9 วิธีที่จะช่วยแก้อาการสะอึก

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
9 วิธีที่จะช่วยแก้อาการสะอึก

กลืนของหวานๆ

การกินน้ำตาล 1 ช้อนนั้นถือเป็นวิธีใช้แก้อาการสะอึกที่ใช้บ่อยที่สุด โดยเชื่อว่าน้ำตาลเม็ดๆ เหล่านี้จะไปทำให้หลอดอาหารเกิดการระคายเคืองทำให้เส้นประสาทเกิดการเริ่มต้นทำงานใหม่ 

หรือของเปรี้ยวๆ

การกลืนน้ำส้มสายชู 1 ช้อนชานั้นอาจจะช่วยแก้อาการสะอึกได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กินเนยถั่ว

การรับประทานเนยถั่ว 1 ช้อนนั้นเป็นวิธีพื้นฐานที่ใช้ในการแก้อาการสะอึก โดยเชื่อว่าการเคี้ยวเนยถั่วและกลืนนั้นจะทำให้กระบวนการกลืนและการหายใจนั้นถูกหยุดทำให้หยุดอาการสะอึกไปด้วยในเวลาเดียวกัน

กินของร้อนๆ

เชื่อว่าของร้อนๆ เหล่านี้จะไปทำให้ร่างกายหันมาสนใจที่ของร้อนแทนการสะอึก

หรือน้ำผึ้งปริมาณเล็กน้อย

ใช้น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา เคี้ยวในน้ำร้อนก่อนจะนำไปวางไว้ที่โคนลิ้นและกลืนลงไป เชื่อว่าน้ำผึ้งนั้นจะไปกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณนั้นทำให้อาการสะอึกหยุดลง นอกจากนั้นน้ำผึ้งยังมีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อและบรรเทาอาการไออีกด้วย

กินชอกโกแลต

วิธีนี้เป็นวิธีที่ซับซ้อนกว่าวิธีอื่นเล็กน้อย โดยให้กลืนผงเครื่องดื่มชอกโกแลต 1 ช้อน การกลืนผงชอกโกแลตทั้งช้อนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและเชื่อว่ามันจะช่วยแก้อาการสะอึกได้

ใช้ถุงกระดาษ

หายใจเข้าออกอย่างช้าๆ ในถุงกระดาษจนกว่าอาการสะอึกของคุณจะหายไป (ให้หยุดทันทีหากคุณรู้สึกมึนหัว) วิธีนี้จะเพิ่มระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดและทำให้กระบังลมต้องหดตัวมากกว่าปกติเพื่อเพิ่มก๊าซออกซิเจน ทำให้หยุดอาการสะอึกลงได้

เคี้ยวถั่ว

เชื่อว่าการเคี้ยวถั่วประมาณ 1 ช้อนชาอย่างช้าๆ นั้นจะช่วยแก้อาการสะอึกได้ จากการที่การกลืนถั่วเหล่านี้จะไปกระตุ้นเส้นประสาทและทำให้หยุดการสะอึก

ใช้กระดาษเช็ดมือ

วางกระดาษเช็ดมือลงเหนือแก้วน้ำและให้ดื่มน้ำผ่านกระดาษดังกล่าว กระบังลมของคุณจะต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการดูดน้ำซึ่งจะไปช่วยหยุดอาการสะอึกได้


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hiccups. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/hiccups/)
Hiccups: How to get rid of hiccups. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/9896)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป