กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตรวจสารเสพติดในร่างกายมีวิธีใดบ้าง แม่นยำแค่ไหน ราคาเท่าไร

ถึงไม่ได้เสพสารเสพติด แต่หากรู้ไว้ก็ได้ประโยชน์
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตรวจสารเสพติดในร่างกายมีวิธีใดบ้าง แม่นยำแค่ไหน ราคาเท่าไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • วิธีการตรวจสารเสพติด มี 3 รูปแบบ ได้แก่ การตรวจปัสสาวะ การตรวจสารเสพติดทางเส้นผมหรือเส้นขน และการตรวจด้วยชุดตรวจสารเสพติด
  • การตรวจปัสสาวะ เป็นวิธีพื้นฐานที่ดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรมในระดับสากล เพราะสารเสพติดจะถูกขับออกทางปัสสาวะและจะตกค้างอยู่ในปัสสาวะชั่วขณะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้ ความถี่ ชนิดของสารเสพติด รวมทั้งสภาวะร่างกายของแต่ละคน
  • การตรวจสารเสพติดทางเส้นผมหรือเส้นขน สามารถตรวจย้อนหลังได้นาน แยกประเภทของยาเสพติดที่ใช้ และช่วงเวลาการใช้สารเสพติด โดยสามารถตรวจพบได้ 100%
  • การตรวจด้วยชุดตรวจสารเสพติด สามารถซื้อมาตรวจที่บ้านได้ แต่เป็นเพียงการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น
  • ผู้ที่ต้องการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำทั่วไป ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 250 บาท ขึ้นอยู่กับค่าบริการของแต่ละแห่ง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

สารเสพติดไม่ว่าจะเป็นยาบ้า เฮโรอีน ยาอี ยาไอซ์ นับเป็นสารให้โทษต่อร่างกาย ทั้งยังเป็นสารต้องห้ามทางกฎหมายอีกด้วย วิธีตรวจสารเสพติดในร่างกายตามมาตรฐานสากลมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีการตรวจอย่างไร แม่นยำแค่ไหน เราจะอธิบายให้ทราบกัน

รูปแบบการตรวจสารเสพติด

วิธีการตรวจสารเสพติดมี 3 รูปแบบ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะเป็นวิธีพื้นฐานที่ดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรมในระดับสากล 

สาเหตุที่ใช้วิธีการตรวจปัสสาวะ เนื่องจากเมื่อสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะด้วยการกิน ฉีด สูบ หรือสูดดมควัน สารเสพติดเหล่านั้นจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและอยู่ในเลือดประมาณ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นจะถูกขับออกทางปัสสาวะและจะตกค้างอยู่ในปัสสาวะชั่วขณะหนึ่ง 

ระยะเวลาขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้ ความถี่ ชนิดของสารเสพติด รวมทั้งสภาวะร่างกายของแต่ละคน

  • หากเสพไม่ประจำ สามารถตรวจพบได้หลังการเสพ 1-3 วัน
  • ผู้เสพประจำ จะมีโอกาสตรวจพบได้หลังเสพ 2-6 วัน
  • ผู้เสพเรื้อรังอาจตรวจพบได้หลังจากการเสพถึง 2-3 สัปดาห์

ขั้นตอนการตรวจสารเสพติดทางปัสสาวะ มีดังนี้

1. การตรวจคัดกรองขั้นต้น (Screening  Test) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เป็นการตรวจหาว่า มีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นชนิดใด วิธีการตรวจคัดกรองขั้นต้นมีอยู่ 2 หลักการ คือ

    • หลักการคัลเลอร์เทสต์ (Color test) หรือที่คุ้นเคยกับคำว่า “ฉี่สีม่วง” หรือ “ปัสสาวะสีม่วง” ปัจจุบันไม่นิยมนำมาใช้ตรวจแล้ว
    • หลักการทางอิมมูโนแอสเสย์ (Immunoassay) แบ่งเป็นที่ต้องใช้เครื่องอัตโนมัติในการตรวจและใช้ชุดตรวจสำเร็จรูป (Test kits) ซึ่งจะแสดงผลเป็นบวก (positive) และลบ(Negative)

    2. การตรวจยืนยัน (Confirmation Test) 

    ใช้หลักการทางโครมาโตรกราฟฟี (Chromatography) ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจขั้นสูง สามารถตรวจพบสารเสพติดที่มีปริมาณน้อยได้และสามารถแยกชนิด ระบุประเภทของสารเสพติดได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เป็นมาตรฐานสากล

