีดวัคซีนกระตุ้นบาดทะยัก ซึ่งหากคุณมีภูมิต้านทานอยู่แล้ว ร่างกายของคุณจะผลิตแอนติบอดีสำหรับป้องกันบาดทะยักได้เร็วกว่าปกติ

ขั้นตอนป้องกันบาดทะยักในกรณีที่เป็นแผลเล็กน้อย 

  • ควบคุมการไหลของเลือด: กดผ้าหรือวัสดุซับเลือดที่สะอาดลงบนปากแผลโดยตรงเพื่อหยุดเลือด
  • ทำความสะอาดแผล: หลังจากเลือดหยุดไหล ให้ล้างแผลด้วยการเปิดน้ำสะอาดให้ไหลผ่านแผลให้มาก ๆ ทำความสะอาดรอบบาดแผลด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง แต่หากมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ที่แผล ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  • ใช้ยาปฏิชีวนะ: หลังจากทำความสะอาดบาดแผลแล้ว ให้ทาครีมปฏิชีวนะบาง ๆ อย่างนีโอสโพริน (Neosporin) และโพลีสโพริน (Polysporin) โดยยาปฏิชีวนะเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้แผลสมานตัวเร็วขึ้น แต่จะช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรคและป้องกันการติดเชื้อ

แต่ต้องระมัดระวังการใช้ครีมปฏิชีวนะบางประเภท เนื่องจากแต่ละชนิดจะมีสารประกอบบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดผื่นขึ้น หากคุณประสบกับผื่นหลังจากใช้ยาตัวนั้น ให้หยุดใช้ยาดังกล่าวทันที

  • ปิดแผล: การเปิดแผลให้สัมผัสกับอากาศจะช่วยเร่งกระบวนการสมานตัว แต่การปิดแผลจะช่วยป้องกันไม่ให้แผลสัมผัสกับเชื้อโรคได้ หากมีตุ่มหนองเกิดขึ้น ห้ามไปเขี่ย หรือทำให้ตุ่มหนองแตกเด็ดขาดจนกว่าตุ่มนั้นจะหายไปเอง
  • เปลี่ยนผ้าปิดแผล: พยายามเปลี่ยนผ้าหรือวัสดุที่ใช้ปิดแผลอย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน หรือทุกครั้งที่วัสดุเปียก สกปรกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หากคุณแพ้กาวติดแผลที่อยู่กับเทปติดแผล ให้เปลี่ยนไปใช้ผ้าพันแผลกับเทปติดกระดาษแทน

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก จำเป็นไหม ทำไมต้องฉีด?


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Christian Nordqvist , Everything you need to know about tetanus(https://www.medicalnewstoday.com/articles/163063.php ), 13 December 2017
Sabrina Felson, Tetanus treatment(https://www.webmd.com/first-aid/tetanus-treatment), 22 October 2017
Centers for disease control and prevention, Tetanus (https://www.cdc.gov/tetanus/index.html), 28 February 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป