หูดหงอนไก่ (Genital Warts)

หาคำตอบ หูดที่อวัยวะเพศที่เรียกกันว่า “หูดหงอนไก่” มีลักษณะอย่างไร เกิดจากอะไร สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หูดหงอนไก่ (Genital Warts)

หูดที่อวัยวะเพศ (Genital Warts) คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อโรคสายพันธุ์ Human Papillomavirus (HPV) บางชนิด

HPV เป็นไวรัสที่พบได้ทั่วไป และมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ บางชนิดอาจเป็นสาเหตุของเนื้อร้าย ในขณะที่บางชนิดก็ไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ ในร่างกาย ไวรัส HPV ที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศคือ HPV 6 กับ HPV 11

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของหูดที่อวัยวะเพศ

หูดที่อวัยวะเพศ จะเกิดขึ้นบนผิวส่วนชื้นๆ รอบอวัยวะเพศ รอบทวารหนัก ภายในช่องคลอดและมดลูก มีทั้งแบบขนาดเล็ก เป็นก้อนเดี่ยว หรือเกาะรวมกันกลายเป็นหนึ่งก้อนใหญ่ก็ได้ มักจะมีสีเหมือนผิวหนัง แต่บางครั้งก็อาจพบสีชมพู สีแดง สีน้ำตาล สีเทา และสีขาว

หูดที่อวัยวะเพศมักไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวใด ๆ แต่อาจทำให้มีอาการคัน เลือดออก หรือทำให้รู้สึกเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์เป็นบางครั้ง

สาเหตุของหูดที่อวัยวะเพศ

หูดที่อวัยวะเพศ มักจะเกิดจากเชื้อไวรัส HPV 6 และ HPV 11 หากพบหูดที่อวัยวะเพศของคุณ ไม่ได้หมายความว่าคุณได้รับเชื้อหูดมาจากคู่นอนคนล่าสุด เนื่องจากการจะเกิดหูดขึ้นได้นั้น ร่างกายต้องใช้เวลานานหลายเดือนหรือหลายปีหลังได้รับเชื้อ HPV จึงจะแสดงอาการของหูดขึ้นมา

เชื้อไวรัส HPV สามารถแพร่กระจายได้จากการสัมผัสผิวหนังและชั้นเยื่อเมือกที่ติดเชื้อ เช่น

  • การมีเพศสัมพันธ์แบบปกติ
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • การสัมผัสกันของอวัยวะเพศ
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก

ผู้ที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้ อาจมีโอกาสพบหูดที่อวัยวะเพศมากขึ้นด้วย ได้แก่

  • การสูบบุหรี่ : ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น และยังมีความเกี่ยวข้องกับการกลับมาเป็นหูดซ้ำอีกด้วย
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง : เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV หรือผู้ที่กำลังเข้ารับการบำบัดกดภูมิ จะมีโอกาสติดและเป็นหูดที่อวัยวะเพศมากขึ้น และยังทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากขึ้นอีกด้วย

การวินิจฉัยหูดที่อวัยวะเพศของแพทย์

หูดที่อวัยวะเพศมักวินิจฉัยพบได้จากการตรวจภายใน (Pelvic Exam) ในบางครั้งแพทย์อาจจัดการเจาะตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) ที่หูดและส่งไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการณ์เพื่อยืนยันผล

ระหว่างการรอผลวินิจฉัย ควรพาคู่นอนคนปัจจุบันของคุณไปเข้ารับการตรวจเช่นกัน และควรพาคู่นอนที่ผ่านๆ มาของคุณในช่วง 6 เดือนไปเข้ารับการตรวจด้วย

สามารถทำการรักษาหูดที่อวัยวะเพศได้อย่างไร?

เป้าหมายของการรักษาหูดที่อวัยวะเพศ คือการกำจัดหูดออกและลดอาการต่าง ๆ ลง ประเภทของการรักษาหูดจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

  • ขนาด
  • รูปร่าง
  • ตำแหน่ง
  • ความเชี่ยวชาญของแพทย์

การรักษาหูดที่อวัยวะเพศมีหลายวิธี ได้แก่

  • วิธีบำบัดด้วยความเย็น (Cryotherapy) : แช่แข็งหูดด้วยไนโทรเจนเหลว,
  • การจี้ไฟฟ้า (Electrocautery) : ใช้ความร้อนจากกระแสไฟฟ้าจี้หูด
  • ใช้เลเซอร์กำจัดหูด
  • ผ่าตัดหูด
  • บำบัดด้วยสารเคมี
  • การใช้ยาทาภายนอก : กรณีนี้สามารถกลับไปรักษาด้วยตัวเองที่บ้านได้

บางครั้งอาจพบการกลับมาเป็นหูดที่อวัยวะเพศอีกหลังได้รับการรักษาไปแล้ว กรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปภายในช่วง 3 เดือนแรกหลังการรักษา และการรักษาหูดส่วนมากก็ไม่ใช่การรักษาให้หายขาดจริงๆ เพราะเมื่อคุณมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี การติดเชื้อนี้มักจะหายไปเองในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การป้องกันการเกิดหูดที่อวัยวะเพศ

หูดที่อวัยวะเพศ สามารถป้องกันได้ด้วย 2 วิธีได้แก่

การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ : แต่ถ้าคู่นอนของคุณมีเชื้อหูดอยู่บนบริเวณที่ถุงยางปกคลุมไม่ถึง เช่น บนอัณฑะ หรือฐานองคชาติ เมื่อมีการสัมผัสกันของผิวหนังขึ้นจะทำให้คู่นอนได้รับเชื้อ HPV ไปด้วย แม้ว่าผู้ติดเชื้อจะไม่มีหูดปรากฏอยู่ก็ตาม

การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV : วัคซีนเหล่านี้ไม่อาจรักษาการติดเชื้อ HPV ที่มีอยู่ก่อนแล้วได้ แต่ก็สามารถป้องกันการรับเชื้อ HPV หลังจากนี้ได้ โดยเฉพาะหากคุณมีคู่นอนหลายคน

ที่มาของข้อมูล

Nicole Telfer, Genital warts 101 (https://helloclue.com/articles/sex/genital-warts-101), 4 มกราคม 2019.


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Genital Warts - What You Need to Know. Drugs.com. (https://www.drugs.com/cg/genital-warts.html)
Genital warts. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/genital-warts/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)