ทำไมถึงเกิดอาการ “เพลงติดหู” เพลงมันวนเวียนอยู่ในหัวทั้งวัน

“...แอบมองเธออยู่นะจ๊ะแต่เธอไม่รู้บ้างเลย แอบส่งใจให้นิดนิดแต่ดูเธอช่างเฉยเมย เอาหละเตรียมใจไว้หน่อยมันจะหัวก้อยต้องเสี่ยงกัน...”
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมถึงเกิดอาการ “เพลงติดหู” เพลงมันวนเวียนอยู่ในหัวทั้งวัน

“...แอบมองเธออยู่นะจ๊ะแต่เธอไม่รู้บ้างเลย แอบส่งใจให้นิดนิดแต่ดูเธอช่างเฉยเมย เอาหละเตรียมใจไว้หน่อยมันจะหัวก้อยต้องเสี่ยงกัน...”

ใครเคยฟังเพลงนี้แล้วร้องตามทั้งวันบ้างคะ เพลงคุกกี้เลี่ยงทาย หรือ Fortune Cookie ของศิลปิน BNK48 ที่กำลังฮอตฮิตกันอยู่ในตอนนี้ คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเพลงพวกนี้ถึงได้วนเวียนอยู่ในหัวของเราอยู่ตลอดเวลา บางทีร้องทั้งวัน เอ๊ะหรือว่าเราจะกำลังป่วยอยู่หรือเปล่า ?

ต้องบอกเลยว่าไม่มีใครไม่รู้จักสำหรับเพลงคุกกี้เสี่ยงทาย เด็กก็ร้องได้ ผู้ใหญ่ก็ร้องตาม ฮอตฮิตติดกระแสทั่วเมืองไทย ถึงขั้นที่ว่าแม้ไม่ได้ฟังอยู่ในขณะนั้น แต่เสียงเพลงก็ยังก้องอยู่ในหัวตลอดทั้งวันเลยทีเดียว แต่รู้หรือไม่ ว่าแท้จริงแล้วอาการแบบนี้มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ด้วยล่ะ นั่นก็คืออาการ “Earworm” (เอียเวิร์ม)

Earworm คืออะไร

“Earworm” (เอียเวิร์ม) แปลเป็นไทยว่า “หนอนรูหู” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการมีหนอนจริงๆ ไต่อยู่ในหูแต่อย่างใดนะคะ มันเป็นเพียงการเปรียบเทียบเหมือนกับการที่อะไรบางอย่างอยู่ในหูของเราตลอดเวลานั่นเอง Earworm คืออาการที่เราได้ยินเพลงเดิมๆ ซึ้งไปซ้ำมา วนไป วนมาอยู่ในหู หรือได้ยินเพลงเล่นอยู่ในหัวตลอดเวลาถึงแม้ว่าในตอนนั้นจะไม่ได้ฟังเพลงนั้นอยู่ก็ตาม เพลงที่ก่อให้เกิดอาการ earworm มักจะเป็นเพลงที่กำลังฮิต กำลังได้รับความนิยมในกระแส เพลงเพราะๆ เพลงที่เราเองก็ชื่นชอบ หรือแม้แต่เพลงแปลกๆ อย่าง Pen-Pineapple-Apple-Pen หรือ PPAP ที่โด่งดังเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งมันก็ด้วยหลักการเดียวกันนี่เอง

Earworm ในมุมของวิทยาศาสตร์

Earworm หรือรู้จักในชื่ออื่นๆ ได้แก่ Brain worms, sticky music, cognitive itchและ stuck song syndrome อาการ earworm เกิดจากการทำงานของสมองส่วน Auditory Cortex เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินทั้งหมด มีทฤษฏีและการทดลองที่อธิบายไว้ว่ามันเป็นความพยายามของสมองที่ต้องการเติมเต็มช่องว่างในสมองของคนเรา ยิ่งเราร้องตามมันก็ยิ่งติดนั้นเอง อาการเหล่านี้ไม่ใช่โรคร้ายแต่อย่างใด เคยเป็นกันทุกคนโดยเฉพาะนักดนตรี Earworm ในมุมของการตลาด

อาการ Earworm หรือหนอนรูหู หากมองในแง่ของการตลาดถือว่ามีประโยชน์มากเลยทีเดียว การทำให้เพลงติดหูเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารที่ช่วยสร้างทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้าหรือบริการ เป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างตัวตนทำให้เป็นที่รู้จัก สร้างภาพลักษณ์ในระยะยาวแก่องค์กร เมื่อเกิดการจดจำที่ฝังลึกในความทรงจำของผู้คนแล้ว แน่นอนสิ่งที่ตามมาก็คือโอกาสในการสร้างรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการขายเพลง เล่นคอนเสิร์ต หรือขายสินค้าที่เกี่ยวข้อง เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นจะสนับสนุนสิ่งที่ตัวเองคุ้นเคยเป็นอย่างดี ถือว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้ผลดีทีเดียว

Earworm อันตรายหรือไม่

สำหรับใครที่มีอาการ earworm หรือเพลงติดหูไม่ต้องตกใจว่าเรากำลังมีอาการป่วยหรือผิดปกติหรือไม่ เพราะอาการนี้เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน บางครั้งเกิดจากการชื่นชอบในเพลง หรือเพลงนั้นมีเอกลักษณ์หรือมีบางสิ่งที่น่าดึงดูดใจเท่านั้นเอง เพียงแต่สิ่งที่อาจเกิดขึ้นคือ “การรำคาญตัวเอง” ที่ทำไมร้องเพลงเดิมไม่หยุดเสียที ^^ แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ คุณสามารถกำจัดอาการ earworm ได้ด้วยการ

  • เล่นเกม หรือทำกิจกรรมมีความยากในระดับปานกลาง เช่น แก้ปัญหาคำสลับอักษร เล่น Sudoku เกมที่ต้องใช้สมองหรือมีระดับความยากจะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจในเพลงได้
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง เพราะการขยับกรามจะไปรบกวนทางเดินเส้นประสาทที่เชื่อมต่อมาจากหู ช่วยลดปริมาณความฟุ้งซ่านของอาการนี้ได้
  • ร้องเพลงนั้นให้จบ เพื่อเป็นการการเติมช่องว่าในสมองให้เต็ม โดยการร้องให้จบเพลงซะเลย
  • เบี่ยงเบนความสนใจของคุณโดยกิจกรรมที่ผ่อนคลายอย่างอื่น

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Why you can’t get a song out of your head and what to do about it. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/why-you-cant-get-a-song-out-of-your-head-and-what-to-do-about-it-2017100412490)
Earworms (stuck song syndrome): towards a natural history of intrusive thoughts. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19948084)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)