คุณกำลังดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอยู่หรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 12 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
คุณกำลังดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอยู่หรือไม่?

การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมนั้นมีอยู่หลายวิธี เช่น ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการทำงานประจำวันเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า, การให้ผู้ป่วยทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ, การติดรูปภาพของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในบ้าน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยรู้ว่าสิ่งของเหล่านั้นอยู่ตรงไหน หรือแม้กระทั่งติดรูปห้องน้ำไว้ที่ประตูห้องน้ำเพื่อให้ผู้ป่วยรู้ว่านี่คือห้องน้ำ เป็นต้น นอกจากการดูแลผู้ป่วยแล้ว สุขภาพของผู้ดูแลก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ดังนั้นคุณซึ่งเป็นผู้ดูแลควรหาเวลาพักบ้างระหว่างการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

ถ้าคุณป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม หรือกำลังดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอยู่ คุณอาจเผชิญกับปัญหาในทางปฏิบัติหลายอย่างในชีวิตประจำวันของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะรู้สึกอ่อนแอเมื่อโรคมีอาการแย่ลงและพวกเขาจะต้องการพึ่งพาคนอื่นมากขึ้นเพื่อทำสิ่งต่างๆ ให้กับเขา มันเป็นสิ่งสำคัญที่คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะต้องรู้สึกอุ่นใจและรู้สึกได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่นในขณะที่กำลังรักษาระดับการใช้ชีวิตอย่างอิสระที่ยังคงเหลืออยู่

แม้ว่าอาการบางอาการจะเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม แต่ประสบการณ์ของแต่ละคนในแต่ละโรคและวิธีที่พวกเขาจะรับมือกับอาการเหล่านี้จะแตกต่างกัน

การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมด้วยภาระงานประจำวัน

เมื่อคนที่มีภาวะสมองเสื่อมพบว่าความสามารถทางสมองของพวกเราลดลง พวกเขาอาจรู้สึกวิตกกังวล เครียด และกลัว พวกเขาอาจตระหนักถึงความซุ่มซ่ามที่เพิ่มขึ้นและการไม่สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้ และนี่อาจะทำให้พวกเขารู้สึกท้อแท้และรู้สึกแย่กับเรื่องดังกล่าว

หากคุณกำลังดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม คุณสามารถช่วยให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยมากขึ้นโดยทำให้กิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย ซึ่งผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนที่ดีและไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ผู้ป่วย

การมีส่วนร่วมของคนที่คุณดูแลในกิจกรรม/ภาระงานประจำวัน อาจช่วยให้พวกเขารู้สึกมีประโยชน์และเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง พวกเขาสามารถเป็นผู้ช่วยในการช็อปปิ้ง การปูผ้าปูโต๊ะ หรือการกวาดใบไม้ในสวน เป็นต้น

เมื่ออาการความเจ็บป่วยแย่ลง งานต่างๆ เหล่านี้อาจกลายเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะจัดการได้อย่างอิสระ และคุณอาจจำเป็นต้องให้การสนับสนุนเพิ่มเติมมากกว่าเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านั้นได้อย่างไร

วิธีหลักๆ ที่คุณสามารถช่วยเหลือผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมก็คือการให้การสนับสนุนผู้ป่วยเหล่านั้น และพยายามไม่วิจารณ์สิ่งที่ผู้ป่วยทำ เพราะการรู้สึกว่าตนเองยังเป็นคนที่มีประโยชน์อยู่ ถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆ สำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

ในช่วงเริ่มต้นของการเป็นโรค ยังสามารถใช้ตัวช่วยเรื่องความจำวางไว้ที่บริเวณต่างๆ ของบ้าน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยจำได้ว่าสิ่งของต่างๆ นั้นถูกวางอยู่ตรงไหนของบ้าน

ตัวอย่างเช่น คุณสามารถวางรูปภาพของสิ่งของที่อยู่ภายในตู้ไว้ที่ประตูตู้เก็บของนั้น เช่น ภาพถ้วย และจานรองถ้วย การทำเช่นนี้อาจช่วยกระตุ้นความจำของผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยยังสามารถใช้ชีวิตอย่างอิสระต่อไปได้อีกเล็กน้อย

ให้ผู้ป่วยทำงานอดิเรกและความสนใจส่วนตัวแม้ว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจำนวนมากจะยังรู้สึกสนุกกับงานอดิเรกหรือความสนใจส่วนตัวต่อไป ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ป่วยชอบทำอาหาร พวกเขาอาจสามารถช่วยคุณทำอาหารได้ การให้ผู้ป่วยเดินหรือทำสวนคือวิธีง่ายๆ ในการออกกำลังกายและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงความสำเร็จ หรือผู้ป่วยบางรายอาจชอบฟังเพลงหรือเล่นเกมกระดาน (board game) ผู้ป่วยบางรายจะมีความสุขอย่างมากเมื่อได้เลี้ยงสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขหรือแมว

ถ้าคนที่คุณห่วงใยเป็นคนที่ง่ายๆ สบายๆ ชอบเข้าสังคม หรือมีครอบครัวขนาดใหญ่ พวกเขาอาจมีความสุขกับการพบปะกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนฝูง 1-2 คน อย่างไรก็ตามพวกเขาอาจรู้สึกเป็นเรื่องยากหากต้องสนทนาในการพบปะผู้คนจำนวนมากพร้อมๆ กัน

การรักษาสุขภาพและการมีโภชนาการที่ดีในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คนที่คุณดูแลจะต้องมีสุขภาพที่ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างเหมาะสม และออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากพวกเขามีสุขภาพที่แข็งแรงนั่นหมายถึงจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถ้าคนที่คุณห่วงใยรับประทานอาหารไม่เพียงพอ หรือรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ จะทำให้พวกเขามีโอกาสเป็นโรคอื่นๆ ง่ายขึ้น ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีอาการสับสนได้ง่ายหากมีอาการป่วย

ปัญหาที่มีความสัมพันธ์กับอาหารที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ได้แก่:

  • ไม่รู้จักอาหาร
  • ลืมอาหารที่เคยชอบ
  • ไม่ยอมรับประทานอาหารหรือคายอาหารออกจากปาก
  • ต่อต้านการให้รับประทานอาหาร
  • ขอรับประทานอาหารแปลกๆ

พฤติกรรมดังกล่าวนี้มักเกิดขึ้นจากอาการสับสนหรือมีการระคายเคืองในปากที่มาจากปัญหาทางทันตกรรม มากกว่าเกิดจากความต้องการของผู้ป่วยเอง ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

คุณสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างไร

แนะนำให้คุณมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น หากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง คุณสามารถนำส้อมจิ้มที่อาหารและช่วยแนะนำการนำเข้าสู่ปากของผู้ป่วยได้ คุณยังสามารถมีส่วนร่วมในการเตรียมอาหารของผู้ป่วยได้ หากผู้ป่วยยังสามารถเตรียมอาหารเองได้

พยายามผ่อนคลาย ไม่เครียดเกินไป ถ้าคุณรู้สึกเครียดระหว่างช่วงเวลารับประทานอาหาร จะส่งผลให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่คุณห่วงใยมีอาการเครียดตามไปด้วย โปรดแน่ใจว่าคุณมีเวลามากพอสำหรับมื้ออาหารนั้น เพื่อให้คุณสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้

พยายามปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เปลี่ยนไป มีความเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีการเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบการรับประทานอาหารเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นคุณควรตระหนักถึงเรื่องนี้และพยายามที่จะยืดหยุ่น เพื่อที่ทำให้มื้ออาหารนั้นไม่เครียดจนเกินไป ทั้งกับคุณและคนที่คุณดูแล

ถ้าคุณคิดว่าคนที่คุณห่วงใยอาจมีปัญหาสุขภาพหรือปัญหาทางทันตกรรม คุณควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์เพื่อรับการรักษา

ถ้าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีการสูบบุหรี่ แนะนำให้เปลี่ยนจากการใช้ไม้ขีดไฟมาเป็นไฟแช็กแทน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากไฟไหม้

ถ้าผู้ป่วยที่คุณดูแลดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แนะนำให้ตรวจสอบก่อนว่าสามารถดื่มพร้อมกับยาที่ใช้อยู่ได้หรือไม่ หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามจากแพทย์

การรับมือกับอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นเรื่องยากที่จะรับมือและอาจทำให้ผู้ป่วยที่คุณดูแลรู้สึกลำบากมาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะพบว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infections), อาการท้องผูกซึ่งทำให้เกิดความดันขึ้นกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจเกิดจากยาที่ใช้อยู่

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจลืมที่จะไปเข้าห้องน้ำ หรือลืมว่าห้องน้ำอยู่ที่ไหน และอาจสูญเสียความสามารถที่จะบอกคนอื่นได้ทันว่าจะต้องเข้าห้องน้ำตอนไหน

คุณสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้อย่างไร

สิ่งสำคัญคือคุณต้องทำความเข้าใจ อย่าแสดงออกว่ามันเป็นเรื่องตลก และจำไว้ว่านี่ไม่ใช่ความผิดของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม คุณอาจต้องลองทำสิ่งต่อไปนี้:

  • ติดเครื่องหมายสัญลักษณ์บนประตูห้องน้ำ เช่น ติดรูปภาพห้องน้ำไว้ที่ประตูห้องน้ำ
  • เปิดประตูห้องน้ำไว้เพื่อให้แน่ใจว่าคนที่คุณห่วงใยสามารถเข้าห้องน้ำได้โดยง่าย
  • คุณต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะสามารถถอดเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้ บางคนที่มีภาวะสมองเสื่อมจะมีปัญหากับกระดุมและซิป
  • มองหาสัญญาณของการอยากเข้าห้องน้ำของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม เช่น ลุกขึ้นยืนและนั่งลงบ่อยๆ
  • ทำการดัดแปลงห้องน้ำหากจำเป็น

หากคุณยังประสบปัญหาในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แนะนำให้ขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปัสสาวะ ซึ่งแพทย์สามารถแนะนำให้คุณใช้ที่นอนกันน้ำหรือแผ่นรองรับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วย

การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจรู้สึกกังวลเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคลและอาจต้องการความช่วยเหลือในการทำความสะอาด ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอาจกลัวที่จะล้มเมื่อออกจากห้องน้ำ หรือผู้ป่วยอาจมีอาการสับสนมึนงงขณะอาบน้ำ

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่คุณกำลังดูแลอาจไม่ต้องการถูกทิ้งไว้ตามลำพังหรืออาจทนต่อความสกปรกที่เกิดขึ้นได้ เพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ดังนั้นคุณควรทำในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา

ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมนอนหลับสนิท พักผ่อนเต็มที่

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักจะนอนไม่หลับ พวกเขาอาจตื่นขึ้นมากลางดึก หรือมีอาการกระสับกระส่าย อาการเหล่านี้จะแย่ลงเมื่อโรคมีการดำเนินไป ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจเป็นโรคที่มีอาการปวด เช่น ปวดข้อ ซึ่งอาจนำมาสู่ปัญหาการนอนไม่หลับได้

ยาบางชนิดอาจทำให้มีอาการง่วงนอนระหว่างวัน และรบกวนการนอนหลับในตอนกลางคืน การใช้ยานอนหลับสามารถใช้ได้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

อย่างไรก็ตาม “การวัดคุณภาพการนอน” เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ตัวอย่างเช่น ไม่พบการงีบหลับตอนกลางวัน เข้านอนเวลาเดิมสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนเข้านอน

การดูแลสุขภาพตัวเอง

หากคุณหรือสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม คุณอาจเกิดความรู้สึกไม่สบายใจเกิดขึ้น โปรดจำไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว และมีความช่วยเหลือและการสนับสนุนมากมายที่คุณสามารถขอรับความช่วยเหลือได้ แนะนำให้พูดกับใครซักคนเกี่ยวกับความกังวลใจของคุณ ซึ่งอาจเป็นสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อน หรือสมาชิกของกลุ่มสนับสนุนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม หรือแม้แต่แพทย์ที่ดูแลคุณ

สิ่งสำคัญสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมก็คือ สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของผู้ดูแล ซึ่งผู้ดูแลควรจะต้องมีช่วงเวลาที่หยุดพักจากการดูแลบ้าง ผู้ดูแลก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดีหากต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเช่นกัน

การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจทำให้รู้สึกสิ้นหวังและรู้สึกเครียดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมว่ามีองค์กรมากมายที่สามารถให้การช่วยเหลือกรณีดังกล่าวได้

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/dementia/dementia-symptoms-and-diagnosis/dementia-symptoms-and-diagnosis#are-you-looking-after-someone-with-dementia


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Looking after someone with dementia. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/dementia/carers/)
Alzheimer's and dementia care: Tips for daily tasks. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/caregivers/in-depth/alzheimers-caregiver/art-20047577)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป