กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Tylenol (ตัวยา Paracetamol)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ในกลุ่มยาบรรเทาอาการปวด และยาต้านไข้ มีรูปแบบยาที่หลากหลาย ทั้งแบบยาน้ำ ยาเม็ด ยาหยด และยาฉีด
  • ยาพาราเซตามอลแต่ละรูปแบบมีปริมาณการรับเข้าร่างกายที่ต่างกันไปตามอายุของผู้ป่วย โดยกลไกลการออกฤทธิ์ของยา คือ ลดอาการปวดผ่านการยับยั้งศูนย์รวมความร้อนไฮโปทาลามัส
  • ผู้ป่วยโรคตับ ไต มีภาวะติดแอลกอฮอล์ หญิงมีครรภ์ ขาดสารอาหารเรื้อรัง ขาดเอนไซม์จีซิกพีดี คือ กลุ่มผู้ที่ต้องระมัดระวังในการใช้ยาพาราเซตามอล
  • หากลืมรับประทานยาพาราเซตามอล ให้รับประทานยาในปริมาณปกติทันทีที่นึกได้ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเพื่อชดเชยที่ลืมรับประทานยาไปก่อนหน้านั้น
  • ยาพาราเซตามอลอาจเป็นยาที่ทุกคนรู้จักกันดี แต่หากรับประทานไม่ถูกต้อง ยาก็อาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงได้ ทางที่ดีหากคุณมีอาการปวดเกิดขึ้น ก็ควรไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ เพื่อให้จ่ายยารักษาอย่างเหมาะสม (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

รูปแบบและส่วนประกอบของยา

พาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นยากลุ่ม ยาบรรเทาอาการปวด และยาต้านไข้ (Analgesics and Antipyretics) ซึ่งมีรูปแบบของยาดังต่อไปนี้

  • พาราเซตามอลในรูปยาเม็ด ประกอบด้วยพาราเซตามอล ขนาด 325 มิลลิกรัม และขนาด 500 มิลลิกรัม 
  • พาราเซตามอลในรูปยาน้ำ ประกอบด้วยพาราเซตามอล ความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ในยา 5 มิลลิตร และความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ในยา 5 มิลลิตร
  • พาราเซตามอลในรูปยาหยด ประกอบด้วยพาราเซตามอล ความเข้มข้น 60 มิลลิกรัม ในยา 0.6 มิลลิลิตร 
  • พาราเซตามอลในรูปยาฉีด ประกอบด้วยพาราเซตามอล ความเข้มข้น 300 มิลลิกรัม ในยา 2 มิลลิลิตร

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

A-Mol/A-Mol Pediatric, Cetamol 500, Cetamol Syrup, Children's Tylenol, Cotemp, Denamol, Depyret, Infant's Tylenol, Infulgan, Lotemp Suspension, Panadol, Paracap, Paracap Kids, Paracetamol General Drug House

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ พาราเซตามอล ลดอาการปวดโดยยับยั้งการกระตุ้นการปวด และลดไข้โดยยับยั้งศูนย์ควบคุมการความร้อนที่ไฮโปทาลามัส มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบแบบอ่อน เนื่องจากสามารถยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดินส์ (prostaglandins) ในระบบประสาทส่วนกลางได้บ้าง

ข้อบ่งใช้ยาพาราเซตามอล

1. ยาพาราเซตามอล ชนิดยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ มีข้อบ่งใช้ คือ บรรเทาอาการปวดในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง และลดไข้ โดยมีปริมาณต่อไปนี้

  1. วัยเด็ก ให้ใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  2. วัยผู้ใหญ่น้ำหนักตัว 33-50 กิโลกรัม ให้ใช้ยาขนาด 15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทุก 4 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (หรือประมาณ 3,000 มิลลิกรัม)
  3. วัยใหญ่น้ำหนักตัวมากกว่า 50 กิโลกรัม ให้ใช้ยาขนาด 1,000 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 4,000 มิลลิกรัม

2. ยาพาราเซตามอล ชนิดยาเม็ดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ บรรเทาอาการปวดในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง และลดไข้ 

  1. วัยเด็ก ให้ใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อโดส ทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 2,600 มิลลิกรัมหรือไม่เกิน 5 โดส
  2. วัยผู้ใหญ่ ให้ใช้ยาขนาด 500-1,000 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 4,000 มิลลิกรัม 

ในระหว่างที่รับประทานยาพาราเซตามอล คุณควรงดดื่มสุรา เพราะจะทำให้เป็นพิษต่อตับได้

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ด โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน 

ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไป และไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อควรระวังของการใช้ยา

  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะติดแอลกอฮอล์
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD Deficiency)
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยขาดสารอาหารเรื้อรัง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ และโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

  • เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 
  • ภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลลดต่ำลง (Agranulocytosis) 
  • อาการปวด รู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ฉีดยา 
  • การแพ้ยารุนแรง 
  • เป็นพิษต่อตับ

ข้อมูลการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวเม็ดยาจัดอยู่ในกลุ่ม Category B คือ ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ แต่ยาแบบฉีดจัดอยู่ในกลุ่ม Category C คือ ควรระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาทั่วไป (No Dealing Desks: NDD) 

ข้อมูลการเก็บรักษา

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส เก็บยาให้พ้นจากแสงแดด 

ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ทุกคนมักจะรู้จัก และขึ้นชื่อด้านบรรเทาอาการปวด ทำให้หลายคนมักรับประทานยาตัวนี้ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง และทำให้เกิดผลข้างเคียงอันตรายภายหลังได้ ทางที่ดี ไม่ว่าจะรับประทานยาชนิดใด คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih.gov, Paracetamol. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7003571)
nhs.uk, Paracetamol for adults (https://www.nhs.uk/medicines/paracetamol-for-adults/)
drugs.com, Paracetamol (https://www.drugs.com/paracetamol.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)