10 เคล็ดลับดูแลสุขภาพเด็กเล็ก ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายลูกรัก

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
10 เคล็ดลับดูแลสุขภาพเด็กเล็ก ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายลูกรัก

ผู้ปกครองมักมีความกังวลมากเป็นพิเศษ เกี่ยวกับเชื้อโรคชนิดต่างๆที่มากับลม และกำลังเข้าสู้ร่างกายของลูกน้อย หลายท่านพยายามหาวิธีป้องกันสารพัดรูปแบบ เริ่มตั้งแต่หน้ากากป้องกันไปจนถึงการรับวัคซีน ซึ่งความจริงแล้ว การดูแลเอาใจใส่กับพฤติกรรมทั่วไปและการรักษาความสะอาดในชีวิตประจำวันก็มีส่วนช่วยดูแลสุขภาพลูกน้อยได้อย่างเพียงพอ

เราจึงนำ 10 เคล็ดลับการดูแลเด็กเล็ก (โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 7 ปี) 

1. ล้างมืออย่างถูกต้อง

การล้างมือที่ถูกต้องควรใช้สบู่ถูให้ทั่วบริเวณมือ นิ้วมือ และเล็บมือ และควรถูอย่างน้อยเป็นเวลา 20 วินาที หรือเทียบเท่ากับการร้องเพลงช้าง 1 รอบ จากนั้นให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดและเช็ดหรือเป่ามือให้แห้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ไอและจามใส่กระดาษทิชชู่

การไอหรือจามโดยไม่ปิดปากนั้นเป็นการกระจายเชื้อโรคใส่ผู้อื่น แต่การปิดปากโดยใช้มือหรือผ้าเช็ดหน้าก็จะทำให้มีโอกาสรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้หากไม่ล้างมือทันที ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดก็คือการสอนให้เด็กไอหรือจามใส่กระดาษทิชชู่ แล้วทิ้งแผ่นที่ใช้แล้วทันที

3. ทำความสะอาดสิ่งของภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งของบางอย่างภายในบ้านนั้นเป็นพาหะนำโรคที่น่ากลัว โดยเฉพาะของเล่นของเด็ก ราวบันได ที่จับประตู ตะกร้าเสื้อผ้า เครื่องนอน และของใช้ในบริเวณห้องรับแขก ซึ่งผู้ปกครองควรใส่ใจในเรื่องความสะอาดของสิ่งของเหล่านี้

4. ไม่ใช้ขวดนมและแก้วน้ำซ้ำ 

ผู้ปกครองควรหมั่นทำความาะอาดขวดนมและแก้วน้ำของเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพราะความชื้นภายในภาชนะเหล่านีทำให้เชื้อโรคและแบคทีเรียเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ในกรณีที่อยู่นอกบ้านควรสำรองขวดนมและแก้วน้ำไว้ในภาชนะที่แห้งและสะอาดด้วย และควรเปลี่ยนทันทีเมื่อทำตกลงพื้น

5. เลี่ยงการแตะต้องสิ่งของในที่สาธารณะ

สถานที่สาธารณะมักเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคเพราะขาดการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในร้านอาหารและห้างสรรพสินค้า ผู้ปกครองควรทำความสะอาดเก้าอี้และรถเข็นสำหรับเด็กด้วยกระดาษทิชชู่แบบเปียก หรือแม้แต่สิ่งของในโรงพยาบาลก็มักมีเชื้อโรคแฝงอยู่ เช่น ของเล่น หรือสมุดการ์ตูน

6. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับเด็ก

สิ่งของเครื่องใช้บางชิ้นอาจมีเชื้อโรคที่ไม่แข็งแรงมากถึงขั้นเป็นอันตรายต่อผู้ใหญ่แต่ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กได้ เพราะภูมิคุ้มกันในเด็กที่อายุน้อยกว่า 7 ปีนั้นยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ ผู้ปกครองจึงควรแยกของใช้ของตนออกจากของใช้ของเด็ก

7. ใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น

ในช่วงฤดูหนาว แม้เราจะไม่รู้สึกเย็นแต่ร่างกายของเด็กอาจต้องการความอบอุ่นเพิ่มขึ้น ผู้ปกครองควรใส่ใจในเรื่องเครื่องแต่งกายของเด็ก เช่น ให้เด็กสวมเสื้อผ้าที่หนาขึ้นและปกปิดมิดชิด ในบางบริเวณที่อากาศหนาวมาก ผ้าพันคอและหมวกไหมพรหมช่วยเพิ่มความอบอุ่นได้ในขณะที่อยู่นอกบ้าน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

8. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

วิตามินซีนั้นเป็นสารอาหารที่จำเป็นมากเพราะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบภูมิคุ้มกันของเด็กได้ การรับประทานผลไม้หรือน้ำผลไม้เป็นประจำจะทำให้เด็กไม่เจ็บป่วยง่าย

9. ชำระร่างกายด้วยอุณหภูมิน้ำที่เหมาะสม

ผิวหนังของเด็กนั้นมีความอ่อนบางมาก หากใช้น้ำเย็นชำระร่างกายโดยเฉพาะในฤดูหนาว เด็กอาจมีอาการหนาวสั่นและเป็นหวัดได้ แต่หากน้ำที่ใช้อาบนั้นร้อนเกินไป (แม้ผู้ใหญ่จะรู้สึกว่าไม่ร้อนเกินไปก็ตาม) ผิวหนังของเด็กอาจพุพองได้ การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นในการปรับอุณหภูมิของน้ำจึงเป็นสิ่งที่แนะนำ นอกจากนี้ควรเช็ดร่างกายและผมของเด็กให้แห้งทันที

10. เลี่ยงการสัมผัสร่างกายเด็กมากเกินไป

ผู้ปกครองควรชำระล้างร่างกายทุกครั้งหลังจากกลับเข้ามาในบ้านและก่อนที่จะสัมผัสเด็กเล็ก รวมไปถึงการเลี่ยงไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสเด็กเมื่ออยู่นอกบ้าน เพราะในแต่ละวันเราสัมผัสเชื้อโรคมากมายที่อาจไม่ทำให้เราระคายเคืองร่างกายแม้แต่น้อย แต่เชื้อโรคเหล่านี้สามารถทำให้เด็กเล็กไม่สบายได้


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Are Germs? (for Kids). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/kids/germs.html)
Cronobacter Infection and Infants. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/features/cronobacter/index.html)
Are We Too Clean? Letting Kids Get Dirty and Germy. WebMD. (https://www.webmd.com/parenting/features/kids-and-dirt-germs)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป