โรคขาดสารอาหาร คืออะไร มีกี่แบบ รักษาได้อย่างไรบ้าง?

โรคขาดสารเป็นโรคที่ยังพบได้แม้ภาวะเศรษฐกิจและรายได้ประชากรเพิ่มขึ้น โรคนี้มีหลายสาเหตุ การรักษาเฉพาะสำหรับแต่ละสาเหตุจึงแตกต่างกันออกไป
เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคขาดสารอาหาร คืออะไร มีกี่แบบ รักษาได้อย่างไรบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคขาดสารอาหารแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ โรคขาดสารอาหารที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคใดๆ และโรคขาดสารอาหารที่มาจากโรคที่เป็นอยู่เดิม
  • โรคขาดสารอาหารที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคใดๆ เกิดจากอุปทานอาหารไม่เพียงพอ หรือระบบเศรษฐกิจส่งผลให้ประชากรได้รับอาหารน้อยลง ซึ่งในประเทศไทยพบได้น้อยลงค่อนข้างมาก
  • โรคขาดสารอาหารที่มาจากโรคที่เป็นอยู่เดิม อาจเกิดการอักเสบเรื้อรัง เช่น มะเร็ง ติดเชื้อ HIV หรือโรคระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายหลั่งสารอักเสบออกมา ส่งผลให้ความอยากหรือประสิทธิภาพการดูดซึมอาหารลดลง
  • นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากโรคอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการอักเสบด้วย เช่น โรคซึมเศร้าทำให้เบื่ออาหาร เป็นอัมพาตกลืนอาหารไม่ได้
  • ดังนั้นหากน้ำหนักลดลงเกิน 5% ใน 3 เดือน ควรรับการตรวจสุขภาพเพื่อหาสาเหตุ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

โรคขาดสารอาหาร (Malnutrition) เป็นโรคที่ยังพบได้เสมอในเวชปฏิบัติ แม้ว่าภาวะทางเศรษฐกิจและรายได้ของประชากรจะเพิ่มขึ้น แต่ความสมดุลของอาหารและโรคเรื้อรังต่างๆ ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้

ตามแนวทางของยุโรปและอเมริกา ได้ให้คำจำกัดความของ โรคขาดสารอาหาร ว่าคือภาวะที่ไม่สามารถนำอาหารเข้าสู่ร่างกาย หรือไม่สามารถนำอาหารที่เข้าสู่ร่างกายนั้นไปใช้อย่างเหมาะสม จนเกิดความบกพร่องการทำงานของร่างกายและจิตใจ สุดท้ายทำให้ภาวะสุขภาพแย่ลงหรือโรคที่เป็นอยู่นั้นแย่ลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในประเทศไทยก็ใช้คำจำกัดความเช่นนี้ และมีวิธีการประเมินเหมือนนานาประเทศในโลก

สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร

สามารถแบ่งโรคขาดสารอาหารออกเป็นสองสาเหตุใหญ่ๆ ดังนี้

1. โรคขาดสารอาหารที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคใดๆ (Malnutrition without disease)

หมายถึงโรคขาดสารอาหารจากการขาดแคลนอาหาร มีอุปทานอาหารไม่เพียงพอ

ปัจจุบัน โรคขาดสารอาหารจากอุปทานอาหารไม่เพียงพอจะอยู่ในประเทศกลุ่มที่มีรายได้ประชาชาติต่ำมาก เช่น ในประเทศกลุ่มแอฟริกาหรือในเอเชียใต้

สำหรับประเทศไทยนั้น ปัญหาการขาดสารอาหารได้ลดลงมาก สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศที่เพิ่มขึ้นมาตลอดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา

ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่า ในระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 จนถึงปี ค.ศ. 2012 อัตราการเกิดโรคขาดสารอาหารในประเทศไทยลดลงจาก 43.3% เป็น 5.8% เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สำหรับโรคขาดสารอาหารที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคใดๆ จะแบ่งได้ 2 แบบย่อย ดังนี้

  1. Hungry-related ไม่มีอาหารจากเหตุที่เกิดขึ้นเร็ว เช่น ภัยธรรมชาติ
  2. Socioeconomic-related ไม่มีอาหารจากภาวะสังคมแวดล้อม มักเกิดมานานและเรื้อรัง เช่น ความยากจน ในสถานกักกัน ในเรือนจำ

2. โรคขาดสารอาหารอันมีที่มาหรือมีส่วนประกอบจากโรคที่เป็นอยู่เดิม (Disease-related malnutrition: DRM)

ถือว่าเป็นโรคขาดสารอาหารที่พบมาก เพราะไม่ขึ้นกับสถานะทางเศรษฐกิจสังคม หรืออุปทานอาหารแต่อย่างใด กลไกเกิดจากการอักเสบเรื้อรัง และผลโดยตรงจากโรคที่เป็นอยู่เดิม

สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มย่อย คือ โรคขาดสารอาหารแบบมีการอักเสบเรื้อรัง โรคขาดสารอาหารแบบมีการอักเสบหรือการบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคขาดสารอาหารแบบไม่มีการอักเสบ

โรคขาดสารอาหารอันเกิดจากการอักเสบเรื้อรังคืออะไร?

โรคอักเสบเรื้อรังหลายโรค มีการหลั่งสารเคมีที่ทำให้มีการอักเสบอย่างต่อเนื่อง สารเคมีเหล่านี้ไปมีผลกับกระบวนการเผาผลาญอาหารและจัดสรรพลังงานในร่างกาย ผลโดยรวมทำให้เบื่ออาหาร ปริมาณอาหารที่รับประทานลดลง น้ำหนักลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ค่าที่ถือว่ามีนัยสำคัญคือ น้ำหนักลดลง 5% ในระยะเวลา 3 เดือน หรือลดลงแค่ 2% หากเริ่มต้นที่ดัชนีมวลกายไม่เกิน 20

มวลกล้ามเนื้อจะลดลง วัดได้ง่ายๆ จากการวัดเส้นรอบวงแขนท่อนบน หรือหากจะวัดละเอียดต้องใช้การวัดด้วยคลื่นเอกซเรย์ (Dual energy X-ray absorptiometry) หรือใช้กระแสไฟฟ้า (Bio-electrical impedance) เพื่อไปเทียบกับค่ามาตรฐานกลุ่มประชากรเชื้อชาติเดียวกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มวลไขมันจะลดลง วัดง่ายๆ ได้จากค่าความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณด้านหลังท่อนแขนส่วนบน (Triceps skinfold)

การตรวจเลือดต่างๆ ผลมักจะออกมาปกติ เพราะร่างกายมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว และสามารถต้านทานความตึงเครียดในระยะสั้น เช่น การติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บ ได้ดีในระยะเวลาหนึ่ง

โรคที่ทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารจากการอักเสบเรื้อรังได้บ่อย เช่น

  • โรคมะเร็ง
  • โรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ไม่ได้เข้ารับการรักษา
  • โรคปอดอักเสบอุดกั้นเรื้อรัง
  • โรคของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เอสแอลอี ข้ออักเสบรูมาตอยด์

ในอดีต กลุ่มการขาดสารอาหารแบบนี้เรียกว่าว่า Marasmus

โรคขาดสารอาหารจากการบาดเจ็บหรือการอักเสบเฉียบพลันคืออะไร?

โรคที่มีการอักเสบเฉียบพลันรุนแรง เช่น โรคติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด หรือประสบอุบัติเหตุรุนแรง เข้ารับการผ่าตัดใหญ่ ภาวะต่างๆ เหล่านี้ร่างกายจะหลั่งสารที่ใช้เพื่อการอักเสบออกมาปริมาณมหาศาลและรวดเร็ว

ปฏิกิริยาเคมีจำนวนมากและเร็วนี้ส่งผลให้การเผาผลาญพลังงานผิดปกติได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ (นับระยะเวลาเป็นสัปดาห์) โดยเฉพาะการจัดการโปรตีนในร่างกาย

น้ำหนักตัวและดัชนีมวลกายจะยังลดลงไม่มากนัก แต่อาจจะเห็นรูปร่างไม่เปลี่ยนไปมาก เนื่องจากมีอาการบวมร่วมด้วย

จะพบผิวหนังแห้ง แผลหายยาก และการตรวจร่างกายที่ง่ายอันหนึ่งเรียกว่า “Easy hair pluckability” เป็นการดึงเส้นผมจากกลางกระหม่อมออกมาแบบง่ายดาย หลายเส้น และไม่เจ็บ

การตรวจเลือดจะพบความผิดปกติมาก และการขาดสารอาหารแบบนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงหากไม่ได้รับการแก้ไข

ในอดีต กลุ่มการขาดสารอาหารแบบนี้เรียกว่า Kwashiorkor

โรคขาดสารอาหารแบบที่ไม่มีการอักเสบคืออะไร?

โรคขาดสารอาหารในกลุ่มนี้ การขาดสารอาหารเป็นผลโดยตรงจากโรคและการเจ็บป่วย โดยที่ไม่ได้เกิดจากผลของการอักเสบแต่อย่างใด เช่น

  • ขาดสารอาหารจากการกลืนไม่ได้เพราะเป็นอัมพาต
  • ขาดสารอาหารเพราะเบื่ออาหารจากโรคซึมเศร้า
  • ขาดสารอาหารเนื่องจากมีโรคของลำไส้ทำให้การดูดซึมอาหารทำได้น้อยมาก

การดูแลรักษาโรคขาดสารอาหารชนิดนี้จึงต้องดูแลโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติเป็นสำคัญ เพราะการเผาผลาญและการจัดการสารอาหารในร่างกายยังดี เพียงแต่มีเหตุอันมาขัดขวางเท่านั้น

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Douglas C. Heimburger. Malnutrition and Nutritional Assessment in Part 6: Nutrition and Weight Loss in Harrison’s Principle of Internal Medicine 19th edition
ESPEN Guidelines on Definitions and Terminology of Clinical Nutrition. Clinical Nutrition, 2017; 36: 49-64
Thailand-Food and Nutrition Security Profiles -FAO

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ปากนกกระจอก เกิดจากอะไร หายเองได้ไหม?
ปากนกกระจอก เกิดจากอะไร หายเองได้ไหม?

ปากนกกระจอก เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีสรีระหรือพฤติกรรมที่ทำให้เกิดน้ำลายขังมุมปาก มีโรคภายใน ติดเชื้อ ฯลฯ บางสาเหตุหายเองได้ บางสาเหตุต้องรับการรักษาจากแพทย์เท่านั้น

อ่านเพิ่ม