สภาพแวดล้อมภายในบ้านผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สภาพแวดล้อมภายในบ้านผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

หนึ่งในวิธีการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมคือการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และทำกิจวัตรประจำวัน ได้ง่ายและคล่องตัวแม้ความสามารถทางประสาทสัมผัสและความจำจะค่อย ๆ ด้อยลงก็ตาม

การออกแบบและจัดวางภายในบ้านของคุณอาจมีผลกระทบอย่างมากต่อผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการต่าง ๆ ทั้งการสูญเสียความจำ ความสับสน และความยากลำบากในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำให้คนที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นลืมว่า ตนเองอยู่ที่ไหน สิ่งต่าง ๆ อยู่ที่ไหน และสิ่งรอบตัวนั้นทำงานอย่างไร

ถ้าพวกเขาสามารถอยู่ในบ้านของตัวเองได้ สิ่งของที่คุ้นเคยหลายอย่างจะช่วยสร้างความมั่นใจ และไม่แนะนำอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงสถานที่ของสิ่งสำคัญต่าง ๆ หรือทำการดัดแปลงบ้านของพวกเขาในชั่วข้ามคืน

อย่างไรก็ตาม มีวิธีที่ง่ายและราคาไม่แพงที่คุณสามารถทำได ซึ่งอาจช่วยให้พวกเขาดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นอิสระและปลอดภัยได้

แสงสว่างที่เพียงพอ

ภาวะสมองเสื่อมมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุซึ่งมักมีสายตาที่แย่ลงอยู่แล้ว ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเองยังมีอาการสับสนในความมืด ดังนั้น การเปิดไฟทิ้งไว้ข้ามคืนไว้จะช่วยสิ่งเหล่านี้ได้

คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะสมองเสื่อมได้ประโยชน์จากแสงที่เพียงพอในบ้านของพวกเขา เช่น สามารถลดความสับสนและลดความเสี่ยงของการหกล้มภายในบ้าน การใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์สูงจะช่วยเพิ่มแสงสว่างในบ้านของคุณ แต่อย่าลืมตรวจสอบระดับสูงสุดที่เหมาะสมเท่าที่ขั้วจะรับไหว

เพิ่มแสงธรรมชาติในห้องให้มากขึ้นโดยการเปิดผ้าม่าน และตาข่ายหรือผ้ารองม่านที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ ถูกกำจัดออกไป ตัดต้นไม้หรือพุ่มไม้ลงบ้างหากมันบังหน้าต่างและปิดกั้นแสงแดด แสงสว่างมีความสำคัญเป็นพิเศษในบริเวณบันไดและในห้องน้ำ สวิทช์ไฟควรจะเข้าถึงได้ง่าย และใกล้กับบริเวณใช้งาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลดเสียงดังรบกวน

ทำการลดเสียงรบกวนรอบข้างด้วยการปิดทีวีหรือวิทยุหากไม่มีใครดูหรือฟังแล้ว

พรม หมอนอิงและผ้าม่านช่วยปรับปรุงการเสียงรอบข้างของห้องโดยการดูดซับเสียงรบกวนรอบข้างได้ดี แต่หากห้องคุณปูด้วยพื้นลามิเนตหรือไวนิล เพียงแค่เดินผ่านก็อาจทำให้เกิดเสียงดังรบกวนมาก และถ้าคนที่คุณดูแลอยู่นั้นใช้เครื่องช่วยฟัง เครื่องก็จะทำการขยายเสียงเหล่านี้และทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายหูได้มากขึ้นไปอีก

หากการได้ยินของพวกเขาเสื่อมถอยไปตามอายุ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับการตรวจการได้ยินปกติ และทำการติดตั้งเครื่องช่วยฟังถ้าจำเป็น

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจมีอาการแย่ลงมากหากมีปัญหาทั้งการมองเห็นและการได้ยินร่วมกัน (เรียกว่าอาการหูหนวก หรือการสูญเสียประสาทสัมผัสแบบคู่)

ปูพื้นให้ปลอดภัย

หากคุณต้องการปูพรมในบ้าน ให้เลือกสีพรมที่มีสีเดียวกันตลอดทั้งบ้าน เพราะช่วยลดความสับสนสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้

หลีกเลี่ยงพื้นผิวเป็นประกายหรือสะท้อนแสง เพราะอาจจะมองเหมือนกับว่าพื้นเปียก และผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมอาจพยายามเดินเลี่ยงบริเวณนั้นไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

พยายามหลีกเลี่ยงการวางพรมเช็ดเท้า หรือวางเสื่อบนพื้น เนื่องจากผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบางคนอาจรู้สึกสับสน และคิดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ต้องเดินเหยียบอยู่เสมอซึ่งอาจนำไปสู่การลื่นหรือล้มได้

ใช้สีที่ตัดกันช่วยนำทาง

สีที่ตัดกันคมชัดของผนังและพื้นสามารถทำให้ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมรู้สึกถึงความลึกและมองระยะในห้องได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีสีตัดกันชัดเจนก็สามารถทำให้พวกเขาสามารถมองหาและใช้สิ่งเหล่านั้นได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

