ความพิการแขนขา (Limb abnormalities)

ความพิการแขนขา สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือพิการแต่กำเนิด หรือพิการหลังคลอด ยังไม่มีวิธีป้องกันความผิดปกตินี้ แต่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยและสาเหตุบางประการได้
เผยแพร่ครั้งแรก 26 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความพิการแขนขา (Limb abnormalities)

ความพิการแขนขา เป็นปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างกระดูกที่แขนหรือขา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งชิ้นของแขนและขา โดยปกติแล้ว ปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด และในบางครั้ง ทารกก็อาจเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติของแขนหรือขาทั้งสองข้าง  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความพิการแขนขาส่วนมาก มักเกิดจากโรคหรือการบาดเจ็บบางอย่างที่ไปรบกวนการเจริญเติบโตตามปกติของโครงสร้างกระดูกจนทำให้เกิดความผิดปกติดังกล่าวขึ้น

ความพิการแขนขา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ความผิดปกติแต่กำเนิด (Congenital Abnormalities) : เป็นความผิดปกติหรือความพิการที่เกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด อาจเกิดขึ้นที่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งซึ่งอาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ หรืออาจมีแขนหรือขาบางข้างหายไปทั้งหมด เป็นต้น ความพิการแต่กำเนิดเป็นสิ่งที่พบได้ยากมาก มักเกิดจากปัญหาของโครโมโซม หรือเป็นผลมาจากยารักษาโรคบางตัวที่แม่รับประทานขณะตั้งครรภ์ทารก
  2. ความพิการที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Abnormalities) : เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังคลอดแล้ว เช่น เกิดภาวะกระดูกร้าวหรือหักในระหว่างวัยเด็ก ซึ่งอาจทำให้กระดูกส่วนนั้นเติบโตช้ากว่าปกติ จึงนำไปสู่การมีแขนหรือขาที่พัฒนาผิดปกติกว่าอีกข้างหนึ่ง

อาการของความพิการแขนขา

อาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนของความพิการแขนขาตั้งแต่กำเนิด ได้แก่

  • แขนหรือขาพัฒนาไม่สมบูรณ์
  • แขนหรือขามีส่วนที่ขาดหายไป
  • แขนหรือขาสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง
  • แขนหรือขาไม่สมส่วนกับอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย

หากเป็นความพิการที่เกิดขึ้นภายหลัง อาจไม่สามารถสังเกตเห็นอาการภายนอกได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ป่วยส่วนมากมักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ขาข้างหนึ่งเหมือนจะสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง
  • ปวดสะโพก
  • ปวดเข่า
  • ปวดข้อเท้า
  • ปวดหลัง
  • ไหล่ลู่ข้างเดียว เมื่อเทียบกับอีกข้างที่ดูปกติ
  • ท่าทางเดินผิดปกติ เช่น เดินโขยกเขยก เดินหมุนขาเข้าหรือออกมากเกินปกติ หรือเดินบนปลายนิ้วเท้า

สาเหตุของความพิการแขนขา

ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของความพิการแขนขาแต่กำเนิดอย่างแน่ชัด แต่มีบางปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นไปได้ เช่น

  • การสัมผัสกับไวรัส ยา หรือสารเคมีอันตรายก่อนคลอด
  • แม่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์
  • เป็นโรคหรือความพิการอื่นๆ เช่น
    • ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้มอวัยวะภายใน (Omphalocele)
    • ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบไม่มีถุงหุ้ม (Gastroschisis)
    • ความพิการของหัวใจ (Heart Defect)
  • กลุ่มอาการพังผืดในถุงน้ำคร่ำ (Amniotic Band Syndrome) : เป็นโรคแต่กำเนิดชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เนื้อเยื่อของถุงน้ำคร่ำพันรัดแขนหรือขาของทารกก่อนคลอด จนทำให้เกิดความพิการขึ้น

ส่วนความพิการแขนขาที่เกิดขึ้นภายหลัง อาจเกิดขึ้นจากการได้รับบาดเจ็บที่กระดูกในวัยเด็ก และการเกิดโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets)
  • การขาดวิตามินดี (Vitamin D Deficiency)
  • โรคมาร์ฟาน (Marjan Syndrome)
  • กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome)

