กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เด็กนอนกรน สาเหตุและวิธีการรักษาที่ถูกต้อง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
เด็กนอนกรน สาเหตุและวิธีการรักษาที่ถูกต้อง

ภาวะการนอนกรนในเด็ก ที่ดูว่าน่าจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ แต่ความจริงแล้วเป็นปัญหาที่อันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อยมาก เพราะเด็กที่มีภาวะนอนกรน เสี่งต่อการเป็นเด็กสมาธิสั้น, พฤติกรรมก้าวร้าว, เรียนรู้ช้า และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจุบันภาวะนอนกรนในเด็ก ที่มีอันตรายพบมากขึ้นถึง 10% จากเด็ก 20% และเด็กที่สุขภาพดีมากมีแค่ 2% เท่านั้น ส่วนใหญ่จะพบในเด็กอายุ 2 - 6 ปี เพราะในเด็กวัยนี้จะมีต่อมทอมซิล และต่อมอะดีนอยด์ ที่ทำให้เกิดการอุดกั้น ของระบบทางเดินหายใจ(Obstructive Sleep Apnea Syndrome : OSAS)จนเกิดเสียงกรนที่เป็นภาวะอันตราย ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงทางด้านร่างกาย และพัฒนาการทางด้านสมอง หรือในอีกด้านหนึ่ง เด็กอาจมีปัญหาของโรคภูมิแพ้ ทำให้ต้องหายใจผ่านทางปาก จึงทำให้เกิดเสียงกรนเล็ก ๆ ซึ่งถ้าเป็นแค่ด้านนี้ เด็กก็จะมีอาการดีขึ้นเองเมื่อตื่นขึ้น ก็จะไม่ส่งผลอันตรายมาก เท่ากับเด็กที่มีปัญหาของต่อมทอมซิลอุดกั้น

ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกอย่างชัดเจน

เมื่อเด็กนอนกรน ก็จะยิ่งทำเด็กหลับไม่สนิท ซึ่งก็จะเป็นการรบกวนการนอน ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ การนอนไม่มีประสิทธิภาพ และอาจทำให้เด็กหยุดหายใจ ซึ่งเมื่อหยุดหายใจ ออกซิเจนในเลือดก็จะลดลง ทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดมากขึ้น เพื่อไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย และถ้าปล่อยให้เด็กมีภาวะแบบนี้นาน ๆ เข้า เด็กก็จะมีอาการหัวใจโต และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ เด็กจะปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน จนอาจฉี่รดที่นอน หรือนอนพลิกไปพลิกมาหลับไม่สบาย และด้วยการที่ต้องอ้าปาก เพื่อรับอากาศทางปาก จึงทำให้มีความผิดปกติ ของเพดานปากที่จะโก่งสูง จึงทำให้เด็กจะมีลักษณะฟันเหยินจนผิดรูป และกระทบต่อการพัฒนาการเรียนรู้ ที่อาจเรียนรู้ช้ากว่าคนอื่นอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษานอนกรน วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 14,549 บาท ลดสูงสุด 30,551 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฮอร์โมนเจริญเติบโตช้า เพราะฮอร์โมนชนิดนี้ จะหลั่งมาตอนที่เด็กหลับสนิท แต่เมื่อเด็กมีอาการนอนกรนจึงหลับไม่สนิท ทำให้ฮอร์โมนไม่สามารถหลั่งออกมาได้เต็มที่ ร่างกายของเด็กจึงโตที่ไม่เต็มที่ไปด้วย โดยเฉพาะความสูง และอาจทำให้มีปัญหาการหลับในห้องเรียน เพราะนอนหลับไม่สนิทในเวลากลางคืน ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด, ฉุนเฉียวง่าย และก้าวร้าวในที่สุด  จนอาจถึงขั้นเป็นโรคสมาธิสั้น, ซุกซน และไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดได้นาน

