เลิกฉีดยาคุมแล้วจะตั้งครรภ์เลยไหม?

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เลิกฉีดยาคุมแล้วจะตั้งครรภ์เลยไหม?

ในการตัดสินใจว่าควรจะเลือกคุมกำเนิดด้วยวิธีไหน ต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน เช่น ประสิทธิภาพ, ระยะเวลาคุมกำเนิด, ความหลากหลายของทางเลือก, ความสะดวกในการใช้, ผลข้างเคียง, ราคา ฯลฯ

แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรจะมองข้ามนะคะ โดยเฉพาะถ้าวางแผนจะคุมกำเนิดต่ออีกไม่นาน นั่นก็คือ เมื่อหยุดคุมกำเนิดด้วยวิธีนั้น ๆ แล้ว นานแค่ไหนจึงจะมีไข่ตกและพร้อมตั้งครรภ์ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หลังหยุดฉีดยาคุม ใช้เวลานานไหมกว่าจะตกไข่?

ซึ่งพบว่าเกือบทุกวิธีคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง, ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดที่ฉีดทุก 1 เดือน, ยาฝังคุมกำเนิด และห่วงอนามัย แม้จะใช้ติดต่อกันมานานแค่ไหนก็ตาม แต่เมื่อหยุดใช้แล้วก็จะมีไข่ตกภายในเวลาไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์

ดังนั้น ในกรณีที่หยุดใช้ แต่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร ก็ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยนะคะ แต่ในกรณีที่พร้อมจะมีบุตรแล้ว ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ

ยกเว้นยาฉีดคุมกำเนิดชนิดที่ฉีดทุก 3 เดือน ที่มักจะใช้เวลานานกว่าที่จะกลับมามีไข่ตกอีกครั้งหลังหยุดใช้ โดยเฉพาะถ้าใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะใช้เวลามากขึ้น

ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่จะกลับมามีไข่ตกหลังจากที่ไม่ได้ฉีดยาต่อตามนัด คือ 4 – 5 เดือนค่ะ ดังนั้น ผู้ที่เคยใช้ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดนี้อยู่ แล้ววางแผนจะมีบุตรในอีกประมาณ 1 ปีข้างหน้า ควรเปลี่ยนไปคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นแทนอย่างน้อย 6 เดือนก่อนที่จะหยุดคุมกำเนิดไปนะคะ

หลังหยุดฉีดยาคุมกำเนิด มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่ายไหม?

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่ได้เปลี่ยนวิธีคุมกำเนิดเลย แม้อาจใช้เวลานานหลายเดือนกว่าที่จะมีไข่ตก แต่ก็พบว่าผู้ใช้มากกว่า 80% มีการตั้งครรภ์ภายใน 1 ปีหลังจากที่ฉีดยาคุมเข็มสุดท้าย

แต่ระยะเวลาที่มีไข่ตกอาจเร็วหรือช้ากว่าค่าเฉลี่ยดังกล่าวได้นะคะ จึงต้องเตือนผู้ที่ไม่ได้ไปฉีดยาคุมต่อตามนัดว่า หากยังไม่พร้อมจะมีบุตรต้องหยุดสดค่ะ (ฮ่า) นั่นก็คือควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ไปก่อน ในระหว่างที่รอตัดสินใจว่าคุมกำเนิดต่อหรือไม่ หรือยังคิดไม่ตกว่าจะใช้วิธีคุมกำเนิดแบบไหนดี

ถ้ามัวแต่คิดนานเกินไป แถมไม่ป้องกัน อาจได้เปลี่ยนไปคิดชื่อลูกแทนนะคะ ...จะบอกให้! (ฮ่า)


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What are disadvantages of injectable DMPA for contraception?. Medscape. (https://www.medscape.com/answers/258507-109040/what-are-disadvantages-of-injectable-dmpa-for-contraception)
Return of fertility in women discontinuing injectable contraceptives. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12315276)
Return of fertility after discontinuation of depot medroxyprogesterone acetate and intra-uterine devices in Northern Thailand. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/6102234)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาฉีดคุมกำเนิด (Contraceptive Injections)
ยาฉีดคุมกำเนิด (Contraceptive Injections)

ยาฉีดคุมกำเนิด หนึ่งในวิธีคุ้มกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถป้องกันได้นาน 1-3 เดือน ขึ้นกับชนิดของยา

อ่านเพิ่ม