กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคหินปูนในหูชั้นใน (BPPV) สาเหตุของอาการบ้านหมุน

อาการบ้านหมุน เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในหูอย่างโรคหินปูนในหูชั้นในหลุด (BPPV)
เผยแพร่ครั้งแรก 25 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคหินปูนในหูชั้นใน (BPPV) สาเหตุของอาการบ้านหมุน

คุณเคยมีอาการวิงเวียนศีรษะ โคลงเคลง รู้สึกเหมือนสิ่งแวดล้อมรอบตัวเคลื่อนไหว หรือที่คนส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า “อาการบ้านหมุน” หรือเปล่า นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในหูอย่างโรคหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign Paroxysmal Positional Vertigo: BPPV) ก็ได้

โรค BPPV คืออะไร

โรค BPPV หรือที่เรียกกันว่า โรคหินปูนในหูหลุด คือโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของตะกอนหินปูนในหูชั้นใน ซึ่งเป็นหนึ่งในอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยปกติแล้วภายในหูชั้นในจะมีอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัว ได้แก่ ยูตริเคิล (Utricle) และแซกคูล (Saccule) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับก้นหอย

ในส่วนยูตริเคิลจะมีตะกอนหินปูน (Otoconia) ที่เกาะอยู่กับเส้นประสาท ทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวของศีรษะ เช่น เมื่อเราเอียงศีรษะไปทางด้านขวา หินปูนก็จะเอียงไปยังด้านขวาเพื่อส่งสัญญาณไปยังสมองทำให้ทรงตัวได้อย่างมั่นคง

แต่หากหินปูนบริเวณยูตริเคิลหลุดออกจากเส้นประสาทไปยังห่วงด้านหลังของของหูชั้นใน หรือที่เรียกว่า เซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล (Semicircular canal) และเคลื่อนที่ไปมาอยู่ในนั้น ก็จะทำให้เกิดการส่งสัญญาณผิดเพี้ยนไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุนขึ้นนั่นเอง

โรค BPPV นั้นมักพบในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนในวัยหนุ่มสาวอาจพบได้บ้างแต่ก็ไม่มากนัก

อาการของโรค BPPV

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะรู้สึกวิงเวียน โคลงเคลง สูญเสียการทรงตัว และรู้สึกเหมือนสิ่งแวดล้อมภายนอกเคลื่อนไหว โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะอย่างรวดเร็ว เช่น ก้มตัวลง เงยหน้า หรือเอียงคอ เรียกอาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ว่า “อาการบ้านหมุน”

บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยมักจะเกิดขึ้นไม่นาน ระยะเวลาประมาณ 1 นาที หลังจากนั้นจะค่อยๆ ทุเลาลง แต่จะเป็นๆ หายๆ เมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะก็จะเกิดอาการขึ้นอีก บางทีอาจเกิดขึ้นซ้ำๆ นานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนเลยก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการของโรค BPPV

ปัจจัยบางอย่างก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้นได้ เช่น

  • การทำงาน หรือกิจกรรมที่ต้องก้มเงยศีรษะบ่อยๆ
  • การโดยสารยานพาหนะ หรือมีอาการเมารถ เมาเรือ
  • มีการเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศ
  • ความเครียด
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค BPPV

  • เกิดอุบัติเหตุ มีการกระแทกบริเวณศีรษะ
  • เป็นความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น
  • มีโรคหรือความผิดปกติที่หูชั้นใน เช่น หูชั้นในอักเสบ
  • มีการติดเชื้อที่หูชั้นใน
  • มีการผ่าตัดหูชั้นกลาง หรือหูชั้นใน
  • มีการเคลื่อนไหวศีรษะอย่างรวดเร็วซ้ำๆ

การรักษาโรค BPPV

ปกติแล้งโรค BPPV สามารถหายเองได้ โดยผู้ป่วยจะต้องนอนนิ่งๆ บนเตียงเป็นระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้หินปูนตกตะกอน และกลับไปเกาะติดเส้นประสาทตามเดิม แต่หากผู้ป่วยจำเป็นต้องทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว หรือมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

การรักษาเบื้องต้น แพทย์จะให้ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ตามปกติ ก่อนจะทำการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดในขั้นตอนต่อไป หรือเรียกว่า การพลิกหินปูน โดยแพทย์เฉพาะทางด้านคอ หู จมูก จะให้ผู้ป่วยนอนราบ และเอียงศีรษะไปตามทิศทางที่กำหนด อาจเริ่มจากเอียงไปทางด้านซ้าย ขวา และปิดท้ายด้วยการนอนคว่ำ เพื่อให้หินปูนกลับมาอยู่ที่เดิมได้เร็วขึ้นนั่นเอง

หากอาการไม่ดีขึ้น ก็จำเป็นต้องทำซ้ำๆ ต่อไป ซึ่งควรทำโดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง และการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดต่อไป โดยส่วนมากจะเป็นการผ่าตัดนำชิ้นส่วนกระดูกไปอุดในเซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล เพื่อลดการตอบสนองต่อการเคลื่อนที่ของตะกอนหินปูน

นอกเหนือจากการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้แล้ว ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้อาการรุนแรงขึ้นด้วย เช่น การก้มๆ เงยๆ การเอียงและแหงนคอ การลุกอย่างรวดเร็ว การออกกำลังกายที่ต้องเคลื่อนไหวมากๆ เวลานอนควรหนุนหมอนสูง และหลีกเลี่ยงการนอนแหงนคอ รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

วิธีทำกายภาพบำบัดที่บ้าน

  • นั่งห้อยเท้าลงมาจากเตียงหรือโซฟา
  • ล้มตัวลงนอนตะแคงไปยังข้างที่มีอาการผิดปกติ (โดยที่เท้ายังห้อยอยู่) จนอาการเวียนศีรษะหายไป ระยะเวลาประมาณ 30 วินาที
  • หลังจากนั้นให้เปลี่ยนไปอีกฝั่งอย่างรวดเร็ว หันหน้า 45 องศา (หน้าจะก้มลงไปยังโซฟา) จนอาการเวียนศีรษะหายไป ระยะเวลาประมาณ 45 วินาที
  • ค่อยๆ ลุกขึ้นมานั่งในท่าปกติ

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการบ้านหมุน

  • เมื่อเริ่มเวียนศีรษะ ให้นั่งลง หรือนอนบนพื้นราบโดยที่ยกหัวขึ้นสูงเล็กน้อย จนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • หากเกิดอาการขณะทำงาน หรือขับรถ ให้หยุดพักอยู่กับที่จนกว่าอาการจะหาย
  • หากตื่นนอนกลางดึก ไม่ควรเดินในที่มืดๆ ให้เปิดไฟให้สว่างเสียก่อน เพราะอาจหกล้มได้
  • เมื่อมีอาการโคลงเคลงจะทำให้มีอัตราเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้มสูง ควรใช้ไม้เท้าช่วยเดิน
  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ ดำน้ำ ปีนป่ายที่สูง เดินบนสะพานไม้แผ่นเดียว ขับรถ ทำงานในที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลขณะมีอาการ
  • ควรพบแพทย์ก่อนนัดหมาย เมื่อมีอาการต่างๆ อย่างรุนแรง เช่น บ้านหมุนทุกท่าทางการเคลื่อนไหว หรือตลอดเวลา อาเจียนอย่างรุนแรงจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้ โคลงเคลง หรือมีปัญหาการได้ยินร่วมด้วย

การป้องกันโรค BPPV

การป้องกันโรค BPPV ไม่ให้เกิดขึ้นนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่สามารถทำได้คือ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือการเคลื่อนไหวศีรษะอย่างรวดเร็วเกินไป รวมถึงป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อโรคในหู ก็จะทำให้ช่วยชะลอการเกิดโรค BPPV ได้

แต่หากเกิดโรค BPPV แล้วก็ไม่ต้องกังวล เพราะโรคดังกล่าวสามารถหายได้ด้วยตนเอง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bree Normandin and Marijane Leonard, Benign Positional Vertigo (BPV) (https://www.healthline.com/health/benign-positional-vertigo), May 8, 2018
my.clevelandclinic.org, Benign Paroxysmal Positional Vertigo (BPPV) (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/11858-benign-paroxysmal-positional-vertigo-bppv)
webmd,.com, What is Benign Paroxysmal Positional Vertigo? (https://www.webmd.com/brain/benign-paroxysmal-positional-vertigo#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำความเข้าใจกับน้ำตาลและการเติมน้ำตาล
ทำความเข้าใจกับน้ำตาลและการเติมน้ำตาล

ข้อมูลพื้นฐานสำหรับโภชนาการของเด็ก

อ่านเพิ่ม
การรักษาภาวะหินปูนในหูชั้นในเคลื่อนด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด
การรักษาภาวะหินปูนในหูชั้นในเคลื่อนด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด

ทำความเข้าใจวิธีการทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ที่มีหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน ข้อห้าม ข้อควรระวัง และตัวอย่างการรักษา

อ่านเพิ่ม