มีอาการอักเสบ ของต่อมทอมซิลอยู่บ่อย ๆ หรือเมื่อเวลามีไข้ ไม่สบาย ก็มักจะมีอาการเจ็บคอร่วมด้วยอยู่บ่อยครั้ง มีอาการไอเยอะมากกว่าปกติ และยังทำให้การรับประทานอาหารของเด็กไม่สะดวก ทำให้การรับรู้รส และกลิ่นลดลง ความอยากอาหารก็จะลดลงไปด้วย นอกจากนี้ยังทำให้หูชั้นกลางอาจติดเชื้อได้ และมีอาการอักเสบของโพรงไซนัสเพิ่มขึ้น เพราะเยื่อบุโพรงจมูกขาดความชุ่มชื้น ความสามารถในการกรองโรคก็ลดลง จนทำให้เกิดการติดเชื้อง่ายขึ้นกว่าเดิม ในเด็กบางรายอาจมีปัญหา เรื่องเสียงพูดไม่ชัดร่วมด้วย เพราะเสียงที่ต้องออกจากจมูก หรือเสียงนาสิกโดยเฉพาะเสียง ม, น, ง ที่ต้องมีลมออกจากทางจมูก แต่เด็กมีอาการอุดตันในส่วนนี้ จึงจะออกเสียงได้ไม่ชัดเจน

TS5]WOnder^GRAND^tOwn # 9 1 1 รักคือ ความเข้าใจ ความใส่ใจ และความ ...

สาเหตุที่พบบ่อย

 

การสั่นสะเทือนของโครงสร้าง ระบบทางเดินหายใจ คือลิ้นไก่ และเพดานอ่อนที่ทำให้เกิดเสียงกรน อาการแน่นจมูกเรื้อรัง หรือเป็นโรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เด็กที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน จนทำให้ไขมันรอบคอ กดทับทางเดินหายใจ และในเด็กที่มีความผิดปกติ ของโครงกระดูกหน้าโดยกำเนิด เช่น เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง นอกจากนี้ก็ยังอาจเกิดจากพันธุกรรม ที่พ่อหรือแม่ของเด็ก มีอาการนอนกรนมาอยู่แล้วด้วยเช่นกัน

วิธีการสังเกตความผิดปกติ

  1. ฟังเสียงกรนของลูก เมื่อลูกหลับแล้วว่ามีเสียงกรนแบบขาด ๆ หาย ๆ หรือมีการหยุดหายใจไปชั่วขณะหรือเปล่า
  2. มีอาการสะดุ้งตื่นหลังเสียงกรน หรือเสียงกรนดังเฮื้อก เหมือนคนขาดอากาศหายใจ สังเกตว่ารอบริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำหรือไม่
  3. ตอนช่วงกลางวัน เด็กมีอาการง่วงนอนเหมือนนอนไม่พอ หงุดหงิดง่าย ซนมาก ปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ๆ และพฤติกรรมเปลี่ยนไปโดยรวดเร็ว
  4. เหงื่อออกง่าย และหายใจเหนื่อยหอบตอนหลับ หน้าอกบุ๋ม คอบุ๋ม และท้องโป่ง

แนวทางในการดูแลเบื้องต้น

  1. ปรับการนอน โดยให้เด็กเข้านอน และตื่นนอนเป็นเวลาสม่ำเสมอ ในรายที่มีโรคอ้วนร่วมด้วย ก็ให้ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายเป็นประจำ
  2. เด็กมีอาการน้ำมูกไหล ซึ่งน้ำมูกจะยิ่งเข้าไปอุดตัน ทำให้เด็กหายใจทางจมูกลำบาก ให้จัดการโดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือและหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้น้ำมูกเพิ่มขึ้น
  3. ทำความสะอาดสถานที่, ห้องนอน, ผ้าปูที่นอน และผ้าห่ม ของใช้ในบ้านทุกชนิด ที่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองกับจมูกอยู่บ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเพิ่มของเชื้อที่มากับฝุ่น
  4. ถ้าเด็กมีอาการกรนมากขึ้น ให้จับเด็กนอนในท่าตะแคง เพื่อลดอการกรนลง
  5. ในบางรายอาจต้องมีการให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกหรือ ยารักษาอาการอักเสบของจมูก จากภูมิแพ้และต่อมทอมซิล ซึ่งต้องมีคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
  6. ในรายที่มีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย แนะนำให้พบแพทย์ทันที เพราะอาจจะต้องใส่เครื่องครอบ เพื่อช่วยหายใจตอนนอน เพราะเครื่องนี้จะเข้าไปช่วยเปิดทางเดินหายใจ ที่แคบให้กว้างขึ้น เพื่อป้องกันการหยุดหายใจขณะหลับ
  7. การรักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดต่อมทอมซิล และต่อมอะดีนอยด์ ถือว่าปลอดภัยที่สุด ภาวะในการแทรกซ้อนต่ำ และมีภาวะการติดเชื้อหลังผ่าตัดน้อยมาก ไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อภูมิคุ้มกัน แพทย์ส่วนใหญ่จึงมักแนะนำวิธีการรักษานี้ แก่เด็กที่มีอาการกรนหนัก ๆ
  8. การรักษาในแบบอื่น ๆ เช่น การจัดฟัน หรือการการใช้เครื่อง CPAP เพื่อรักษาโรค และอาการแทรกซ้อนชนิดอื่น ๆ
  9. ดูแลสุขภาพทั่ว ๆ ไป งดดื่มน้ำเย็นและของเย็น อย่าให้ลมโดนหน้าอกมากจนเกินไป ถ้าโดนฝนหรือจำเป็นต้องไปว่ายน้ำ ควรรีบเช็ดตัวให้แห้ง, ใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่น และก่อนนอนควรอาบน้ำอุ่นเพื่อทำให้จมูก และระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้น
  10. อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ควรให้เด็กดื่มน้ำเยอะ ๆ ระหว่างวัน เพื่อให้ร่างกายได้ดูดซับน้ำไว้ใช้ในตอนนอน เพราะตอนนอนจมูก และเพดานจะแห้งลง จนทำให้เกิดเสียงกรนได้ง่ายขึ้น

