กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

CT Scan (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทำให้เห็นภาพของร่างกายชัดเจนและช่วยแก้ไขปัญหาทางสุขภาพได้มากมาย

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีที สแกน (CT scans) เป็นหัตถการเพื่อการวินิจฉัยโรคชนิดหนึ่ง โดยเป็นการใช้รังสีเอกซ์มาสร้างภาพ 2 มิติเป็นส่วนๆ ของกระดูก เนื้อเยื่อ และเส้นเลือดในร่างกาย ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะนำภาพแต่ละชิ้นมารวมกันเพื่อสร้างภาพ 3 มิติของส่วนต่างๆ ในร่างกาย กล้องที่ใช้ในการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นั้นจะมีการหมุนไปรอบๆ ลำตัว ซึ่งแตกต่างกับการเอกซเรย์ที่ใช้กล้องอยู่กับที่ ทำให้เห็นภาพที่ละเอียดชัดเจนมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประโยชน์ของการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

แพทย์อาจสั่งทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อ...

  • ดูอันตรายที่เกิดขึ้นภายในร่างกายและกระดูกในผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุทางถนนหรืออื่นๆ
  • วินิจฉัยภาวะเกี่ยวกับไขสันหลังและอันตรายที่เกิดขึ้นกับโครงกระดูก
  • ตรวจหาภาวะกระดูกพรุน
  • ตรวจหามะเร็งหลายชนิดและระบุการแพร่กระจายของเนื้องอก
  • ระบุตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ
  • มองหาอันตราย ลิ่มเลือด เลือดออก และภาวะอื่นๆ ภายในศีรษะ
  • สร้างภาพของปอดเพื่อแสดงว่ามีลิ่มเลือดอุดตันในปอด มีน้ำเกิน ปอดบวม หรือเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือไม่
  • ระบุสาเหตุของการเกิดอาการเจ็บหน้าอก ปวดท้อง หายใจลำบาก และอาการอื่นๆ
  • วินิจฉัยโรคทางหลอดเลือดที่อันตรายที่สามารถทำให้เกิดโรคเส้นเลือดสมอง โรคไตพิการ และเสียชีวิต

นอกจากนั้น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยังใช้ช่วยในการตัดชิ้นเนื้อหรือหัตถการทางการแพทย์อื่นๆ และช่วยในการวางแผนการรักษาสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ การทำบายพาสของทางเดินอาหาร และโรคมะเร็งและอื่นๆ

การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นั้นเริ่มต้นจากการที่คุณนอนอยู่บนโต๊ะแคบๆ ที่จะเลื่อนเข้าและออกจากจุดศูนย์กลางของเครื่องเอกซเรย์แหล่งกำเนิดรังสีและจุดรับรังสีนั้นจะอยู่คนละฝั่งของวงแหวนของเครื่องเอกซเรย์ ระหว่างการเอกซเรย์วงแหวนนี้จะทำการหมุนไปรอบตัวคุณ บางครั้งก็เกิดขึ้นระหว่างที่คุณมีการเคลื่อนที่เข้าอุโมงค์แหล่งกำเนิดรังสีจะส่งรังสีเอกซ์ให้ผ่านร่างกายก่อนที่ตัวรับจะรับสัญญาณและส่งให้คอมพิวเตอร์เป็นผู้แปลงให้เป็นภาพ เพื่อให้เห็นเนื้อเยื่ออ่อน แพทย์อาจใช้สารทึบรังสีระหว่างการเอกซเรย์เพื่อช่วยให้เห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ชัดเจนขึ้น โดยอาจใช้กิน ให้ทางเส้นเลือด หรือสวนทางทวารหนักได้

ความเสี่ยงของการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

บางคนมีอาการแพ้ต่อส่วนผสมที่อยู่ในสารทึบรังสี โดยอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีน้ำมูก หรือคันได้ ซึ่งอาจเกิดภาวะแพ้อย่างรุนแรงที่อาจอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้ไตพิการได้ นอกจากนั้น การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยังทำให้ร่างกายสัมผัสกับรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ทั่วไป ตัวอย่างเช่น ในการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอณ์ช่องท้องจะทำให้ร่างกายได้รับรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ปอดธรรมดาถึง 400 เท่า อ้างอิงจาก National Institute of Biomedical Imaging and Bioengineering

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้จากการได้รับรังสีแต่พบได้น้อย ประกอบด้วย

  • เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
  • ผิวหนังแดงและมีการทำลายเนื้อเยื่อ
  • ผมร่วง
  • ต้อกระจก
  • มีความพิการแต่กำเนิดหากใช้ระหว่างตั้งครรภ์

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ทำ CT Scan ช่องท้อง ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
การทำเอกซ์เรย์บ่อยๆมีผลต่อสุขภาพไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากทราบถึงจรรยาบรรณเหตุใดถึงไปใช้บริการแต่กลับถูกเมินเฉยด้วยการสั่งให้รอ ครึ่งวัน แต่แพทย์กับพยาบาลบางรายมัวแต่จิ้มมือถือค่ะ ไม่เก็ท
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ลูกชายเป็นลมพิษจะป้องกันอย่างไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าเราจะตรวจเรื่อง ปวดขาจากเส้นเลือดขอด ให้ละเอียดและวินิจฉัยได้ถูกต้อง ควรตรวจอะไรบ้างคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
กระดูกบริเวณท้ายทอยเหมือนคดงอครับ เวลาจับบริเวณท้ายทอยลงไปนิดนึง หรือเวลาก้ม จะมีกระดูกแทงขึ้นมา เป็นอันตรายมากมั้ยครับหรือมีวิธีรักษายังไงบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ค่าใช้จ่าย ในการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด ราคาประมาณเท่าไหร่ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)