    นิยมนำมาใช้ตรวจคัดกรองในผู้ต้องสงสัยและตรวจประเมินในผู้ที่ต้องการรับการบำบัดสารเสพติดได้เป็นอย่างดี

    ทั้งนี้ในรายที่ตรวจคัดกรองขั้นต้นแล้วพบว่า ผลเป็นบวก หรือมีข้อสงสัยว่า มีสารเสพติดในร่างกายจะต้องทำการตรวจยืนยันในขั้นต่อไป

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

    2. การตรวจสารเสพติดทางเส้นผม หรือเส้นขน

    เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีความแม่นยำอย่างมากและเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับสากล ข้อดีของการตรวจด้วยเส้นผม หรือเส้นขนคือ สามารถตรวจย้อนหลังได้ยาวนาน แยกประเภทของยาเสพติดที่ใช้ได้ และหาช่วงเวลาการใช้สารเสพติดได้ด้วย

    สาเหตุที่เส้นผม หรือเส้นขนสามารถนำมาตรวจสารเสพติดได้นั้น เป็นเพราะว่าเมื่อสารเสพติดเข้าสู่กระแสเลือด เลือดจะไหลเวียนไปทั่วร่างกายรวมทั้งเส้นผมและเส้นขนด้วย สารเสพติดเหล่านั้นจะเกาะอยู่ตามโคนเส้นผม หรือเส้นขนนั่นเอง 

    โดยความยาวของเส้นผมที่ต่างกันสามารถตรวจสอบประวัติการเสพที่ต่างกันด้วย

    • เส้นผมยาว 1 เซนติเมตร สามารถตรวจสอบการใช้ยาเสพติดย้อนหลังได้ประมาณ 1 เดือน
    • เส้นผมยาว 3 เซนติเมตร สามารถตรวจสอบการใช้ยาเสพติดย้อนหลังได้ประมาณ 3 เดือน

    นอกจากนี้วิธีตรวจสารเสพติดด้วยเส้นผมและเส้นขนยังรวดเร็วมากโดยใช้เวลาเพียง 30 นาทีก็สามารถทราบผลโดยละเอียดได้ทันที 

    ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทดลองและทำวิจัยจากกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนรวมถึงจากกลุ่มพนักงานประมาณ 400 ราย จากโรงงานแห่งหนึ่ง ผลจากการตรวจปัสสาวะพบผู้ที่มีการใช้สารเสพติดเพียง 1 รายเท่านั้น 

    แต่เมื่อตรวจสารเสพติดจากเส้นผมกลับพบว่า มีผู้ใช้สารเสพติดถึง 40 ราย นับได้ว่า การตรวจจากเส้นผมนี้สามารถตรวจพบสารเสพติดได้ 100%

    3. การตรวจด้วยชุดตรวจสารเสพติด

    สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเดินทางไปตรวจสารเสพติดตามโรงพยาบาล หรือคลินิก ปัจจุบันมีชุดตรวจสารเสพติดในร่างกายด้วยตัวเองเช่นกันโดยเป็นการตรวจโดยใช้ปัสสาวะ แต่การตรวจลักษณะนี้เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น

    บางครั้งหากมีปริมาณสารเสพติดน้อยมากก็ไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีนี้ ดังนั้นหากต้องการความแม่นยำก็ควรตรวจที่โรงพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐาน

    อ่านต่อ: ชุดตรวจหาสารเสพติด มีกี่แบบ และต่างกันอย่างไร?

    ตรวจสารเสพติดได้ที่ไหน? ราคาเท่าไร?

    ผู้ที่ต้องการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำทั่วไป ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 250 บาท ขึ้นอยู่กับค่าบริการของแต่ละแห่ง

    การตรวจสารเสพติดไม่เพียงแต่เป็นขั้นตอนการตรวจสอบทางกฎหมายเท่านั้น แต่ยังนับเป็นจุดเริ่มต้นของการบำบัดผู้ติดสารเสพติดให้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดี รวมทั้งสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อีกครั้ง

    เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


    6 แหล่งข้อมูล
    กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
    ตรวจสารเสพติด ในปัสสาวะและเลือด อยู่ในร่างกายกี่วัน?, (https://hdmall.co.th/c/drug-test).
    DuPont RL and Baumgartner WA, Drug testing by urine and hair analysis: complementary features and scientific issues (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7860037), 5 January 1995
    Why Move From Urine Testing To Our Hair Test? (https://www.psychemedics.com/why-hair-over-urinalysis-testing/)

    บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

    ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

    ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
    (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)