การวินิจฉัยของแพทย์

  1. ตรวจหาตำแหน่งการอุดกั้น ของระบบทางเดินหายใจ ที่ทำให้เกิดการนอนกรน โดยศัลยแพทย์ หู คอ จมูก จะทำการซักประวัติการนอนกรน และอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น โรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา น้ำหนัก และส่วนสูง เพื่อนำมาคำนวนมวลของร่างกาย ตรวจวัดความดันโลหิต และตรวจลักษณะโครงสร้างใบหน้า และกราม รวมทั้งการใช้กล้องส่องขนาดเล็ก ตรวจดูทางเดินหายใจช่วงบน ตั้งแต่จมูกไปถึงหลอดลมใหญ่
  2. เอ็กซเรย์ศีรษะด้านข้าง เพื่อตรวจดูความกว้าง ของระบบทางเดินหายใจ และตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด ระบบหายใจ และคุณภาพในการนอนของเด็ก ขณะที่เด็กกำลังหลับอยู่
  3. แพทย์จะใช้เครื่องมือขนาดเล็ก ติดตัวเด็กไว้ขณะหลับ โดยไม่ไปรบกวนการนอนของเด็ก  ทำให้สภาพแวดล้อมรอบข้าง เหมือนปกติที่สุด หลังจากนั้นแพทย์ก็จะเก็บข้อมูล การนอน การหายใจ ตลอดจนการทำงานของสมอง หัวใจ และระดับออกซิเจนในเลือด บันทึกไว้ แล้วนำข้อมูลไปวิเคราะห์ ดูว่าเด็กมีปัญหาการกรนมากน้อยแค่ไหน 
  4. รักษาจากสาเหตุของการกรน เช่น รักษาจมูกอักเสบ จากอาการภูมิแพ้, รักษาต่อมทอมซิล และต่อมอะดีนอยด์ให้เป็นปกติหรืออาจผ่าตัดทิ้งไปเลยก็ได้ การผ่าตัดนี้เรียกว่า Adenotonsillectomy

การนอนกรน ไม่ได้เกิดแค่กับผู้ใหญ่เท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็ก และเป็นอันตรายได้ไม่แพ้กับผู้ใหญ่เลย และในบางรายการผ่าตัด ก็ไม่สามารถช่วยให้การหายใจดีขึ้นได้  ถึงการกรนจะดีขึ้นจนอาจหายดี แต่สภาวะการหยุดหายใจ ในช่วงหลับอาจไม่หายไปด้วย เพราะฉะนั้น หลังการพาตัดควรที่จะพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อรับการทดสอบอีกครั้ง นอกจากนี้ก็ควรดูแล และรักษาสุขภาพโดยส่วนตัวเด็กให้แข็งแรง ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะทำให้อาการต่าง ๆ ของโรคดีขึ้นได้ 

 


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Snoring (for Kids). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/kids/snoring.html)
Snoring: Causes, remedies, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/303834)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป