อาการปวดที่ข้อต่อกระดูกสันหลังกับเชิงกราน (Sacroiliac Joints)

โรคปวดสะโพกร้าวลงขา
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการปวดที่ข้อต่อกระดูกสันหลังกับเชิงกราน (Sacroiliac Joints)

ข้อต่อกระดูกสันหลังกับเชิงกราน (Sacroiliac Joints) เป็นข้อที่เกิดจากการต่อกันของกระดูกก้นกบและกระดูก iliac ทั้ง 2 ข้าง กระดูกก้นกบประกอบขึ้นจากกระดูกสันหลัง 5 ชิ้นใต้ต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวเชื่อมเข้าด้วยกัน ในขณะที่กระดูก iliac เป็นกระดูกชิ้นใหญ่ที่เป็นส่วนประกอบของเชิงกราน มีเส้นเอ็นหนาเชื่อมระหว่างกระดูก 2 ส่วนนี้เข้าด้วยกัน

โดยปกติแล้วข้อต่อนี้มีการเคลื่อนไหวน้อยมาก แต่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนส่วนมากเมื่อเราอยู่ในท่าหลังตรง เมื่อข้อต่อนี้ได้รับการบาดเจ็บหรืออักเสบ จะทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้ที่เรียกว่า sacroiliac dysfunction อาการปวดดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคข้ออักเสบสามารถส่งผลต่อข้อต่อในร่างกายหลายจำแหน่ง ซึ่งรวมถึงข้อต่อ Sacroiliac เช่นกันหรือเมื่อกระดูกอ่อนของข้อต่อนี้ถูกทำลายหรือฉีกขาดกระดูกแต่ละชิ้นก็จะเริ่มเสียดสีกันทำให้เกิดข้อเสื่อมซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อได้บ่อยที่สุด นอกจากนั้นการเกิดอุบัติเหตุต่อข้อ เช่น หกล้มก็ทำให้เกิดอาการปวดได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อย คือ การตั้งครรภ์ซึ่งน่าจะเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและผลของฮอร์โมนที่มีต่อความยืดหยุ่นของข้อ การที่มีขาสั้นยาวไม่เท่ากันก็เป็นอีกหนึ่งภาวะที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่อนี้มากกว่าปกติและทำให้เกิดอาการปวดได้ นอกจากนี้โรคบางโรคก็สามารถทำให้ข้อต่อนี้มีความผิดปกติได้เช่นกัน เช่น โรคข้อสันหลังอักเสบชนิดยึดติด โรคสะเก็ดเงิน โรคข้ออักเสบชยนิดรูห์มาตอยด์ และโรคเกาท์

จะรู้สึกถึงอาการปวดของข้อต่อ Sacroiliac ได้ที่ตำแหน่งไหน?

อาการปวดที่ข้อต่อ Sacroiliac จะทำให้เกิดการปวดบริเวณหลังส่วนล่างและร้าวไปตามด้านหลังของก้น อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อเดินหรือยืน และลดลงเมื่อนอน อาการดังกล่าวอาจเกิดที่บริเวณสะโพกหรือขาหนีบได้เช่นกัน และอาจจะเป็นมากขึ้นเมื่อข้อต่อถูกยืดมากกว่าปกติในการตรวจร่างกาย

การรักษาอาการปวดของข้อต่อ Sacroiliac

การรักษาอาการปวดของข้อต่อนี้มีทั้งการทำหัตถาร เช่น การฉีดยาเข้าข้อหรือการทำกายภาพบำบัด การฉีดยาเข้าที่ข้อจะเป็นการฉีดสารละลายที่มียาชาร่วมกับสเตียรอยด์ปริมาณเล็กน้อยเข้าไปในข้อ การทำกายภาพบำบัดสำหรับอาการปวดของข้อต่อ Sacroiliac หากคุณมีอาการปวดของข้อต่อ Sacroiliac คุณควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเริ่มต้นการรักษา แพทย์อาจส่งให้คุณไปพบกับนักกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดสามารถประเมินการเคลื่อนไหวของหลังและการทำงานของข้อต่อ Sacroiliac ได้ก่อนที่จะเสนอวิธีการรักษาที่จะช่วยลดอาการเจ็บปวดและทำให้คุณสามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น วิธีการรักษาประกอบด้วย

  • การออกกำลังกายเพื่อการรักษา เช่น การทำ lumbar stabilization หรือการยืดหลังส่วนล่าง
  • การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
  • การใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นและ TENS เพื่อลดอาการปวด
  • การทำ Kinesiology taping สำหรับอาการปวดข้องข้อ
  • การเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อ

อาการปวดข้อต่อ Sacroiliac นี้อาจสามารถรักษาให้หายได้ยาก เนื่องจากข้อต่อนี้เป็นข้อต่อที่มั่นคงมากทำให้ยากที่จะทำให้ข้อเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา นักกายภาพบำบัดจะช่วยให้คุณเข้าใจถึงวิธีการรักษาอาการปวดของข้อต่อ Sacroiliac แต่ก็จะต้องใช้ความร่วมมือและการออกกำลังกายที่บ้านเพื่อให้สามารถรักษาได้ ควรทำงานร่วมกับแพทย์และนักกายภาพบำบัดอย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยควบคุมอาการปวดที่เกิดขึ้นและช่วยให้คุณสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วและปลอดภัย


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Catherine Burt Driver, Sacroiliac Joint Dysfunction (SI Joint Pain) (https://www.medicinenet.com/sacroiliac_joint_pain/article.htm)
Guilherme Barros, Sacroiliac Joint Dysfunction in Patients With Low Back Pain (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6707638/)
Susan York Morris, Is Your SI Joint Causing Your Lower Back Pain? (https://www.healthline.com/health/si-joint-pain) 24 February 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)