การวินิจฉัยความพิการแขนขา

กรณีที่ความพิการเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด แพทย์จะวินิจฉัยได้ทันทีด้วยการตรวจร่างกาย แต่ถ้าความพิการแขนขาเกิดขึ้นภายหลัง แพทย์อาจต้องวินิจฉัยด้วยการตรวจหลายอย่าง ได้แก่ การซักประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกาย และการวัดแขนขา นอกจากนี้อาจจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ หรือการถ่ายภาพทางการแพทย์อื่นๆ เพื่อดูโครงสร้างกระดูกเพิ่มเติม

การรักษาความพิการแขนขา

เป้าหมายหลักของการรักษาความพิการแขนขาแต่กำเนิด ได้แก่ กระตุ้นการเจริญเติบโตของแขนขาตามปกติ และการเสริมสร้างรูปลักษณ์ภายนอกของแขนขา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีต่อไปนี้ในการรักษา

  • อวัยวะเทียม หรืออวัยวะเสริม : แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้แขนหรือขาเทียมช่วยทำงานแทนอวัยวะปกติ ในบางกรณีแขนขาของผู้ป่วยยังมีอยู่แต่อ่อนแรง อาจใช้กายอุปกรณ์ (Orthotic Brace) หรือเฝือกช่วยรองรับแขนขาที่ผิดปกติเพื่อให้สามารถทำงานตามปกติ
  • กิจกรรมบำบัดหรือกายภาพบำบัด : เพื่อช่วยออกแรงและเสริมสร้างกำลังแขนขาที่ผิดปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีแขนขาแต่อ่อนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้
  • การผ่าตัด : มักจะนิยมนำมาใช้รักษาความพิการขา โดยแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือ
    • Epiphysiodesis : เป็นกระบวนการที่แพทย์จะต้องวางแผนล่วงหน้าเพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโตตามปกติของขาข้างหนึ่ง เพื่อให้ขาที่สั้นกว่าสามารถเติบโตยาวเท่ากันได้
    • Femoral Shortening : เป็นกระบวนการผ่าตัดตัดส่วนหนึ่งของกระดูกโคนขาหรือกระดูกต้นขาออกไป
  • การยืดแขนขา (Limb lengthening) : แพทย์อาจแนะนำให้ทำการยืดแขนหรือขาผ่านกระบวนการตัดกระดูกและฝังอุปกรณ์ภายนอกเพื่อค่อยๆ ปรับยืดเพิ่มความยาวของอวัยวะช้าๆ ภายในหนึ่งปี กระบวนการนี้อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าการรักษาแบบอื่นๆ

การป้องกันความพิการแขนขา

ยังไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันการเกิดความพิการแขนขาได้ แต่สามารถมุ่งเน้นไปที่การตรวจพบความผิดปกติให้เร็วที่สุดและรีบรักษาทันที

หญิงตั้งครรภ์สามารถลดโอกาสเกิดความผิดพิการแขนขาของลูกได้โดยการรับประทานกรดโฟลิกเสริม ตั้งแต่ช่วงที่วางแผนจะมีบุตรไปจนถึงช่วงตั้งครรภ์ โดยวิตามินเสริมดังกล่าวมีแจกตามโรงพยาบาลทั่วไป และควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงที่มีการตั้งครรภ์

ที่มาของข้อมูล

Tracy Hart, What causes congenital limb abnormalities (https://www.healthline.com/symptom/congenital-limb-abnormalities), November 8, 2016.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Skeletal limb abnormalities. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/003170.htm)
Facts about Upper and Lower Limb Reduction Defects. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/ncbddd/birthdefects/ul-limbreductiondefects.html)
Prenatal diagnosis of limb abnormalities: role of fetal ultrasonography. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3279100/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคเซลิแอค (Celiac disease) อาจก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์
โรคเซลิแอค (Celiac disease) อาจก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะแท้งคุกคามและภาวะซีดอย่างรุนแรงสามารถพบได้บ่อยในผู้หญิงที่เป็นโรคเซลิแอค

อ่านเพิ่ม
สามารถตั้งครรภ์หลังจากการผ่าตัดมดลูกหรือไม่?
สามารถตั้งครรภ์หลังจากการผ่าตัดมดลูกหรือไม่?

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์หลังจากผ่าตัดมดลูกว่าเป็นไปได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม