กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช

การขูดหินปูน และสิทธิประกันสังคมในการขูดหินปูนที่ควรรู้

การขูดหินปูนคืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่ หากต้องทำจะสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้อย่างไรบ้าง ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การขูดหินปูน และสิทธิประกันสังคมในการขูดหินปูนที่ควรรู้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แผ่นคราบแบคทีเรีย (Plaque) ที่เกาะตามฟัน โคนฟัน หรือซอกฟัน เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำลายในช่องปากจะทำให้เกิดการจับตัวสะสมกันเป็น "หินน้ำลาย" หรือ "คราบหินปูน (Tartar)" เป็นคราบแข็งติดกับเนื้อฟัน ซึ่งไม่สามารถขจัดออกด้วยการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน หรือใช้น้ำยาบ้วนปาก
  • หินน้ำลาย หรือคราบหินปูน เป็นสาเหตุของโรคเหงือกและโรคปริทันต์ ยิ่งไปกว่านี้ยังทำให้เกิดปัญหากลิ่นปากอีกด้วย ดังนั้นทันตแพทย์จึงมักแนะนำให้ขูดหินปูนทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาในช่องปาก
  • ผู้ป่วยโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคตับ และโรคที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ควรขูดหินปูนภายใต้การดูแลร่วมกันของทันตแพทย์และแพทย์ เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการขูดหินปูนได้ 
  • เมื่อตรวจสอบสิทธิแล้วสามารถเข้าใช้บริการทางทันตกรรมในโรงพยาบาลที่เลือกไว้ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน รวมทั้งผ่าฟันคุด ในวงเงินไม่เกิน 900 บาทต่อคนและต่อปี โดยไม่จำเป็นต้องสำรองจ่าย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจขูดหินปูน (สิทธิประกันสังคม)

แผ่นคราบแบคทีเรีย (Plaque) ที่เกาะตามฟัน โคนฟัน หรือซอกฟัน เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำลายในช่องปากจะทำให้เกิดการจับตัวสะสมกันเป็น "หินน้ำลาย" หรือ "คราบหินปูน (Tartar)"  เป็นคราบแข็งติดกับเนื้อฟัน

หินน้ำลาย หรือคราบหินปูน เป็นสาเหตุของโรคเหงือกและโรคปริทันต์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ขั้นตอนการขูดหินปูน

หินน้ำลาย หรือคราบหินปูน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถขจัดออกด้วยการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน หรือบ้วนน้ำยาบ้วนปาก แถมยังสามารถสะสมเพิ่มความหนาได้ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม 

ด้วยเหตุนี้ทันตแพทย์จึงมีคำแนะนำให้ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน ปีละ 2 ครั้ง หรือทุกๆ 6 เดือน ที่คลินิกทันตกรรม หรือแผนกทันตกรรมในโรงพยาบาล 

เช่นเดียวกับควรเข้ารับการขูดหินปูนทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาในช่องปาก

เมื่อทันตแพทย์ตรวจพบคราบหินปูนตามเนื้อฟันและซอกฟันทั่วทั้งช่องปาก ทันตแพทย์จะเริ่มขูดหินปูนตามขั้นตอนต่อไปนี้ 

  • ใช้เครื่องขูดหินน้ำลายไฟฟ้าขูดคราบหินปูน (Dental Scaling) ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บ เสียวฟัน และมีเลือดออกอยู่บ้าง 
  • จากนั้นทันตแพทย์จะใช้อุปกรณ์ขูดหินปูนแบบด้ามจับขูดคราบหินปูนที่ติดอยู่ตามซอกฟัน เหนือเหงือก ใต้เหงือก หรือบริเวณที่อุปกรณ์ชิ้นใหญ่เข้าไม่ถึงได้อีกครั้งจนกว่าจะหมด 
  • ทันตแพทย์จะขูดทำความสะอาดบนตัวฟันและรากฟันส่วนบนที่มีหินปูน เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคสะสม 
  • จากนั้นอาจใช้หัวขัด ขัดฟันเพิ่ม เพื่อกำจัดคราบหินปูนออกไปให้หมดจดจากเนื้อฟัน เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการขูดหินปูน

ระยะเวลาในการขูดหินปูนจะขึ้นอยู่กับปริมาณสะสมของคราบหินปูน โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง โดยทั่วไปการขูดหินปูนจะไม่ใช้ยาชา แต่หากผู้ป่วยรู้สึกเสียวฟันมาก เจ็บปวดเหงือกมาก ทันตแพทย์อาจพิจารณาฉีดยาชาให้

ภายหลังจากการขูดหินปูนอาจรู้สึกเจ็บ หรือเสียวฟัน และอาจมีเลือดซึมบริเวณเหงือกประมาณได้เล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขูดหินปูนวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ใครที่ต้องเฝ้าระวังก่อนขูดหินปูน

  • ผู้ป่วยโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคตับ และโรคที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ควรขูดหินปูนภายใต้การดูแลร่วมกันของทันตแพทย์และแพทย์ เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการขูดหินปูนได้ 
  • ผู้ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจไม่ควรขูดหินปูนด้วยเครื่องขูดหินปูนไฟฟ้าชนิด Magnetostrictive Ultrasonic เพราะการขูดหินปูนด้วยเครื่องขูดหินปูนไฟฟ้าชนิด Magnetostrictive Ultrasonic จะรบกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ จนอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้ ทันตแพทย์จะต้องทำการขูดด้วยเครื่องขูดหินปูนไฟฟ้าชนิด Piezoelectric เท่านั้นจึงจะปลอดภัย หรือถ้าไม่มี ต้องขูดด้วยมือแทน

ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัวต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนเข้ารับการรักษาทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย

อ่านเพิ่ม: รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับการขูดหินปูน
อ่านเพิ่ม: ขูดหินปูนเองได้ไหม

การใช้สิทธิประกันสังคมเพื่อขูดหินปูนมีขั้นตอนอย่างไร

ผู้ที่ประสงค์จะใช้สิทธิประกันสังคมในการขูดหินปูน จะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 และจะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนอย่างน้อย 3 เดือน (หากลาออกจะยังคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน) 

การใช้สิทธิจะเริ่มจากการเช็คสถานบริการที่เข้าร่วมบริการ หรือสถานบริการเครือข่าย (สามารถตรวจสอบรายชื่อสถานบริการได้ที่สำนักงานประกันสังคม) เมื่อตรวจสอบแล้วสามารถเข้าใช้บริการทางทันตกรรมได้เลย 

ไม่ว่าจะเป็นขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน รวมทั้งผ่าฟันคุด ในวงเงินไม่เกิน 900 บาทต่อคนและต่อปี โดยไม่จำเป็นต้องสำรองจ่าย 

อย่างไรก็ตาม หากใช้บริการทันตกรรมในสถานบริการที่ไม่ใช่เครือข่ายที่เข้าร่วมให้ขอใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์ รวมทั้งต้องมีใบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-16) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขูดหินปูน (สิทธิประกันสังคม) วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 800 บาท ลดสูงสุด 60%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จากนั้นให้นำใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์ สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ พร้อมสำเนาสมุดบัญชีธนาคาร มายื่นขอคืนเงินได้ที่สำนักงานประกันสังคมของแต่ละจังหวัดได้ภายใน 2 ปี 

โดยธนาคารที่สามารถยื่นขอรับได้คือ

  • ธ.กรุงไทย
  • ธ.กรุงศรีอยุธยา
  • ธ.กรุงเทพ
  • ธ.กสิกรไทย
  • ธ.ไทยพาณิชย์
  • ธ.ทหารไทย
  • ธ.ธนชาติ
  • ธ.อิสลาม
  • ธ.ซีเอ็มบีไทย
  • ธ.ออมสิน
  • ธ.เกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ก่อนเข้าใช้บริการขูดหินปูนด้วยสิทธิประกันสังคม ควรตรวจสอบสิทธิก่อนทุกครั้งว่า สามารถใช้สิทธิได้หรือไม่ หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการขูดหินปูน เช่น มีโรคประจำตัว ใช้ยาบางชนิดอยู่ ควรสอบถามกับทันตแพทย์ก่อนว่า จะสามารถขูดหินปูนได้หรือไม่ 

หากยังไม่สามารถขูดหินปูนได้ในตอนนั้น ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีดูแลช่องปากอย่างไรบ้าง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ขูดหินปูน ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจขูดหินปูน (สิทธิประกันสังคม) จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ขูดหินปูนเอง ได้ไหม? แคะหินปูนเอง ดีไหม?, (https://hdmall.co.th/c/can-i-teeth-scaling-with-my-self).
ขูดหินปูนเจ็บไหม? ขูดครั้งแรกรู้สึกยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/teeth-scaling).
Dionne Desrin Conteh, Patients with pacemakers – CPD (https://www.nature.com/articles/bdjteam2015110), 25 September 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)