ประตูและราวจับที่ทาสีด้วยสีที่แตกต่างกับผนังจะทำให้พวกเขาโดดเด่นขึ้นมาและสังเกตง่าย ฝานั่งชักโครกที่มีสีแตกต่างตัดกับส่วนที่เหลือในห้องน้ำจะช่วยให้คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมเห็นได้ชัดขึ้น ในทำนองเดียวกัน ผ้าปูโต๊ะที่มีสีแตกต่างตัดกับจานจะช่วยให้พวกเขาเห็นอาหารของพวกเขาได้ดีขึ้น

ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู เฟอร์นิเจอร์นุ่ม และวอลล์เปเปอร์ควรเป็นสีทึบมากกว่าสีอ่อนหรือพาสเทลซึ่งสามารถกลืนเข้าหากันได้อย่างง่ายดาย ควรหลีกเลี่ยงเฟอร์นิเจอร์ที่มีลายเนื่องจากอาจรบกวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม พวกเขาอาจมองเผิน ๆ เห็นเป็นใบหน้าคนหรือรูปร่างต่าง ๆ ในลายเหล่านั้นซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนสำหรับพวกเขา

แสงสะท้อนสร้างความลำบาก

หากผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาการรุนแรงขึ้นจนไม่สามารถเข้าใจถึงภาพสะท้อนของตัวเอง พวกเขาอาจคิดว่าใบหน้าที่เห็นในกระจกหรือคนที่สะท้อนอยู่ในหน้าต่างนั้นเป็นคนแปลกหน้า สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลสำหรับพวกเขา

อาจเป็นเรื่องที่ดีกว่าหากบังกระจกด้วยม่านบังแสง หรือผ้าม่านโปร่งในช่วงเวลาเย็น ๆ เพื่อให้พวกเขาไม่สามารถเห็นภาพสะท้อนของตนเองจากกระจกได้โดยง่าย

การติดป้ายสามารถช่วยให้กิจวัตรประจำวันคล่องขึ้น

เป็นความคิดที่ดีในการจัดทำป้ายตามลิ้นชัก ตู้ และประตูเพื่อแสดงถึงสิ่งที่อยู่ข้างใน ตัวอย่างเช่น คุณสามารถนำภาพห้องน้ำติดไว้ที่หน้าประตูห้องน้ำเลย หรือติดรูปภาพของถ้วยบนตู้ที่มีถ้วยและเครื่องครัวอื่น ๆ อยู่ภายใน

อีกทางเลือกหนึ่งคือการใช้ประตูตู้ที่โปร่งใส ซึ่งสามารถช่วยคนที่มีภาวะสมองเสื่อมได้ดีเนื่องจากสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ภายในได้ง่ายกว่า

สินค้าที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยสมองเสื่อม

หากเป็นไปได้ ควรใช้ของใช้ในครัวเรือนที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ตัวอย่างเช่น ถ้วยที่มีด้ามจับสองด้าน นาฬิกาที่มีจอแอลซีดีขนาดใหญ่ โทรศัพท์ที่มีปุ่มขนาดใหญ่ขึ้น อุปกรณ์เพื่อเปิดฝากระปุก และอื่น ๆ

คุณอาจพบว่าคนที่คุณกำลังดูแลอยู่นั้นต้องการติดตั้งและใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ แบบดั้งเดิม เช่น ก๊อกน้ำ ชักโครก หรือฝักบัวง่าย ๆ การออกแบบที่ทันสมัยมากเกินไปอาจทำให้เกิดความสับสนในการใช้งานได้

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโต๊ะทุกตัวตั้งอยู่อย่างมั่นคงและมีขอบกลมมน โต๊ะควรจะอยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถมองเห็นอาหารและเครื่องดื่มได้ชัด และสามารถเข็นรถเข็นคนพิการไว้ด้านใต้ได้เมื่อจำเป็น

สวนและพื้นที่รอบบ้าน

เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมักได้ประโยชน์จากการออกไปข้างนอกเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์และออกกำลังกาย

ตรวจสอบให้แน่ใจว่า พื้นผิวของทางเดินนั้นเรียบเพื่อป้องกันการลื่นหรือล้ม พื้นที่กลางแจ้งควรมีรั้วรอบขอบชิดเพื่อป้องกันไม่ให้คนที่คุณดูแลหลงทางออกไปที่อื่น

กระถางต้นไม้ที่ยกระดับสูงขึ้นมาหน่อยสามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวได้ระยะจำกัด สามารถดูแลสวนหลังบ้านของตนเองได้โดยการรดน้ำ ปลูกพืชหรือกำจัดวัชพืชในกระถางเหล่านั้น

จัดหาบริเวณพื้นที่นั่งที่แข็งแรงและมีที่กำบังแดดจะช่วยให้ผู้ป่วยอยู่นอกบ้านได้นานขึ้น

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/dementia/living-with-dementia/living-well-with-dementia#dementia-and-the-home-environment


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dementia - home care. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/007428.htm)
Caregivers Creating a Safe Home for those with Dementia. AARP® Official Site. (https://www.aarp.org/caregiving/home-care/info-2017/dementia-home-safety.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป